<< Go Back

            1.  เพื่อให้นักเรียนสามารถบอกได้ว่าพลาสติกไม่ละลายในตัวทำละลายทั่ว ๆ ไป    สลายไม่หมดเมื่อเผาไหม้จึงยากแก่การกำจัด
            2.  อธิบายผลกระทบที่เกิดจากการใช้ถุงพลาสติกและโฟมจำนวนมาก  ซึ่งไม่สามารถกำจัดได้เมื่อปะปนในสิ่งแวดล้อม 

1. ขวดพร้อมฝาปิดขนาด 100 cm3 3 อัน
2. กระบอกตวงขนาด 100 cm3 3 อัน/ห้อง
3. ไม้ขีดไฟและเทียนไข 1 ชุด
4. สารละลายกรดไฮโดรคลอริก 2 mol/ dm3 10 cm3
5. สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ 2 mol/dm3 10 cm3
6. เฮกเซน 10 cm3
7. ถุงพลาสติกชนิด PE 1 ถุง

            1. ตัดถุงพลาสติกเป็นชิ้นเล็ก ๆ (ประมาณ 4 cm2) จำนวน 3 ชิ้น และ ขนาดใหญ่ 1 ชิ้น
            2. ใส่พลาสติกที่ตัดไว้ลงในขวดรูปชมพู่หรือขวดแก้วขวดละหนึ่งชิ้น แล้วใส่สารละลายกรดไฮโดรคลอริก สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ และเฮกเซน ลงในแต่ละขวดตามลำดับ ปิดฝาให้แน่นแล้วแช่ทิ้งไว้ประมาณ 10 นาที สังเกตและบันทึกผล ถ้ายังไม่มีการเปลี่ยนแปลง ตั้งทิ้งไว้ 1 คืน แล้วสังเกตและบันทึกผล
            3. นำพลาสติกชิ้นใหญ่ที่เหลือเผาในที่โล่งแจ้งหรือในตู้ควัน สังเกตและบันทึกผล
            4. สรุปและนำเสนอผลการทดลอง

           จากผลการทดลองสรุปผลของการทดลองได้ดังนี้

เมื่อแช่ในสารละลาย

ผลการเปลี่ยนแปลงของพลาสติก

กรดไฮโดรคลอริก  2 mol/ dm3 
โซเดียมไฮดรอกไซด์  2  mol/ dm3
เฮกเซน

ไม่มีการเปลี่ยนแปลง
ไม่มีการเปลี่ยนแปลง
ไม่มีการเปลี่ยนแปลง

           พลาสติกเผาไฟจะลุกไหม้ติดไฟเกิดเขม่าควัน และส่วนหนึ่งจะหลอมเหลวหยดลงบนพื้น
            จากผลการทดลองดังกล่าวจึงสรุปได้ว่าโดยทั่วไปถุงพลาสติกชนิดเทอร์มอพลาสติก ไม่ละลายในน้ำ ในสารละลายกรด ในสารละลายเบส และในตัวทำละลายอินทรีย์ บางชนิด เมื่อเผาจะลุกติดไฟ ให้เขม่าควัน และพลาสติกบางชนิดจะมีแก๊สพิษเกิดขึ้นด้วย


 

 

<< Go Back