1. เพื่อให้นักเรียนสามารถทำการทดลองเพื่อตรวจสอบกระบวนการเกิดปฏิกิริยาเคมี พร้อมทั้งอธิบายและเขียนสมการเคมีของปฏิกิริยานั้น ๆ ได้
2. บอกเกณฑ์ทั่วๆ ไปที่ใช้ในการตัดสินว่ามีปฏิกิริยาเคมีเกิดขึ้นหรือไม่
1. หลอดทดลอง ขนาดกลาง 14 หลอด
2. กระบอกตวง 10 cm3 หรือหลอดฉีดยา 1 อัน
สารเคมี
รายการ |
ปริมาณต่อกลุ่ม |
1. แผ่นแมกนีเซียม ขนาด 0.3*0.2 cm2
2. แผ่นสังกะสี ขนาด 0.3 * 0.2 cm2
3. สารละลายเลด (II) ไนเตรต 0.1 mol/ /dm3
4. สารละลายโพแทสเซียมไอโอไดด์ 0.1 mol/ /dm3
5. กรดซิตริก
6. สารละลายโซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต 2.0 mol/ /dm3
7. สารละลายไฮโดรคลอริก 2.0 mol/ /dm3
8. สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ 2.0 mol/ /dm3
9. สารละลายกรดไฮโดรคลอริก 3.0 mol/ /dm3
10. สารละลายด่างทับทิมเจือจาง |
1 แผ่น
1 แผ่น
5 cm3
5 cm3
1 g
5 cm3
15 cm3
5 cm3
5 cm3
5 cm3 |
1. เติมสารละลายเลด (II) ไนเตรต ความเข้มข้น 3.0 mol/dm3 จำนวน 5 cm3 ลงในหลอดทดลองขนาดกลางที่บรรจุสารละลายโพแทสเซียมไอโอไดด์ ความเข้มข้น 3.0 mol/dm3 จำนวน 5 dm3 อยู่แล้ว
2. ใส่เกล็ดของกรดซิตริกจำนวน 1 g ลงในหลอดทดลองขนาดกลางที่บรรจุสารละลายโซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต ความเข้มข้น 2.0 mol/ dm3 จำนวน 5 cm3 แล้วใช้มือจับหลอดทดลองตรงบริเวณที่มีสารละลาย
3. ใส่สารละลายกรดไฮโดรคลอริกเจือจาง ลงในหลอดทดลองขนาดกลาง 2 หลอด หลอดละ 5 cm3 หย่อนแผ่นแมกนีเซียมและสังกะสีขนาดประมาณ 0.3*2.0 cm2 ลงในหลอดทดลองหลอดละแผ่น
4. เติมสารละลายกรดไฮโดรคลอริก ความเข้มข้น 2.0 mol/ dm3 จำนวน 5 cm3 ลงในหลอดทดลองขนาดกลางที่บรรจุสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ ความเข้มข้น 2.0 mol/ dm3 จำนวน 5 cm3 เขย่าแล้วใช้มือจับหลอดทดลองตรงบริเวณที่มีสารละลาย
5. เติมกรดไฮโดรคลอริก ความเข้มข้น 3.0 mol/dm3 จำนวน 5 cm3 ลงในหลอดทดลองขนาดกลางที่บรรจุสารละลายด่างทับทิมเจือจาง (2-3 เกล็ดในน้ำกลั่น 200 cm2) จำนวน 5 cm3
6. นำเสนอและสรุปผลการทดลองของแต่ละปฏิกิริยา
จากผลการทดลองสามารถสรุปผลของการเกิดปฏิกิริยาเคมีได้ดังนี้
ปฏิกิริยา |
การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น |
1. สารละลายเลด (II) ไนเตรต+สารละลายโพแทสเซียมไอโอไดด์
2. กรดซิตริก+สารละลายโซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต
3. แมกนีเซียม+สารละลายกรดไฮโดรคลอริกสังกะสี + สารละลายกรดไฮโดรคลอริก
4. สารละลายกรดไฮโดรคลอริก + สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์
5. สารละลายกรดไฮโครคลอริก+ด่างทับทิม |
- เกิดตะกอนสีเหลืองเข้ม
- เกิดฟองแก๊สและอุณหภูมิของปฏิกิริยาลดลง
- เกิดฟองแก๊สมากและเร็ว
- เกิดฟองแก๊สน้อยและช้า
- สารละลายใสไม่มีสี (เหมือนเดิม) และ
อุณหภูมิ เพิ่มขึ้นเล็กน้อย
- สีของด่างทับทิมจางลงหรือหายไป |
|