<< Go Back

            เพื่อให้นักเรียนสามารถทดสอบและอธิบายสมบัติการละลายและการเกิดปฏิกิริยาของสารประกอบแทรนซิชันบางชนิด

                      1. หลอดทดลองขนาดใหญ่ จำนวน 1 หลอด
                      2. เครื่องชั่ง จำนวน 1 อัน
                      3. กระบอกตวง 10 cm3 จำนวน 1 ใบ

               สารเคมี

                      1. จุนสี CuSO4.5H2O จำนวน 1 g
                      2. สารละลายกรดไฮโดรคลอริก 6 mol/dm3 จำนวน 3 cm3
                      3. สารละลายแอมโมเนียเข้มข้น 6 mol/dm3 จำนวน 3 cm3

            1. ละลายจุนสี (CuSO4.5H2O) 0.5 g ในกรดไฮโดรคลอริกเข้มข้น 6 mol/dm3 จำนวน 3 cm3 ในหลอดทดลองขนาดใหญ่ สังเกตและบันทึกผล
            2. เติมสารละลายแอมโมเนียเข้มข้น 6 mol/dm3 จำนวน 3 cm3 เขย่าให้เข้ากันสังเกตและบันทึกผล
            3. เติมสารละลายแอมโมเนียต่อไปอีก 3 cm3 เขย่า สังเกตและบันทึกผล
            4. เติมสารละลายแอมโมเนียต่อไปอีกจนตะกอนละลายหมด สังเกตและบันทึกผล
            5. สรุปผลการทดลอง

          จากผลการทดลองสรุปได้ว่า ธาตุแทรนซิชันชนิดหนึ่งสามารถเกิดสารประกอบเชิงซ้อนได้หลายชนิด และสารประกอบเชิงซ้อนแต่ละชนิดมักมีสีที่แตกต่างกันซึ่งเป็นสมบัติพิเศษของสารประกอบแทรนซิชัน ในขณะที่สารประกอบของโลหะหมู่ 1A และ 2A ส่วนมากไม่มีสี
          สารประกอบเชิงซ้อนของธาตุแทรนซิชันอื่น ๆ เช่น โครเมียม (Cr) และ โคบอลต์ (Co) มีสีสดใสแตกต่างกันดังตัวอย่างต่อไปนี้

                    [Cr(H2O)6]Cl3                   สีม่วง 
                    [Cr(H2O)5Cl]Cl2. H2O       เขียวอมน้ำเงิน 
                    [Cr(H2O)4Cl2]Cl.2H2O      สีเขียว 
                    [Co(NH3)6]Cl3                   สีเหลืองส้ม
                    [Co(NH3)5]Cl3. H2O          สีแดง
                    [Co(NH3)5]Cl3                   สีม่วงแดง 
                    [Co(NH3)4]Cl                  สีเขียว 


<< Go Back