1. เพื่อให้นักเรียนสามารถศึกษาลักษณะการเคลื่อนที่ของโพรทิสต์ ที่สังเกตเห็นจากกล้องจุลทรรศน์ และบันทึกลักษณะที่สังเกตเห็น
2. เพื่อให้นักเรียนสามารถใช้กล้องจุลทรรศน์ได้อย่างถูกต้อง และเตรียมสไลด์เพื่อศึกษาตัวอย่างของโพรทิสต์ได้
1. กล้องจุลทรรศน์ 1 เครื่อง
2. สไลด์และกระจกปิดสไลด์ 1 อัน
3. บีกเกอร์ 1 อัน
4. หลอดหยด 1 อัน
1. ใช้บีกเกอร์ตักน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติในโรงเรียนหรือบริเวณใกล้เคียง มาหยดลงบนสไลด์ ปิดด้วยกระจกปิดสไลด์ นำมาตรวจดูด้วยกล้องจุลทรรศน์
2. บันทึกลักษณะของสิ่งมีชีวิตด้วยการวาดภาพและบรรยายลักษณะรูปร่าง โครงสร้างที่สังเกตเห็น ตลอดจนการเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิตนั้น
3. สืบค้นข้อมูลเพื่อระบุหรือกลุ่มของสิ่งมีชีวิตที่พบ โดยการเปรียบเทียบลักษณะรูปร่างโครงสร้างที่สังเกตเห็น และลักษณะการเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิตนั้น กับลักษณะของโพรทิสต์จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ
- สิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่ที่พบมีขนาดเป็นอย่างไร และสามารถมองดูด้วยตาเปล่าได้หรือไม่
- สิ่งมีชีวิตที่พบมีลักษณะสำคัญอย่างไร
- สิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่ที่พบเคลื่อนที่ได้หรือไม่ ถ้าเคลื่อนที่ได้มีโครงสร้างใดช่วยในการเคลื่อนที่
ภาพโพรทิสต์ในหยดน้ำ
สิ่งมีชีวิตที่พบส่วนใหญ่มีขนาดเล็ก และไม่สามารถสังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่าหรืออาจสังเกตเห็นด้วยตาเปล่า แต่ไม่เห็นรายละเอียดอย่างชัดเจน
สิ่งมีชีวิตที่พบอาจมีลักษณะสำคัญๆ ที่แตกต่างกัน เช่น มี คลอโรพลาสต์มีโครงสร้างที่ใช้ในการเคลื่อนที่ เช่น ซิเลีย แฟลเจลลัม เป็นต้น
สิ่งมีชีวิตที่พบบางชนิดเคลื่อนที่ได้โดยการไหลของไซโทพลาซึม หรือมีโครงสร้างที่ใช้ในการเคลื่อนที่ เช่น ซิเลีย แฟลเจลลัม เป็นต้น
จากการสืบค้นข้อมูลความหลากหลายของโพรทิสต์ นำความรู้ที่ได้มาเขียนผังมโนทัศน์ความหลากหลายของโพรทิสต์ ได้ดังนี้
สรุปได้ว่า
จากการทดลองจะเห็นได้ว่าในหยดน้ำเพียงหยดเดียวจะพบสิ่งมีชีวิตจำนวนมาก มีทั้งที่เป็นเซลล์เดียวและหลายเซลล์ ซึ่งมีลักษณะแตกต่างกัน บางชนิดอาจมีคลอโรพลาสต์เหมือนพืช บางชนิดมีแฟลเจลลัม บางชนิดมีซิเลีย สิ่งมีชีวิตจำนวนมากที่มองเห็นภายใต้กล้องจุลทรรศน์ คือสิ่งมีชีวิตในอาณาจักรโพรทิสตา(kingdom Protista) หรือเรียกสิ่งมีชีวิตในอาณาจักรนี้ว่าโพรทิสต์ ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีเซลล์แบบยูคาริโอต
|