1. เพื่อให้นักเรียนสามารถทำกิจกรรมศึกษาโครงสร้างของหัวใจสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
2. เพื่อให้นักเรียนสามารถบอกความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างกับหน้าที่ของหัวใจแต่ละห้อง รวมทั้งหลอดเลือดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับหัวใจ
1. หัวใจหมู หรือ หัวใจวัว
2. ถุงมือยาง
3. เครื่องมือผ่าตัด
4. ถาดผ่าตัด
ศึกษาหัวใจของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ชนิดใดชนิดหนึ่ง เช่น หัวใจหมู หรือหัวใจวัว โดยให้นักเรียนสวมถุงมือยางนำหัวใจมาล้างให้สะอาดแล้วดำเนินการดังนี้
1. สังเกตขนาด รูปร่างภายนอก และหลอดเลือดเล็กๆ ที่ผิวรอบนอกสุดของหัวใจ
2. สังเกตความหนาของผนังหลอดเลือดที่ติดต่อกับหัวใจ ใช้แท่งแก้วหรือนิ้วมือสอดลงไปตามหลอดเลือดที่มีขนาดใหญ่ที่สุด
3. ใช้กรรไกรตัดผนังหลอดเลือดนั้นเข้ามาจนถึงโคนหลอดเลือด และตัดต่อเข้าไปจนถึงผนังห้องหัวใจ สังเกตลักษณะลิ้นของหัวใจที่กั้น ระหว่างห้อง เอเตรียมและห้องเวนตริเคิล ใช้กรรไกรตัดส่วนปลายล่างสุดของหัวใจห้องเวนตริเคิลให้เป็นช่อง และลองปล่อยให้น้ำไหลด้านลิ้นหัวใจ สังเกตว่าลิ้นเปิดหรือปิด
4. ใช้มีดผ่าผนังหัวใจต่อไปจนถึงโคนหลอดเลือดเส้นหนึ่ง ใช้แท่งแก้วหรือนิ้วมือสอดไปตามหลอดเลือดที่ติดต่อกับหัวใจห้องนี้ สังเกตลิ้นที่โคนหลอดเลือดนี้
5. ทำเช่นเดียวกับข้อ 3 และ 4 กับหลอดเลือดใหญ่อีกเส้นหนึ่งแล้วผ่าหัวใจตามยาวออกเป็นซีกซ้ายและขวา สังเกตห้องทั้ง 4 ภายในหัวใจ
6. ใช้เข็มเขี่ยตรงบริเวณลิ้นที่กั้นภายในหลอดเลือดที่ออกจากหัวใจ ห้องเวนตริเคิลซ้ายซึ่งมี 3 แฉกเพื่อศึกษาช่องทางที่เลือดจะไปเลี้ยงหัวใจ
7. รายงานสรุปผลการศึกษาโครงสร้างของหัวใจ และทิศทางการหมุนเวียนเลือดผ่านหัวใจ
- นักเรียนคิดว่าหลอดเลือดที่ผิวรอบนอกของหัวใจทำหน้าที่อะไร
- ความหนาของผนังห้องหัวใจทั้ง 4 ห้อง แตกต่างกันหรือไม่อย่างไร ลักษณะดังกล่าวนี้สัมพันธ์กับการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจอย่างไร
- ลิ้นที่กั้นระหว่างหัวใจห้องเอเตรียมและเวนตริเคิลมีลักษณะอย่างไร ลักษณะดังกล่าวบอกทิศทางการไหลของเลือดอย่างไร และช่วยในการทำงานของหัวใจอย่างไร ถ้าลิ้นเหล่านี้รั่วจะเกิดอะไรขึ้น
- ลิ้นที่โคนหลอดเลือดมีลักษณะอย่างไร ลักษณะดังกล่าวบอกทิศทางการไหลของเลือดอย่างไร ถ้าลิ้นรั่วจะมีผลอย่างไรต่อร่างกาย
ผลการทดลองที่ได้ ดังภาพ
|
|
โครงสร้างภายนอกของหัวใจ |
โครงสร้างภายในของหัวใจ |
สรุปได้ว่า
หลอดเลือดที่ผิวรอบนอกของหัวใจทำหน้าที่นำเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ ความหนาของผนังห้องหัวใจทั้ง 4 ห้อง แตกต่างกันหัวใจห้องเวนตริเคิลจะมีกล้ามเนื้อหนากว่าเอเตรียม และกล้ามเนื้อหัวใจห้องเวนตริเคิลซ้ายก็จะหนากว่าห้องเวนตริเคิลขวา ลักษณะเช่นนี้แสดงว่าหัวใจห้องเวนตริเคิลซ้ายจะต้องออกแรงบีบตัวมาก เนื่องจากต้องสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงทั่วร่างกายส่วนหัวใจห้องเวนตริเคิลขวามีกล้ามเนื้อบางกว่ามีหน้าที่สูบฉีดเลือดไปยังปอด ส่วนเอเตรียมของหัวใจทั้ง 2 ห้อง มีกล้ามเนื้อบางมาก เนื่องจากทำหน้าที่รับเลือดแล้วบีบตัวส่งเลือดลงไปยังหัวใจห้องเวนตริเคิลเท่านั้น
ลิ้นที่กั้นระหว่างห้องของหัวใจ มีลักษณะดังนี้
1. ลิ้นที่กั้นระหว่างหัวใจเอเตรียมขวากับเวนตริเคิลขวา มีลักษณะเป็นแผ่นเยื่อบาง ๆ 3 ชิ้นเรียกเยื่อนี้ว่าไตรคัสพิด ลิ้นนี้จะเปิดเมื่อความดันเอเตรียมขวาสูงกว่าเวนตริเคิลขวา เลือดจึงไหลจากห้องเอเตรียมขวาลงสู่เวนตริเคิลขวา และจะปิดเมื่อเลือดในเวนตริเคิลขวามีความดันสูงกว่าเอเตรียมขวา
2. ลิ้นที่กั้นระหว่างหัวใจห้องเอเตรียมซ้ายกับห้องเวนตริเคิลซ้ายจะมีลักษณะเป็นแผ่นเยื่อ 2 ชิ้นเรียกไบคัสพิด ลิ้นนี้จะเปิดเมื่อความดันในเอเตรียมซ้ายสูงกว่าห้อง เวนตริเคิลซ้ายเลือดจึงไหลจากเอเตรียมซ้ายสู่ห้องเวนตริเคิลซ้าย และจะปิดเมื่อเลือดในเวนตริเคิลซ้ายมีความดันสูงกว่าเอเตรียมซ้ายลิ้นเหล่านี้ ช่วยทำให้เลือดไม่ไหลย้อนกลับไปยังเอเตรียมขวา และเอเตรียมซ้ายถ้าลิ้นเหล่านี้รั่วจะทำให้เลือดบางส่วนไหลย้อนกลับไปยังเอเตรียมขวา และเอเตรียมซ้ายส่งผลให้เลือดจากเวนตริเคิลขวาไป
ลิ้นที่โคนหลอดเลือดมีลักษณะเป็นครึ่งวงกลม 3 ชิ้นวางชนกันเรียกเยื่อนี้ว่าลิ้น เซมิลูนาร์จะพบที่
1. ลิ้นที่กั้นระหว่างหลอดเลือดเอออร์ตากับหัวใจห้องเวนตริเคิลซ้าย ลิ้นนี้จะเปิดเมื่อความดันเลือดในห้องเวนตริเคิลซ้ายสูงกว่าในเอออร์ตา และจะปิดเมื่อความดันเลือดในเอออร์ตาสูงกว่าห้องเวนตริเคิลซ้าย เลือดจึงไหลจากห้องเวนตริเคิลซ้ายไปตาม เอออร์ตาและไม่ไหลย้อนกลับ
2.ลิ้นที่กั้นระหว่างหลอดเลือดพัลโมนารีอาร์เตอรีกับเวนตริเคิลขวา ลิ้นจะปิดเมื่อความดันเลือดในพัลโมนารีอาร์เตอรีสูงกว่าเวนตริเคิลขวา ลิ้นจะเปิดเมื่อความดันเลือดในเวนตริเคิลขวาสูงกว่าในพัลโมนารีอาร์เตอรี เลือดจึงไหลจากห้องเวนตริเคิลขวาไปตามพัลโมนารีอาร์เตอร์ และไม่ไหลย้อนกลับถ้าลิ้นเซมิลูนาร์ที่กั้นระหว่างเอออร์ตากับหัวใจห้องเวนตริเคิลซ้ายรั่ว จะทำให้มีเลือดไปเลี้ยงร่างกายได้น้อยลง เป็นผลให้ร่างกายขาดเลือดได้ และถ้าลิ้นเซมิลูนาร์ที่กั้นระหว่างพัลโมนารีอาร์เตอรีกับหัวใจเวนตริเคิลขวารั่ว จะทำให้มีเลือดไปแลกเปลี่ยนแก๊สที่ปอด น้อยลงส่งผลให้มีเลือดไปเลี้ยงร่างกายน้อยลง และร่างกายได้รับออกซิเจนน้อยลงด้วย
ถ้าหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจอุดตันจะมีผลทำให้เลือดไปหล่อเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจไม่เพียงพอ เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจไม่สามารถทำหน้าที่สูบฉีดเลือดได้ ทำให้หัวใจล้มเหลว
|