กระบังลม (อังกฤษ: Diaphragm หรือ Thoracic diaphragm) เป็นแผ่นของกล้ามเนื้อโครงร่างในร่างกาย[2]ขึงอยู่ด้านล่างของซี่โครง กะบังลมกั้นระหว่างช่องอก (ประกอบด้วยหัวใจ ปอด และซี๋โครง เป็นต้น) และช่องท้อง ทำหน้าที่สำคัญในการหายใจ ในทางกายวิภาคศาสตร์กะบังลมบางครั้งอาจหมายถึงโครงสร้างแบนอื่นๆ เช่น กะบังลมเชิงกรานหรือฐานเชิงกราน (pelvic diaphragm; เช่นในโรค "กะบังลมหย่อน" ที่หมายถึงการหย่อนของฐานเชิงกรานทำให้ทวารหนัก มดลูก หรือกระเพาะปัสสาวะยื่นออกมานอกช่องคลอด) แต่โดยทั่วไปแล้วคำว่า "กะบังลม" หมายถึงกะบังลมหน้าอก สัตว์มีกระดูกสันหลังอื่นเช่นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำและสัตว์เลื้อยคลานมีกะบังลมหรือโครงสร้างคล้ายกะบังลมแต่มีลักษณะจำเพาะที่แตกต่างกันออกไป เช่น ตำแหน่งของปอดในช่องท้อง เป็นต้น
อวัยวะระบบทางเดินหายใจ (กะบังลมอยู่ด้านล่างของภาพ)
ลักษณะของกระบังลม
กระบังลมจะประกอบด้วยมัดกล้ามเนื้อ และเส้นเอ็น โดยมีมัดกล้ามเนื้อล้อมรอบเส้นเอ็นซึ่งอยู่บริเวณตรงกลาง ส่วนมัดกล้ามเนื้อแบ่งออกเป็น 3 มัด คือ กล้ามเนื้อ pars costal กล้ามเนื้อ pars sternal และ กล้ามเนื้อ pars lumbar แบ่งเป็นด้านซ้าย และด้านขวา โดยกล้ามเนื้อด้านขวาจะมีขนาดใหญ่กว่าด้านซ้ายเล็กน้อย ส่วนเส้นเอ็นจะมีรูปร่างเป็นตัววาย โดยเส้นเอ็นแต่ละแขนงจะยึดกับซี่โครง (ซี่ที่ 13) เอาไว้ โดยกล้ามเนื้อ pars costal และ กล้ามเนื้อ pars sternal จะอยู่ด้านนอกศูนย์กลางลำตัว ในแนวกระดูกอ่อนบริเวณลิ้นปี่ (xiphoid cartilage) ส่วนกล้ามเนื้อ pars lumbar จะยึดติดกับตำแหน่งศูนย์กลางลำตัว ในแนวกระดูกสันหลัง บริเวณเอวที่ 3 และ 4 มีเส้นประสาท splanchnic และเส้นประสาท sympathetic trunk ผ่านไปช่องท้องระหว่างส่วนด้านข้าง และซี่โครงซี่ที่ 13 ของทั้ง 2 ด้าน กระบังลมมีช่องเปิดที่เป็นทางผ่านของอวัยวะต่างๆ อยู่ 3 ช่อง คือ caval foramen ซึ่งเป็นทางผ่านของหลอดเลือด caudal vena cava ส่วน esophageal hiatus เป็นทางผ่านของหลอดอาหาร
หลอดเลือดที่มาเลี้ยงหลอดอาหาร และ เส้นประสาทคู่ที่ 10 (vagus nerve) และ aortic hiatus อยู่ในตำแหน่งด้านบนของตัวกระดูก lumbar และส่วนด้านล่างที่ขยายจากเอ็นแนวกลางของกระบังลมด้านซ้าย และขวา โดยหลอดเลือดใหญ่เอออร์ต้า หลอดเลือด azygous และ cistern of thoracic duct จะผ่านไปช่องท้องทาง aortic hiatus ด้านนูนของกระบังลมจะติดกับปอด
เยื่อหุ้มปอดส่วนประจันอก (mediastinal) จะยึดติดกระบังลมในแนวกลางของด้านบนของหลอดอาหารเท่านั้น หลอดเลือด plica vena cava อยู่ด้านหลังของหัวใจบริเวณ caudal vene cava จะติดกับกระบังลมทางด้านขวา ส่วนด้านเว้าของกระบังลมจะติดกับชั้นของเยื่อบุช่องท้อง major lymphatic drainage จากช่องท้องจะผ่านทางกระบังลม
หลอดเลือดหลักที่มาเลี้ยงกระบังลม คือ หลอดเลือด phrenic โดยจุดกำเนิดมาจากคู่ของหลอดเลือด Phrenicoabdominal ระบบประสาทมอเตอร์ของกระบังลมมาจากเส้นประสาท phrenic ในแนวเส้นประสาท phrenic จะมาจากเส้นประสาทส่วนคอคู่ที่ 4, 5 และ 6 กล้ามเนื้อ costal จะมีแขนงเส้นประสาทมาจากเส้นประสาทส่วนคอคู่ที่ 4 และหลักๆมาจากเส้นประสาทส่วนคอคู่ที่ 5 ส่วน กล้ามเนื้อส่วน crural จะมีเส้นประสาทส่วนคอคู่ที่ 6 มาเลี้ยงเป็นหลัก และแขนงจะเป็นเส้นประสาทส่วนคอคู่ที่ 5
หน้าที่ และการทำงานของกระบังลม
กระบังลมทำหน้าที่ช่วยในการหายใจ ประกอบด้วย 2 ระยะ ได้แก่
1. การหายใจเข้า ในขณะหายใจเข้าที่มีลำเข้าภายในปอด ทำให้ปอดขยายตัว จนดันซี่โครงให้ขยายตัวออก ซึ่งเป็นผลมาจากการหดตัว และยกตัวลงต่ำของกระบังลม คล้ายกับการยกลงของลูกสูบ ทำให้เกิดการดูดอากาศเข้าภายในปอด (หายใจเข้า) และช่วยรองรับการขยายตัวของปอด แต่จะลดต่ำลงในระดับที่พอเหมาะ ป้องกันไม่ให้อากาศเข้าในปอดมากจนเกินไป และป้องกันไม่ให้กระดูกซี่โครงขยายตัวมากจนเกินไปด้วย
2. การหายใจออก
ในขณะหายใจออก กระบังลมจะเกิดการขยายตัว จนยกตัวสูงขึ้น แล้วดันปอดให้ยุบตัว เพื่อไล่ลมออกจากปอด และในขณะปอดยุบตัว กระดูกซี่โครงก็จะยุบตัวลงเช่นกัน
ดังนั้น กระบังลมจึงมีหน้าที่สำคัญในการหายใจเข้า และหายใจออกของร่างกาย ซึ่งทำหน้าที่คล้ายกับลูกสูบสำหรับการดูดอากาศ และดันไล่อากาศออกจากปอด (กระบอกสูบ) นอกจากนั้น ยังมีบทบาทสำคัญในการเคลื่อนที่ของ lymphatic fluid อีกด้วย
3. กล้ามเนื้อกระบังลม
- กระบังลม หดตัว --> เพิ่มขนาดช่องทรวงอกในแนวตั้ง
กล้ามเนื้อที่ใช้สำหรับหายใจเข้า (muscles of inspiration) |
|
กล้ามเนื้อ External Intercostal |
1. การเคลื่อนไหวแบบที่โยกปั๊มน้ำ (water-pump handle) --> เพิ่มขนาดทรวงอกในแนวหน้า-หลัง (anteroposterior)
2. การเคลื่อนไหวแบบหูหิ้วถังน้ำ (bucket handle) --> เพิ่มขนาดทรวงอกในแนวตัดขวาง (transverse)
|
กล้ามเนื้อที่ใช้สำหรับหายใจเข้า
(muscles of inspiration) |
1. การหายใจเข้าเป็นขบวนการที่ใช้พลังงาน (active process) จากระบบประสาทและกล้ามเนื้อ (neuro-muscular interaction)
2. กล้ามเนื้อหายใจเข้าหลัก ได้แก่ กระบังลมและกล้ามเนื้อ external intercostal เมื่อหดตัว ทำให้เกิดการหายใจ
3. ขณะหายใจเข้าลึกและแรง (forced inspiration) มีกล้ามเนื้อหายใจเข้ากลุ่มอื่น (accessory muscles) มาช่วยเสริมเพื่อเพิ่มปริมาตรการหายใจ |
กล้ามเนื้อที่ใช้สำหรับหายใจเข้า (muscles of inspiration) |
|
https://th.wikipedia.org/wiki/กะบังลม
http://thaihealthlife.com/กระบังลม/
http://www.ps.si.mahidol.ac.th/courseware/storeresources/51_SS_Resp1.pdf
|