<< Go Back

1. เพื่อให้นักเรียนสามารถสำรวจตรวจสอบการหมักของยีสต์
2. เพื่อให้นักเรียนสามารถนำความรู้ไปใช้ในการศึกษากระบวนการหมักของยีสต์ในน้ำผลไม้ชนิดอื่นได้

1. ยีสต์
2. น้ำสับปะรด
3. น้ำมันพืช
4. น้ำอุ่น
5. สารละลายบรอมไทมอลบลู
6. หลอดทดลอง
7. สายยางขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.25 cm

1. นำสับปะรดมาคั้นแล้วกรองเอาเฉพาะของเหลว นำยีสต์ใส่ลงในหลอดทดลองที่มีน้ำสับปะรดผสมให้เข้ากัน จากนั้นค่อยๆเติมน้ำมันพืชให้ลอยอยู่บนผิวหน้า ของสารละลาย
2. จัดอุปกรณ์ดังรูป

3. ตั้งหลอดทดลองทิ้งไว้สักครู่ หรือนำหลอดทดลองที่มีน้ำสับปะรดและยีสต์ไปจุ่มในบิ๊กเกอร์ที่มีน้ำอุ่น แล้วสังเกตผลการทดลอง
4. ทำการทดลองเช่นเดียวกันนี้อีก 2 ชุด ชุดหนึ่งในหลอดทดลองใส่ยีสต์กับ น้ำกลั่น และอีกชุดหนึ่งใส่น้ำสับปะรดกับน้ำกลั่น ทั้ง 2 ชุด มีการเติมน้ำมันพืชลงในสารละลายและมีหลอดนำก๊าซไปยังหลอดทดลองที่มีสารละลายบรอมไทมอลบลู

- ฟองก๊าซที่เกิดขึ้นเป็นก๊าซอะไร เพราะเหตุใด
- เมื่อดมของเหลวในหลอดทดลองที่มียีสต์และน้ำสับปะรดจะมีกลิ่นหรือไม่ อย่างไร
- ทำไมจึงต้องนำหลอดทดลองไปจุ่มในน้ำอุ่น
- เพราะเหตุใดจึงต้องเติมน้ำมันพืชลงบนผิวหน้าของน้ำสับปะรดและยีสต์
- นักเรียนจะสรุปผลการทดลองว่าอย่างไร

เมื่อทิ้งการทดลองไว้ประมาณ 5-10 นาที ผลการทดลองเป็นดังนี้ การทดลองชุดที่ 1 ในหลอดที่มีน้ำสับปะรดและยีสต์ พบว่า สารละลายบรอมไทมอลบลูเปลี่ยนจากสีฟ้าอมสีน้ำเงินเป็นสีเขียวและสีเหลืองอมส้ม ดังภาพ

จะสังเกตเห็นฟองอากาศผุดขึ้นในหลอดทดลองที่มีสารละลายบรอมไทมอลบลูเป็นระยะ ๆ การทดลองในชุดที่ 2 และ 3 ไม่มีการเปลี่ยนแปลง

ฟองก๊าซที่เกิดขึ้นควรเป็นก๊าซ CO2 เพราะสีของบรอมไทมอลบลู เปลี่ยนเป็นสีเหลืองอมส้ม

เมื่อดมของเหลวในหลอดทดลองที่มียีสต์และน้ำสับปะรดจะมีกลิ่นแอลกอฮอล์

การนำหลอดทดลองไปจุ่มในน้ำอุ่นจะทำให้อุณหภูมิของหลอดทดลองเพิ่มขึ้น ปฏิกิริยาจะเกิดมากขึ้น ทำให้มีก๊าซ CO2 มากขึ้น

ต้องเติมน้ำมันพืชลงบนผิวหน้าของน้ำสับปะรดและยีสต์เพื่อไม่ให้ก๊าซออกซิเจนจากอากาศลงไปผสม

สรุปได้ว่า

ในสภาวะที่ขาดออกซิเจน เมื่อเติมยีสต์ลงไปในน้ำสับปะรดจะเกิดปฏิกิริยา ได้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และ เอทิลแอลกอฮอล์

ยีสต์มีการสลายน้ำตาลที่อยู่ในน้ำสับปะรดได้เป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และแอลกอฮอล์ กระบวนการนี้เกิดขึ้นในไซโทซอล และแบ่งเป็นขั้นตอนไกลโคลิซิส และกระบวนการหมักแอลกอฮอล์เนื่องจากปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นในสภาวะที่ไม่มีออกซิเจน จึงไม่มีออกซิเจนมารับอิเล็กตรอน NADH ไม่สามารถถ่ายทอดอิเล็กตรอนได้ถ้าเป็นเช่นนี้ก็จะไม่มี NAD+ ที่จะนำมารับอิเล็กตรอนจากกระบวนการไกลโคลิซิส จึงต้องมีกระบวนการหมักเพื่อจะมี NAD+ มารับอิเล็กตรอน ช่วงกระบวนการหมักนี้จะไม่มี ATP เกิดขึ้น แต่ ATP จะเกิดในช่วงไกลโคลิซิส 2 โมเลกุล ในกระบวนการหมักแอลกอฮอล์และ กรดแลกติก คาร์บอนในโมเลกุลของสารอาหารยังปลดปล่อยไม่หมด จึงทำให้พลังงานจากพลังงานพันธะของคาร์บอนยังหลงเหลืออยู่ ดังนั้นการสลายสารอาหารแบบไม่ใช้ออกซิเจนในกระบวนการหมักจึงให้พลังงานน้อยกว่าการสลายสารอาหารแบบใช้ออกซิเจน


<< Go Back