<< Go Back

พารามีเซียม เป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวขนาดเล็ก สามารถพบอาศัยในได้แหล่งน้ำจืดตามธรรมชาติ ไม่สามารถมองดูด้วยตาเปล่าและทำให้รู้ได้ว่านี่คือพารามีเซียม แต่เมื่อนำมาศึกษาดูลักษณะต่างๆ ด้วยกล้องจุลทรรศน์ถึงจะบอกได้ว่าเป็น "พารามีเซียม" ซึ่งก็จะพบว่ามีรูปร่างลักษณะคล้ายกับรองเท้าแตะ บางคนก็ว่าเหมือนลูกรักบี้ บ้างก็ว่าเหมือนใบไม้แห้ง แต่บางคนเมื่อเห็นการเคลื่อนที่ของพารามีเซียมแล้วก็อาจจะทำให้นึกถึงกระสวยอวกาศ หรือลูกข่างก็เป็นไปได้ สุดแต่จะจินตนาการกันไป

พารามีเซียมมีความสำคัญอย่างไร ทำประโยชน์อะไรให้กับโลกใบนี้บ้าง และทำไมเราต้องศึกษาพารามีเซียม เมื่ออ่านเรื่องนี้จบทุกคนก็จะร้อง อ๋อ….มันเป็นอย่างนี้นี่เอง (หรืออาจจะไม่ร้องเลยก็ได้ ถ้ารู้มาก่อนแล้ว :D)
ตัวของพารามีเซียมได้รวมเอาระบบต่างๆ ทุกระบบที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตมารวมอยู่ในเซลล์เพียงเซลล์เดียวได้อย่างมหัศจรรย์ จากรูปจะเห็นว่าพารามีเซียมจะมีขนสั้นๆ อยู่รอบๆ ตัว ขนสั้นๆ นี้นักวิทยาศาสตร์ตั้งชื่อเรียกว่า "ซีเลีย (cilia)" ซึ่งใช้สำหรับการเคลื่อนที่และช่วยในการกินอาหาร อาหารของพารามีเซียมก็ ได้แก่ แบคทีเรีย เศษเนื้อเยื่อของสัตว์ต่างๆ โพรโตซัวอื่นๆ รวมถึงเป็นพวกที่สามารถใช้สารอาหาร ( หรือ nutrients) ที่ละลายอยู่ในแหล่งน้ำมาใช้ประโยชน์ได้โดยตรงอีกด้วย
… ที่เลือกพารามีเซียมมาศึกษาก็เพราะ หาง่ายหรือเตรียมได้ง่าย ไม่ต้องมีการดูแลมากในเรื่องชีวิตและความเป็นอยู่ อยู่ในน้ำเลี้ยงด้วยน้ำต้มฟางข้าวก็อยู่ได้แล้ว ระวังไม่ให้น้ำแห้ง และเปลี่ยนน้ำต้มฟางข้าว (ซึ่งก็คือการเติมอาหารให้พารามีเซียมบ้างก็เท่านั้นเอง)
นอกจากนี้ทั้งพารามีเซียม และสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กอื่นๆ ยังเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความสำคัญต่อระบบนิเวศ ช่วยในการย่อยสลายสารต่างๆ ที่มีขนาดเล็ก พูดง่ายๆ ก็คือ เป็นตัวกำจัดหรือกินซากเล็กๆ ชั้นเยี่ยมเลยทีเดียว และเป็นตัวเชื่อมต่อที่ทำให้วัฏจักรของสารดำเนินต่อไปได้ ถ้าไม่มีสิ่งมีชีวิตเล็กๆ เหล่านี้ เราก็คงจมกองขยะชีวภาพตายไปแล้ว นอกจากนี้การที่พารามีเซียมกินแบคทีเรียและโพรติสต์อื่นๆ ด้วย ก็ยังช่วยควบคุมจำนวนแบคทีเรียให้อยู่ในสมดุลอีกด้วย
ทีนี้ลองมาดู VDO ที่ทีมงานถ่ายได้จากกล้องจุลทรรศน์บ้างนะครับ มาดูว่าพารามีเซียมมีลีลาการกินอาหารที่น่าดู น่าศึกษาเพียงใด

ภาพถ่ายที่ได้จากกล้องจุลทรรศน์


 


                       http://biology.ipst.ac.th/?p=741

<< Go Back