1. เพื่อให้นักเรียนสามารถทดลองเพื่อศึกษาการทำงานของเอนไซม์
2. เพื่อให้นักเรียนสามารถบอกประโยชน์ของปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นที่มีผลต่อเซลล์ของสิ่งมีชีวิต
3. เพื่อให้นักเรียนสามารถบอกชนิดแก๊สที่เกิดขึ้น วิธีการทดลองแก๊ส และเขียนสมการแสดงปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้น
1. โกร่ง
2. น้ำกลั่น
3. เครื่องชั่ง
4. กระบอกตวง
5. ตะเกียงแอลกอฮอล์
6. บีกเกอร์
7. H2O2 3%
8. เทอร์มอมิเตอร์
9. หลอดทดลอง
10. ที่วางหลอดทดลอง
11. จุกยาง
12. ผ้าขาวบาง
13. เนื้อเยื่อสิ่งมีชีวิตที่นำมาศึกษา เช่น ยอดคะน้า ถั่วงอก ผลฝรั่ง ตับ เป็นต้น
1. บดเนื้อเยื่อสิ่งที่นำมาศึกษา เช่น ยอดคะน้า ถั่วงอก ประมาณ 20 กรัม ให้ละเอียดเติมน้ำกลั่น 20 cm3 คนให้เข้ากัน แล้วคั่นเอาแต่ของเหลว
2. แบ่งของเหลวที่ได้จากข้อ 1 จำนวน 5 cm3 ใส่หลอดทดลองแล้วนำไปอุ่นใน บีกเกอร์จนอุณหภูมิประมาณ 60- 70 oC แล้วทิ้งไว้ให้เย็น
3. ใส่ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ 3 % ลงในหลอดทดลอง 3 หลอด หลอดละ 5 cm3 แล้วเติมสารละลายลงไปในแต่ละหลอดดังนี้
หลอดที่ 1 ของเหลวที่ได้จากข้อ 1 ปริมาตร 2 cm3
หลอดที่ 2 ของเหลวที่ได้จากข้อ 2 ปริมาตร 2 cm3
หลอดที่ 3 น้ำกลั่น 2 cm3
4. ปิดหลอดทดลองทั้งหมดด้วยจุกยาง สังเกตผลที่เกิดขึ้นและบันทึกผล
5. ทำการทดลองซ้ำข้อ 1-4 แต่ใช้เนื้อเยื่อชนิดอื่นๆ แทน
- การทดลองในหลอดที่ 2 เหตุใดจึงต้องนำของเหลวที่คั้นจากยอดพืชอ่อน จากตับหรือผลไม้ที่บดแล้วไปอุ่นจนถึงอุณหภูมิ 60-70 oC
- สังเกตเห็นความแตกต่างที่เกิดขึ้นในหลอดทดลองทั้งสามหลอดอย่างไรบ้าง จะอธิบายผลการทดลองนี้ว่าอย่างไร
- แก๊สที่เกิดขึ้นเป็นแก๊สอะไร จะทดสอบแก๊สได้ดังกล่าวได้อย่างไร
- ถ้าจะปรับปรุงการทดลองนี้ให้น่าเชื่อถือยิ่งขึ้น นักเรียนคิดว่าควรจะปรับปรุง อย่างไรบ้าง
ผลการทดลองที่ได้
การทดลองในหลอดที่ 2 ต้องนำของเหลวที่คั้นจากยอดพืชอ่อน จากตับหรือผลไม้ที่บดแล้วไปอุ่นจนถึงอุณหภูมิ 60-70 oC เพื่อทำลายเอนไซม์เพราะเอนไซม์จะถูกทำลายโดยความร้อนที่อุณหภูมิเกิน 60 oC
จากผลการทดลองในตารางข้างต้นแสดงว่า ในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตมีสารบางอย่างที่เร่งปฏิกิริยาการสลายตัวของ H2O เกิดเป็นแก๊สอย่างรวดเร็ว จึงอาจจะเป็นไปได้ว่าสารดังกล่าวเป็นเอนไซม์
แก๊สที่เกิดขึ้นเป็นแก๊สออกซิเจน ทดสอบได้โดยใช้ก้านธูปหรือก้านไม้ขีดที่ติดไฟแล้วดับเปลวไฟเหลือเฉพาะถ่านแดงๆ จ่อเข้าไปในหลอดทดลอง ถ้าถ่านไม้ขีดสีแดงวาบขึ้นแสดงว่าเป็นแก๊สออกซิเจน
ถ้าปรับปรุงการทดลองนี้ให้น่าเชื่อถือยิ่งขึ้น ควรจะปรับปรุง โดย ควรทำชุดละ 3 หลอด (3 ซ้ำ) เพื่อป้องกันความคลาดเคลื่อน และควรมีการเก็บแก๊สโดยการแทนที่น้ำเพื่อจะได้ปริมาณแก๊สที่ชัดเจน การทดลองจะได้น่าเชื่อถือและเป็นวิทยาศาสตร์มากขึ้น
สรุปผลได้ว่า
ในเซลล์มีเอนไซม์ที่ทำหน้าที่เร่งการสลายตัวของไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ ถ้าไม่ได้รับเอนไซม์จากเซลล์ การสลายตัวของไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ที่อุณหภูมิห้องจะเกิดช้ามาก
|