1. เพื่อให้นักเรียนสามารถสืบค้นข้อมูลชนิดพันธุ์ต่างถิ่นในประเทศไทยทางอินเทอร์เน็ต
2. เพื่อให้นักเรียนสามารถบอกชนิดพันธุ์ต่างถิ่นทั้งพืชและสัตว์ที่เข้ามาในประเทศไทย
3. เพื่อให้นักเรียนสามารถทราบสาเหตุการนำเข้าชนิดพันธุ์ต่างถิ่นนั้น ๆ
4. เพื่อให้นักเรียนสามารถอธิบายผลดีและผลเสียจากการนำเข้าชนิดพันธุ์ต่างถิ่น
5. เพื่อให้นักเรียนสามารถอภิปรายเพื่อหาแนวทางในการป้องกันและแก้ไขการรุกรานของชนิดพันธุ์ต่างถิ่น
1. ให้นักเรียนสำรวจชนิดพันธุ์ต่างถิ่นทั้งพืชและสัตว์ที่เข้ามาในประเทศไทย จากการค้นคว้าทางอินเตอร์เน็ต หรือจากการออกไปสำรวจตามร้านขายพันธุ์พืชและสัตว์
2. ให้นักเรียนวิเคราะห์ข้อมูลและจำแนกชนิดพันธุ์ที่สำรวจได้ ชนิดใดที่เป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่ไม่รุกราน และชนิดใดเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกราน
3. นำข้อมูลมาอภิปรายร่วมกันในประเด็นต่อไปนี้
3.1 ผลดีและผลเสียจากการนำชนิดพันธุ์ต่างถิ่นเข้ามาในประเทศไทย
3.2 ผลกระทบของชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกรานต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม
3.3 แนวทางในการป้องกันและแก้ไขจากการรุกรานของชนิดพันธุ์ต่างถิ่น
ผลการทดลองที่ได้ ดังนี้
ชื่อ |
ที่มา |
จุดประสงค์การนำเข้า |
ผลกระทบที่เกิดขึ้น |
อีกัวน่า |
ทวีปอเมริการใต้
ทวีปอเมริการกลาง
|
เป็นสัตว์เลี้ยงดูเล่น |
ถ้ามากเกินไป อาจคุกคามสัตว์ท้องถิ่นได้ |
ปลาดุกรัสเซีย |
ทวีปแอฟริกา |
เป็นสัตว์เลี้ยงดูเล่น |
ทำลายความหลากหลายทางชีวภาพของสัตว์น้ำไทย เพราะมีนิสัยดุร้าย เป็นสัตว์กินเนื้อ |
หอยเชอรี่ |
ทวีปอเมริกาใต้ |
เพื่อประดับตู้ปลา |
กัดกินต้นข้าวอ่อน ทำให้นาข้าวเสียหาย |
ไมยราบยักษ์ |
ทวีปอเมริกาใต้ |
เพื่อใช้เป็นปุ๋ยสด |
สร้างปัญหาแก่ชลประทาน |
หญ้าขจรกบ |
อินเดีย |
เป็นอาหารสัตว์ |
วัชพืชแย่งอาหาร ทำให้พืชชนิดอื่นไม่เจริญเติบโต |
ผกากรอง |
เม็กซิโก |
ไม้ประดับ |
วัชพืชแย่งอาหาร ทำให้พืชชนิดอื่นไม่เจริญเติบโต |
ผักตบชวา |
อินโดนีเซีย |
เป็นไม้ประดับในสระน้ำ |
แหล่งน้ำตื้นเขินขึ้น อุปสรรคต่อการจราจรทางน้ำ สร้างปัญหาต่อการชลประทาน |
สรุปได้ว่า
แนวทางที่อาจช่วยลดปัญหาการแพร่กระจายของชนิดพันธุ์ต่างถิ่นคือ การพิจารณาถึงการนำไปใช้ประโยชน์ เช่น วัชพืชบางชนิดนำมาเป็นผักสด หรือ ประกอบอาหารรับประทานเช่น ใบอ่อนของผักตบชวา หญ้าขจรจบนำมาทำกระดาษ ผักตบชวานำมาทำของใช้ในบ้าน เช่น ตะกร้า ภาชนะต่างๆ หรือใช้ทำอาหารสัตว์ เป็นต้น
|