<< Go Back

1. เพื่อให้นักเรียนสามารถวิเคราะห์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าไม้ของประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 204-241
2. เพื่อให้นักเรียนสามารถสืบค้นข้อมูลและรวบรวมข่าวจากสื่อต่างๆ และนำมาอภิปรายร่วมกัน เกี่ยวกับการทำลายป่าไม้ การลักลอบตัดไม้ การใช้ทรัพยากรป่าไม้
3. เพื่อให้นักเรียนสามารถอภิปรายร่วมกันถึงผลกระทบจากการทำลายป่า ทำให้พื้นที่ป่าไม้ลดลง และเสนอแนวทาง ในการป้องกัน การทำลายป่าไม้ และอนุรักษ์ป่าไม้

1. ให้นักเรียนวิเคราะห์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าไม้ของประเทศไทย ปี พ.ศ. 204 - 241

พ.ศ. พื้นที่ป่าไม้(ล้านไร่) พื้นที่ป่าไม้(ร้อยละ)
204 171.02 3.33
219 124.01 38.67
242 100.48 33.33
229 92.77 28.93
234 8.44 26.64
238 82.18 2.62
241 81.07 2.28

ข้อมูลพื้นที่ป่าไม้ของประเทศไทย พ.ศ. 204 - 241

2. ร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับสภาพป่าไม้ และการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ พร้อมทั้งวิเคราะห์ปัญหา และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นได้
3. นำผลการอภิปรายมาสรุปร่วมกันและบันทึกผลการสรุป

ปี พ.ศ. 204-241 เนื้อที่ป่าลดลง 89.9 ล้านไร่ เฉลี่ยลดลงปีละ 2.43 ล้านไร่การเปลี่ยนแปลงเนื้อที่ป่าไม้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 204-241 พบว่าพื้นที่ป่าไม้ลดลง 89.9 ล้านไร่เฉลี่ยลดลงปีละ 2.43 ล้านไร่ ซึ่งถ้าเป็นอยู่อย่างนี้ต่อไปอีก แนวโน้มในอนาคตป่าไม้จะลดลงอีก เนื่องจากประชากรเพิ่มขึ้น จึงมีความต้องการทรัพยากรป่าไม้เพื่อนำมาใช้ประโยชน์เพิ่มมากขึ้นเช่นเดียวกัน ถ้าไม่มีการรณรงค์ปลูกป่าทดแทน หรือรณรงค์การใช้วัสดุอื่นทดแทนการใช้ไม้ หรือให้มีการอนุรักษ์ป่าไม้หรือปลูกป่าทดแทนเพิ่มขึ้น

สถานการณ์พื้นที่ป่าไม้ในภาคต่าง ๆ ยังมีปริมาณค่อนข้างน้อย เมื่อเทียบกับพื้นที่ของภาค โดยพบว่าภาคเหนือมีพื้นที่ป่าไม้มากที่สุดคือประมาณร้อยละ .88 ของพื้นที่ทั้งหมดของภาค ส่วนภาคอื่น ๆ มีพื้นที่ป่าไม้ไม่ถึงร้อยละ 0 ของพื้นที่ทั้งหมดของภาคโดยพบว่าภาคกลาง / ภาคตะวันออก / ตะวันตก มีพื้นที่ป่าไม้รองลงมาร้อยละ 29.63 ภาคใต้ร้อยละ 24.74 และภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยละ 1.82

เหตุที่พื้นที่ป่าไม้เพื่อการอนุรักษ์ในภาคเหนือมีมากกว่าภาคอื่น ๆ เพราะลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาสูง จึงไม่เหมาะแก่การเพาะปลูกและเป็นที่อยู่อาศัย หรือแถบภูเขาสูงมีผู้คนเข้าไปอาศัยอยู่น้อย และการคมนาคมค่อนข้างลำบาก ส่วนใหญ่จะมีพวกชนเผ่าน้อยกลุ่มต่างๆ ที่อาศัยอยู่เท่านั้น การลักลอบตัดไม้ออกมาจึงทำได้ค่อนข้างยาก ดังนั้นป่าจึงยังคงสภาพอยู่ได้ และเป็นแหล่งของต้นน้ำลำธารที่สำคัญอีกต่อไป

ผลกระทบจากการลดลงของพื้นที่ป่าไม้ในประเทศไทย
- ขาดแหล่งปัจจัยสี่
- เกิดน้ำท่วมฉับพลัน
- อากาศแปรปรวน
- หน้าดินขาดความอุดมสมบูรณ์
- สัตว์ป่าไม่มีที่อยู่อาศัย
- ทำให้เกิดปรากฏการณ์เรือนกระจกเพราะแก๊ส CO2 เพิ่มขึ้น
- ขาดแหล่งท่องเที่ยวและพักผ่อนหย่อนใจ

แนวทางการเพิ่มพื้นที่ป่าไม้ในประเทศไทย เช่น
1. การปลูกป่า อาจจะมีการรณรงค์ปลูกป่าในวันสำคัญต่าง ๆ ของประเทศมากขึ้น
2. กำหนดเขตพื้นที่อนุรักษ์ให้มากขึ้น และกำหนดบทลงโทษที่ชัดเจนและเด็ดขาด
3. ให้ความรู้กับประชาชนเกี่ยวกับเรื่องป่า ความสำคัญของป่า และผลกระทบที่เกิดขึ้นถ้าป่าถูกทำลายไป โดยยกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันเป็นหลัก เช่น เกิดอุทกภัยที่บ้านน้ำก้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ หรือเกิดอุทกภัยในจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นต้น

การจัดการทรัพยากรป่าไม้
ในเรื่องของความสำคัญของป่าไม้ และป่าไม้ถูกทำลายได้กล่าวอย่างละเอียดแล้ว ในตอนต้นในหัวข้อนี้น่าจะได้กล่าวเพิ่มเติมเรื่องป่าไม้ในส่วนต่างๆ ของโลก ว่ามีปัจจัยใดบ้างที่ทำให้ป่าไม้แตกต่างกันทั้งลักษณะ ความหนาแน่น ขนาด ความสูงและชนิดของพันธุ์ไม้

ปัจจัยที่ทำให้ป่าไม้แตกต่างกัน คือ
1. ลักษณะภูมิประเทศ
ลักษณะภูมิประเทศที่ตั้งอยู่ในบริเวณที่แตกต่างกัน จะเป็นตัวกำหนดลักษณะและชนิดของป่าไม้นั้นๆ เช่น บริเวณเขตศูนย์สูตร ที่มีอากาศร้อนชื้นจะพบป่าดิบชื้นในบริเวณเขตขั้วโลก จะพบป่าประเภท ป่าสน เป็นต้น  นอกจากนี้พบว่าความสูงจากระดับน้ำทะเล ก็มีส่วนในการทำให้ป่ามีลักษณะแตกต่างกัน เช่น ที่ระดับความสูงจากน้ำทะเลตั้งแต่ 800 เมตรขึ้นไป จะพบป่าประเภทป่าดิบเขา ป่าสนเขา

2. ลักษณะภูมิอากาศ
พบว่าอุณหภูมิและความชื้นเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่กำหนดลักษณะของป่าแต่ละประเภท เช่น
- ป่าดิบชื้น จะมีอุณหภูมิโดยเฉลี่ย 2-27 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 2,000 - 4,000มิลลิเมตรต่อปี
- ป่าผลัดใบในเขตร้อน มีอุณหภูมิแปรผันไปตามฤดู เช่น ฤดูร้อนจะมีความอบอุ่น และในฤดูหนาวอุณหภูมิจะต่ำ ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 70-1,00 มิลลิเมตรต่อปี
- ป่าสนเขาหรือป่าไทกา พบว่ามีฤดูหนาวค่อนข้างยาวนาน และอุณหภูมิติดลบ และมีช่วงฤดูร้อนสั้นๆ มีปริมาณฝนตกเล็กน้อย

3. ดิน
ดินมีส่วนในการกำหนดประเภทของป่า โดยพบว่าดินมีความอุดมสมบูรณ์ของธาตุอาหารสูงมักจะมีความเป็นกรด ซึ่งพบได้ในป่าดงดิบชื้น และในเขตทะเลทรายมักพบว่าดินไม่สามารถจะเก็บความชุ่มชื้นของน้ำในดินไว้ได้เลยจึงทำให้ประสิทธิภาพในการปลูกพืชลดลง พืชที่ขึ้นจึงเป็นพืชทนแล้งเท่านั้น นอกจากนี้ครูอาจให้ความรู้เพิ่มเติมแก่นักเรียนในรายละเอียดของชนิดป่าไม้ที่ปรากฏในส่วนต่าง ๆ ของโลก ดังนี้

ชนิดของป่าไม้ในโลก
ป่าไม้ที่ปรากฏในส่วนต่าง ๆ ของโลกแบ่งได้ 3 กลุ่มคือ
1. ป่าไม้เขตร้อน
2. ป่าไม้เขตอบอุ่น
3. ป่าไม้เขตหนาว

ป่าไม้เขตร้อน
1. ป่าดงดิบหรือป่าดิบเขา พบในเขตร้อนชื้นไม่มีการผลัดใบ ต้นสูงใหญ่ พบที่ลุ่มแม่น้ำแซร์ในแอฟริกา ลุ่มแม่น้ำอเมซอนในอเมริกาใต้ หมู่เกาะอินเดียตะวันออก และเขตเทือกเขาสูงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พันธุ์ไม้ที่พบมีหลากหลายชนิด
2. ป่ามรสุม พบในเขตมรสุมที่มีฤดูแล้งอย่างน้อยหนึ่งเดือน มีการผลัดใบ ต้นไม้มีขนาดค่อนข้างใหญ่ แต่ไม่หนาแน่น พบในไทย ลาว พม่า เวียดนาม กัมพูชา และอินเดีย ไม้ที่สำคัญคือ ไม้สัก
3. ป่าหนาม พบในเขตภูมิอากาศค่อนข้างแห้งแล้ง ใบขนาดเล็ก เป็นมัน มีหนามสลับฤดูแล้วผลัดใบเหลือแต่หนาม พบในที่ราบสูงบราซิล ทางตอนใต้ของแอฟริกา ที่ราบสูงเดคข่านในอินเดีย

ป่าไม้เขตอบอุ่น
พบในเขตที่มีลักษณะภูมิอากาศและชุ่มชื้น แบ่งออกได้ 3 ชนิดด้วยกันคือ
1. ป่าไม้อบอุ่นผลัดใบ เป็นป่าไม้ที่มีใบขนาดใหญ่และผลัดใบในช่วงฤดูหนาว ในฤดูร้อนต้นไม้จะเขียวชอุ่ม ลำต้นจะใหญ่และสูง พบทางตะวันออกของสหรัฐอเมริกาและจีน ทางตอนใต้ของชิลีและยุโรป
2. ป่าไม้อบอุ่นไม่ผลัดใบ มีใบเขียวชอุ่มตลอดปี แต่มีต้นไม้น้อยชนิด แต่ละชนิดมีจำนวนมากมีลำต้นเตี้ยและเล็ก แหล่งที่พบได้แก่ที่ราบสูงเอธิโอเปีย รอบทะเลสาบแทนแดนยิกาและทะเลสาบไนอัสซ่าในทวีปแอฟริกา ทางตะวันออกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกา และหมู่เกาะนิวซีแลนด์
3. ป่าเมดิเตอร์เรเนียน พบในเขตภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน เป็นหมู่ไม้ผสมกับป่าละเมาะต้นไม้จะเขียวชอุ่มตลอดปี แม้จะมีอากาศแห้งแล้งในฤดูร้อนก็ตาม สถานที่พบได้แก่กลุ่มประเทศรอบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ชายฝั่งตะวันตกตอนกลางของสหรัฐอเมริกา และชิลี ตอนใต้ของแอฟริกาและออสเตรเลีย

ป่าไม้เขตหนาว
พบในเขตภูมิอากาศอบอุ่นค่อนข้างหนาว ป่าชนิดนี้จะพบมากในซีกโลกเหนือเท่านั้นเป็นไม้เนื้ออ่อนเกือบทั้งหมด ลำต้นมีขนาดเล็กกว่าป่าไม้ในเขตร้อน ซึ่งบางทีเรียกว่าป่าสน ลำต้นตั้งตรงกิ่งสั้น ใบแหลม ไม่ทิ้งใบ และขึ้นเบียดเสียดกันอย่างหนาแน่นในรัสเซียเรียก ป่าไทกา แคนาดา เรียกป่าสนเหนือ

ป่าไม้ในประเทศไทยแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1. ป่าไม่ผลัดใบ ได้แก่ ป่าดิบเขา ป่าดิบชื้น ป่าดิบแล้ง ป่าชายเลน
2. ป่าผลัดใบ ได้แก่ ป่าเต็งรังหรือป่าแดง ป่าเบญจพรรณ

ป่าไม้มีส่วนช่วยในการป้องกันน้ำท่วมได้ คือในขณะที่ฝนตกหนัก น้ำฝนบางส่วนจะถูกต้นไม้ในป่าดูดซับเอาไว้ ทำให้ปริมาณน้ำที่ไหลตามลำน้ำลดลง ในขณะเดียวกันน้ำที่ไหลจากที่สูงจะถูกต้นไม้ช่วยชลอความเร็วของน้ำให้ช้าลง ช่วยลดการพังทลายของดิน และการเกิดน้ำป่าไหลหลากการอนุรักษ์ป่าไม้ทำได้โดยวิธีใดบ้าง

แนวทางการอนุรักษ์ป่าไม้มีดังนี้
1. ลดการตัดไม้ทำลายป่า
2. ช่วยกันปลูกป่าไม้เพิ่มขึ้น
3. ใช้ไม้อย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพ
4. ใช้วัสดุอื่นทดแทนการใช้ไม้โดยตรง

ถ้าป่าไม้ถูกทำลายจะเกิดผลกระทบ ดังนี้
1. แหล่งต้นน้ำลำธารลดลง ทำให้เกิดสภาพแห้งแล้ง ฝนไม่ตกตามฤดูกาล
2. สภาวะอากาศแปรปรวน เช่น ร้อนจัด หรือหนาวจัด ไม่เป็นไปตามฤดูกาล
3. เกิดน้ำท่วมฉับพลัน เนื่องจากน้ำป่าไหลบ่า
4. เกิดการพังทลายของดิน หน้าดินถูกทำลาย ทำให้ดินขาดความอุดมสมบูรณ์
. สัตว์ป่าไม่มีที่อยู่อาศัย
6. แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้นทำให้เกิดปรากฏการณ์เรือนกระจก
7. การหมุนเวียนของแร่ธาตุในระบบนิเวศหยุดชะงัก

สรุปได้ว่า
ป่าไม้ในประเทศไทยมีแนวโน้มที่จะลดลงเมื่อเปรียบเทียบกันอดีต ซึ่งสาเหตุของการลดลงของพื้นที่ป่าไม้ในประเทศไทย พบว่าเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น การลักลอบตัดไม้ทำลายป่า การเพิ่มขึ้นของประชากรทำให้ความต้องการปัจจัยสี่  เพื่อการดำรงชีวิตเพิ่มขึ้น จึงต้องการพื้นที่เพื่อการทำเกษตรกรรม และอุตสาหกรรมมากขึ้น การเกิดไฟไหม้ป่าทั้งที่เกิดขึ้นเองจากธรรมชาติ และเกิดจากมนุษย์เป็นผู้กระทำเป็นต้น เมื่อมีการทำลายทำให้พื้นที่ป่าลดน้อยลงแล้ว ยังมีผลกระทบอื่นๆตามมามากมาย ดังนั้นเราควรร่วมกันอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้


<< Go Back