<< Go Back

               1. เพื่อให้นักเรียนสามารถสืบค้นข้อมูลและรวบรวมข้อมูลคุณภาพของอากาศในประเทศไทยจากเว็บไซต์ และแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ
               2. เพื่อให้นักเรียนสามารถวิเคราะห์คุณภาพของอากาศจากข้อมูลที่ค้นคว้าได้
               3. เพื่อให้นักเรียนสามารถเปรียบเทียบคุณภาพของอากาศในภาคต่าง ๆ รวมทั้งในกรุงเทพมหานคร หรือจังหวัดที่นักเรียนอาศัยอยู่
               4. เพื่อให้นักเรียนสามารถวิเคราะห์ปัญหามลภาวะของอากาศและผลกระทบที่มีต่อมนุษย์
               5. เพื่อให้นักเรียนสามารถเสนอแนวทางแก้ไขผลกระทบดังกล่าว

               1. ให้นักเรียนค้นคว้าข้อมูลคุณภาพอากาศจากเว็บไซต์
                    -  http://www.pcd.go.th/AirQuality/Regional/defaultthai.cfm  ซึ่งได้รวบรวมข้อมูลคุณภาพอากาศของภาคต่างๆ ในประเทศไทยเอาไว้ และจากเว็บไซต์
                    -  http://www.pcd.go.th/AirQuality/bangkok/defaultthai.cfm  ซึ่งได้รวบรวมข้อมูลคุณภาพอากาศในเขตกรุงเทพมหานคร โดยให้นักเรียนนำข้อมูลมาวิเคราะห์ เปรียบเทียบคุณภาพของอากาศในภาคต่างๆ รวมทั้งกรุงเทพมหานครเทียบกับค่ามาตรฐาน
               2. ให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายในประเด็นต่อไปนี้
                    2.1 สภาพอากาศในแต่ละภาคเป็นอย่างไร ภาคใดมีปัญหามลพิษทางอากาศมากที่สุด และน่าจะเกิดจากสาเหตุใด
                    2.2 ปัญหามลพิษทางอากาศมีผลกระทบต่อคนในท้องถิ่นนั้นอย่างไร
                    2.3 นักเรียนมีแนวทางในการป้องกัน และแก้ไขคุณภาพอากาศได้อย่างไร

              ผลการทดลองที่ได้ คือ

ตารางที่ 1 ตัวอย่างแสดงคุณภาพอากาศในชุมชนบางแห่งในกรุงเทพมหานคร วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2548

 

สถานี ที่ตั้ง SO2 NO2 CO(1hr) CO(8hr) Ozone PM-10 AQI
บางขุนเทียน ทั่วไป 60.2 6.8 0.5 0.5 18.2 28.6 32.0
ดินแดง ริมถนน 8.3 25.0 1.5 1.5 9.3 41.2 51.0
ห้วยขวาง ทั่วไป 5.8 29.1 0.3 0.4 12.2 40.4 51.0
ลาดพร้าว ริมถนน 11.3 28.4 1.5 1.5 19.3 45.7 54.0
ยานนาววา ทั่วไป 8.7 23.6 0.3 0.4 12.2 40.4 50.0
ค่ามาตรฐาน   300 170 30 9 100 120 100

SO2 หน่วย : ส่วนในพันล้านส่วน (ppb,1/1,000,000,000) NO2 หน่วย : ส่วนในพันล้านส่วน (ppb,1/1,000,000,000)

CO2 หน่วย : ส่วนในล้านส่วน (ppm,1/1,000,000,000) Ozone หน่วย : ส่วนในพันล้านส่วน (ppb,1/1,000,000,000)

PM-10 หน่วย : ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (g/m)

สารมลพิษคิดที่ค่าเฉลี่ย 1 ชั่วโมง และฝุ่นขนาดเล็ก (PM-10) คิดที่ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง

PM-10 : ฝุ่นขนาดเล็ก (particulate matter) ที่มีอนุภาคเล็กกว่า 10 ไมโครเมตร (ข้อมูลดิบ)

AQI : ดัชนีคุณภาพอากาศ

ที่มา : กรมควบคุมมลพิษ  กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

สรุปได้ว่า   มวลสารที่ทำให้เกิดการปนเปื้อนในอากาศ แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ
               1. อนุภาคหรือฝุ่นละออง (particulate matter) เป็นมวลสารที่อยู่ในสภาพของแข็งหรือของเหลวที่อุณหภูมิและความดันปกติมีขนาด 0.1-2.0 ไมโครเมตร ซึ่งได้แก่ ฝุ่น (dust) ควัน (smoke) ไอควัน (fume) หมอก (fog) ละอองน้ำ (moist)
               2. ก๊าซและไอระเหย เป็นมวลสารที่อยู่ในสภาพก๊าซ ได้แก่ คาร์บอนมอนอกไซด์ออกไซด์ของกำมะถัน ออกไซด์ของไนโตรเจน ไฮโดรคาร์บอน คาร์บอนไดออกไซด์

แหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศแบ่งได้ 2 ลักษณะคือ

               1. แหล่งกำเนิดตามธรรมชาติ เช่น ภูเขาไฟระเบิด ทำให้เกิดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ไฟไหม้ป่าทำให้เกิดควันและก๊าซ CO2 ฝุ่นละอองของไฮโดรคาร์บอน การเน่าเปื่อยของพืชทำให้เกิดก๊าซมีเทน นอกจากนี้ยังมีละอองเรณูของดอกไม้ กัมมันตรังสีที่มีอยู่ตามธรรมชาติ อนุภาคสารต่าง ๆ จากดินที่ถูกพัดพาขึ้นไปแขวนลอยในอากาศ ฝุ่นละอองจากลมพายุก๊าซธรรมชาติแผ่นดินไหว
               2. แหล่งกำเนิดที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์
                    2.1 แหล่งกำเนิดที่เคลื่อนที่ได้ (mobile source) ได้แก่ การจราจร การคมนาคมซึ่งส่วนใหญ่มาจากการเผาไหม้เชื้อเพลิง
                    2.2 แหล่งกำเนิดที่อยู่กับที่ ได้แก่ โรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่ใช้เชื้อเพลิงเช่น น้ำมันต่าง ๆ ก๊าซต่าง ๆ รวมทั้งการปล่อยก๊าซและควันจากโรงงานด้วยการก่อสร้าง การระเบิดหิน การทำเหมืองแร่ แหล่งเกษตรกรรม การทิ้งสิ่งปฏิกูล


<< Go Back