<< Go Back

               1. เพื่อให้นักเรียนสามารถวิเคราะห์ข้อมูล แปลข้อมูล และนำข้อมูลมาเขียนกราฟได้
               2. เพื่อให้นักเรียนสามารถสืบค้นข้อมูล และอภิปรายผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเพิ่มจำนวนประชากรของประเทศไทย
               3. เพื่อให้นักเรียนสามารถเสนอแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น

               1. พิจารณาตารางแสดงจำนวนประชากรคนไทยในปี พ.ศ.2462-2544 แล้วนำเสนอข้อมูลในรูปของกราฟ

               2. ร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับการเพิ่มจำนวนประชากรคนไทยในประเด็น ต่อไปนี้
                   1.1 การเพิ่มของประชากรจากอดีตถึงปัจจุบันเป็นอย่างไร ช่วงใดมีการเพิ่มจำนวนประชากรมากที่สุดเพราะเหตุใด
                   1.2 ในช่วงระยะปี พ.ศ. 2533-2544 การเพิ่มจำนวนประชากรเป็นอย่างไร เพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น
                   1.3 การเพิ่มจำนวนประชากรมีผลต่อการขยายตัวของชุมชนเมือง เพื่อที่อยู่อาศัย การเกษตร อุตสาหกรรม อย่างไร
                   1.4 การเพิ่มจำนวนประชากรมีผลต่อปริมาณความต้องการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างไร และมีผลกระทบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อม ใดบ้างนักเรียนจะมีวิธีการจัดการทรัพยากรธรรมชาติได้อย่างไร

               ผลการทดลอง จากตาราง นำเสนอข้อมูลในรูปของกราฟได้ดังนี้

               จากอดีตถึงปัจจุบันประชากรมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น แต่ละช่วงมีการเพิ่มไม่เท่ากัน ช่วงที่เพิ่มมากที่สุดคือในปี พ.ศ. 2480-2490 เพราะการแพทย์และเทคโนโลยีต่างๆ เจริญก้าวหน้ามากขึ้นกว่าในอดีต
               ระยะปี พ.ศ. 2533-2544 เป็นเวลา 12 ปี ประชากรเพิ่มประมาณ 6 ล้านคนคิด เป็นร้อยละ 0.97 ต่อปี ซึ่งถือว่าอัตราการเพิ่มไม่มาก เนื่องจากประเทศไทยมีการรณรงค์การวางแผนครอบครัว ซึ่งได้ผลดียิ่ง
               เมื่อจำนวนประชากรเพิ่มก็ต้องมีการขยายตัวของชุมชนเมือง ต้องมีที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นให้เพียงพอต่อความต้องการของประชากร และต้องมีการขยายตัวในด้านการเกษตรและอุตสาหกรรม เพื่อเพิ่มปริมาณอาหาร เครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรคให้เพียงพอจะได้ไม่เกิดปัญหาความขาดแคลนได้
               ปัจจุบันจำนวนประชากรมนุษย์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ประกอบกับความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพิ่มมากขึ้น ทำให้เกิดการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและอุตสาหกรรมอย่างมาก ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนสะดวกสบายมากขึ้นเพราะมีเครื่องมือ เครื่องใช้ต่าง ๆ มากขึ้น และการพัฒนาในด้านต่าง ๆ ต้องใช้ทรัพยากรธรรมชาติมากขึ้น และใช้อย่างไม่มีขอบเขต ไม่มีการจัดการที่ดี ทำให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นพิษที่รุนแรงมากขึ้น วิธีจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน ได้แก่
               1. ลดการใช้พลังงาน หรือใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ แสวงหาแหล่งพลังงานทดแทน
               2. ลดปริมาณขยะในชุมชน ลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติประเภทที่ใช้แล้วหมดไปนำขยะที่สามารถรีไซเคิลกลับมาใช้ใหม่ หรือนำกลับมาผลิตใหม่
               3. สงวนและรักษาแหล่งทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้มากที่สุด

สรุปได้ว่า

               ในอดีตประเทศไทยจัดเป็นประเทศหนึ่งที่มีอัตราการเพิ่มขึ้นของประชากรค่อนข้างสูง โดยเฉลี่ย 3.2% ต่อปี แต่หลังจากปี พ.ศ. 2514 ประเทศไทยได้มีนโยบายแห่งชาติในการลดจำนวนการเจริญเติบโตของประชากร โดยพบว่าในสมัยนั้นโดยเฉลี่ยแต่ละครอบครัวจะมีบุตรจำนวนถึง 6.4 คน หลังจากนั้นอีก 15 ปีต่อมาในปี พ.ศ. 2529 อัตราการเจริญเติบโตของประชากรในประเทศไทยลดลงครึ่งหนึ่งมีอัตราเหลือเพียง 1.6%


<< Go Back