<< Go Back

               1. เพื่อให้นักเรียนสามารถทำการทดลองได้เหมาะสม ถูกต้องตามขั้นตอน
               2. เพื่อให้นักเรียนสามารถวิเคราะห์ แปลผล และสรุปผลการทดลองได้ถูกต้อง

               1. กรอบนับประชากรขนาด 50 x 50 ตารางเซนติเมตร

               2. เชือกพลาสติก หรือ เชือกฟางขนาดความยาวประมาณ 20 เมตร

               1. ใช้กรอบนับประชากร สุ่มตัวอย่างสิ่งมีชีวิตในสนามหญ้าภายในบริเวณโรงเรียน หรือบริเวณรอบๆ โรงเรียนที่ได้ไปสำรวจ แล้วทำการนับจำนวนสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ที่สำรวจพบ โดยทำการสุ่มอย่างน้อย 3 ครั้ง
                2. ใช้เชือกพลาสติกหรือเชือกฟางทำแปลงขึงในสนามบริเวณโรงเรียน หรือบริเวณที่จะทำการสำรวจโดยแต่ละกลุ่มใช้พื้นที่ขนาด 3 x 3 ตารางเมตร หรือ ขนาด 5 x 5 ตารางเมตร ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ จากนั้นทำการนับจำนวนสิ่งมีชีวิตทั้งพืช และสัตว์ที่พบในบริเวณนั้น โดยแต่ละกลุ่มอาจแบ่งพื้นที่ในแปลงออกเป็นพื้นที่ย่อยๆอีก 1x1 ตารางเมตร หรือ ขนาด 50 x 50 ตารางเซนติเมตร เพื่อให้สะดวกต่อการนับก็ได้ แล้วนำข้อมูลที่ได้มาร่วมกันอภิปราย - ความหนาแน่นของประชากรสิ่งมีชีวิตในบริเวณที่นักเรียนสำรวจนั้นเป็นอย่างไร และจากข้อมูลดังกล่าวนี้บอกอะไรเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมในท้องถิ่นของนักเรียนได้บ้าง

               การสุ่มตัวอย่าง เป็นวิธีหาความหนาแน่น ของประชากรในพื้นที่หนึ่ง โดยเก็บตัวอย่างมาแบบสุ่ม แล้วนับตัวอย่างทั้งหมด ซึ่งจะมีจำนวนเพียงเล็กน้อยจากประชากรทั้งหมด จากตัวอย่างที่สุ่มมาได้ เราสามารถหาความหนาแน่นของประชากรได้ทั้งหมดได้
               เก็บข้อมูลดิบที่นักเรียนจะต้องบันทึกทั้งชนิดของพืช และจำนวน เช่น

พื้นที่ 1x1

1. ต้นสัก จำนวน 1 ต้น
2. หญ้าคา จำนวน 10 ต้น
3. หญ้าละออง จำนวน 5 ต้น
4. ต้นลำไย จำนวน 1 ต้น
5. ต้นย่านาง จำนวน 1 เครือ

พื้นที่ 2x2

ต้นย่านาง จำนวน 1 ต้น
2. ต้นยาง จำนวน 1 ต้น
3. หญ้าคา จำนวน 8 ต้น
4. ต้นลำไย จำนวน 1 ต้น
ต้นขี้เหล็ก จำนวน 1 ต้น

หมายเหตุ

               - ถ้านักเรียนไม่ทราบชนิดของต้นไม้ให้แทนด้วยสัญลักษณ์ เช่น ต้นไม้ A /หญ้า B เป็นต้น -
               - หากพื้นที่ใดมีจำนวนมากนับได้ยากให้ใช้การกะประมาณ เช่นหญ้าบางบริเวณมีมากอาจใช้การประมาณจำนวน
สรุปได้ว่า

               จาการทดลองนั้นเราสามารถสังเกตจากความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตในบริเวณนั้น ถ้ามีสิ่งมีชีวิตจำนวนชนิดมากแสดงว่าบริเวณนั้นมีความอุดมสมบูรณ์



<< Go Back