<< Go Back

                 เพื่อให้นักเรียนสามารถสำรวจตรวจสอบการดูดกลืนแสงของสารสี

                
                1. ชุดการทดลองการดูดกลืนแสงของสารสี ดังภาพ ชุดการทดลองการการดูดกลืนแสงของสารสี
                
                2. หลอดทดลองขนาดกลาง 1 หลอด
                
                3. ขวดรูปชมพู่ขนาด 250 cm3 1 ใบ
                
                4. บีกเกอร์ขนาด 250 cm3   1 ใบ
                
                5. กระบอกตวงขนาด 100 cm3     1 อัน
                
                6. กรวยแก้ว     1 อัน
                
                7. กระดาษกรอง     1 แผ่น
                
                8. กรวยแยก   1 อัน
                
                9. แท่งแก้วคนสาร   1 อัน
                
                10. เครื่องชั่ง   1 เครื่อง
                
                11. โกร่ง   1 ชุด
                   
                12. ใบไม้ชนิดต่างๆ (เลือกใบที่มีหลายสี เช่น ว่านกาบหอย หัวใจม่วง ลิ้นกระบือ โกสน
                
                13. น้ำกลั่น
                
                14. เอทานอล 95 % ปริมาตร 50 cm3
                
                15. เฮกเซน หรือ ปิโตรเลียมอีเทอร์ (อย่างใดอย่างหนึ่ง) ปริมาตร 35 cm3

  1. สกัดสารสีในใบไม้
  2. นำใบไม้ชนิดใดชนิดหนึ่งล้างน้ำให้สะอาด ตัดให้เป็นชิ้นเล็กๆ
  3. ชั่งน้ำหนักใบไม้ที่ตัดไว้แล้วประมาณ 20 g ใช้โกร่งโขลกให้ละเอียด แล้วนำไปใส่ในขวดรูปชมพู่
  4. เติมเอทานอล 95 % ลงไป 50 cm3 และเฮกเซนหรือปิโตรเลียมอีเทอร์ (อย่างใดอย่างหนึ่ง) ลงไปอีก 35 % cm3   คนให้เข้ากัน ปิดฝาแล้วแช่ทิ้งไว้ประมาณ 15 นาที เขย่าขวดเป็นครั้งคราว
  5. กรองสารละลายที่สกัดได้ด้วยกระดาษกรองใส่ในขวดรูปชมพู่ ตั้งทิ้งไว้จนกระทั่งเห็นสารละลายแยกชั้นออกเป็น 2 ชั้น แล้วรินสารละลายแต่ละชั้นเก็บใส่ขวดหรือหลอดทดลองเพื่อใช้ทดลองต่อไป
  6. จัดชุดอุปกรณ์ดังภาพด้านล่าง เปิดสวิตซ์ไฟให้แสงส่องผ่านไปที่แผ่นเกรตติ้ง แสงที่กระทบแผ่นเกรตติ้งนี้จะทำให้เกิดเป็นสเปกตรัมหรือแถบสีรุ้งซึ่งสามารถมองเห็นได้จากจอรับแสง
  7. นำหลอดทดลองขนาดกลางใส่สารละลายที่สกัดได้แต่ละชั้นชนิดใดชนิดหนึ่ง ประมาณ 1 ใน 4 ของหลอด วางหลอดตรงด้านหน้าของแหล่งกำเนิดแสง ดังภาพ แล้วมองดูแถบสีของสเปกตรัมเปรียบเทียบกับการมองครั้งแรกจะสังเกตเห็นแถบหายไปหรือความกว้างของแถบสีแคบลง แถบสีใดที่หายไปหรือแคบลงแสดงว่าสารสีดูดกลืนแสงสีนั้นไว้ และสามารถเปรียบเทียบความยาวคลื่นของแถบสีนั้นได้จากภาพ

ภาพชุดการทดลองการดูดกลืนแสงของสารสี

  • เพราะเหตุใดจึงต้องสกัดสารมาจากใบก่อนที่จะนำไปทดสอบการดูดกลืนแสง
  • ใบไม้แต่ละชนิดมีสารสีเหลืองหรือแตกต่างกันอย่างไร
  • ถ้าใบไม้มีสารสีเป็นองค์ประกอบต่างกัน จะมีความสามารถในการดูดกลืนแสงได้เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร

ผลการทดลองที่ได้

  • ต้องมีการสกัดสารสีออกมาจากใบก่อนที่จะนำไปทดสอบการดูดกลืนแสง เพื่อให้สารสีที่อยู่ในใบอยู่ในสภาพสารละลาย       
  • ใบไม้แต่ละชนิดมีสารสีเหมือนกันแต่ปริมาณมากน้อยต่างกัน
  • ถ้าใบไม้มีองค์ประกอบตางกัน ความสามารถในการดูดกลืนแสงจะแตกต่างกัน แต่จากการทดลอง พบว่าความสามารถในการดูดกลืนแสงของใบไม้แต่ละชนิดใกล้เคียงกันแสดงว่าใบไม้มีสารสีซึ่งมีองค์ประกอบคล้ายคลึงกัน

สรุปผลได้ว่า เมื่อสกัดสารสีออกมาแล้วจะได้สีเขียวเข้มของสารสำจำพวกคลอโรฟิลล์ และเมื่อนำไปทดสอบความสามารถ ในการดูดกลืนแสง จะสังเกตเห็นความแตกต่างของแถบสเปกตรัมก่อนเริ่มทำการทดลอง หรือในขณะที่ทดลองได้ชัดเจน เนื่องจากแถบสเปกตรัมสีแดงกับสีน้ำเงินจะหายไป หรือแคบเข้า แสดงว่าสารสีจำพวกคลอโรฟิลล์ดูดกลืนแสงสีแดงและสีน้ำเงิน เพื่อนำไปใช้ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง

 

<< Go Back