1. เพื่อให้นักเรียนสามารถสำรวจตรวจสอบ และอธิบายความสัมพันธ์ของจำนวนใบ และความเข้มของแสงที่มีผลต่อการคายน้ำของพืช
2. เพื่อให้นักเรียนสามารถสืบค้น อภิปราย และอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างการคายน้ำกับการเลียงน้ำ
1. หลอดคะปิลลารีหรือปิเปตต์
2. ท่อพลาสติก
3. กิ่งไม้
4. วาสลีน
5. อ่างน้ำ และกล่องพลาสติก
6. โคมไฟ
7. ไม้บรรทัด
8. ชุดขาตั้ง
1. เสียบหลอดคะปิลลารีหรือปิเปตต์ ข้างหนึ่งใส่เข้าไปในท่อพลาสติก
2. นำกิ่งไม้ที่แช่ในน้ำมาตัดโคนออกอีกเล็กน้อย การตัดนี้จะต้องทำให้ผิวน้ำเพื่อมิให้มีฟองอากาศเกิดขึ้นในกิ่งไม้
3. เสียบกิ่งไม้เข้ากับท่อพลาสติกขณะที่อยู่ในน้ำดังภาพ กิ่งไม้นี้จะต้องกระชับพอดีกับท่อพลาสติก เพื่อไม่ให้อากาศเข้าไปได้ ควรทราบบริเวณรอยต่อด้วยวาสลินเพื่อป้องกันการรั่ว
4. ยกหลอดกคะปิลลารีขึ้นจากน้ำ ใช้กระดาษเยื่อซับน้ำจากปลายหลอดออกเล็กน้อยเพื่อให้มีฟองกาศ
5. หนีบหลอดคะปิลลารีให้ติดกับไม้บรรทัด เมื่อเตรียมเรียบร้อยแล้วจะมีลักษณะดังภาพ
6. วัดระยะที่ฟองอากาศเคลื่อนที่ไปโดยวัดจากจุดเริ่มต้นทุกๆ 3 นาที นานประมาณ 18 นาที บันทึกผล
7. เมื่อทำการทดลองข้อ 1-6 แล้วแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม
- กลุ่มที่ 1 ตั้งการทดลองเช่นเดียวกันครั้งแรก แต่เด็ดใบไม้ออกให้เหลือจำนวนใบเพียง ของจำนวนเดิม ใช้วาสลินทาตรงรอยเด็ดแล้วตั้งเครื่องมือไว้ที่เดิม วัดระยะที่ฟองอากาศเคลื่อนที่ไปเช่นเดียวกับข้อ 6
- กลุ่มที่ 2 ตั้งการทดลองเช่นเดียวกับครั้งแรก แต่มีโคมไฟตั้งอยู่ใกล้ๆ เพื่อให้แสงไฟส่องถูกใบอยู่ตลอดเวลา วัดระยะที่ฟองอากาศเคลื่อนที่เช่นเดียวกับข้อ 6
8. นำข้อมูลที่ได้จากข้อ 6 กับข้อมูลของกลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 2 มาเขียนกราฟเพื่อเปรียบเทียบอัตรา การเคลื่อนที่ของฟองอากาศเมื่อกิ่งไม้มีใบ มากกับมีใบน้อยและอัตราการเคลื่อนที่ของฟองอากาศ เมื่อใบไม้ได้รับความเข้มของแสงมากกับความเข้มของแสงน้อย
- นักเรียนทราบได้อย่างไรว่ามีการลำเลียงน้ำเกิดขึ้น
- จำนวนใบและความเข้มของแสงมีผลต่อการคายน้ำอย่างไร
- การคายน้ำน่าจะมีความสัมพันธ์กับการลำเลียงน้ำอย่างไร
ให้นักเรียนทำเครื่องหมายฟองอากาศที่จุดเริ่มต้นไว้ก่อน พร้อมทั้งดูเวลาด้วยว่าเป็นเวลาเท่าไร หลังจากนั้นกลับมาดูผลใหม่ว่าฟองอากาศเคลื่อนที่เป็นระยะทางเท่าไรให้ดูตัวเลขที่ไม้บรรทัด และดูเวลาที่มาสำรวจครั้งสุดท้าย เพื่อนำหาค่าอัตราการคายน้ำ
ผลการทดลองที่ได้
สรุปผลได้ว่า ดูจากฟองอากาศที่เคลื่อนที่ไปในทิศทางของกิ่งไม้ แสดงว่าใบมีการคายน้ำ เนื่องจากเมื่อพืชคายน้ำจะดึงน้ำ จากท่อลำเลียงในลำต้นพืชและน้ำในหลอดคะปิลลารี จะถูกดึงขึ้นไปแทนที่น้ำในท่อลำเลียงทำให้ฟองอากาศเคลื่อนที่เข้ามาใกล้กิ่งไม้
จำนวนใบและความเข้มของแสงมีผลต่อการคายน้ำ เนื่องจากถ้าจำนวนใบมากจะมีปากใบมาก และเมื่อมีความเข้มของแสงมากจะทำให้ปากใบเปิด พืชคายน้ำมาก
การคายน้ำมีความสัมพันธ์กับการลำเลียงน้ำในแง่ถ้าใบคายน้ำมากก็จะมีแรงดึงน้ำจากท่อลำเลียงในลำต้น ให้เคลื่อนมากตามท่อได้ตลอดเวลา เพื่อไปทดแทนน้ำในใบที่คายออกไป ดังนั้นถ้าพืชคายน้ำมากพืชก็จะดูดน้ำมามากด้วย
|