1. เพื่อให้นักเรียนสามารถสำรวจ ตรวจสอบจำนวนของปากใบที่บริเวณผิวใบด้านล่างและผิวใบด้านบน
2. เพื่อให้นักเรียนสามารถสืบค้น อภิปราย และอธิบาย ลักษณะเซลล์คุม ปากใบ และเซลล์เอพิเดอร์มิส
1. ใบไม้ชนิดต่างๆ
2. ใบมีดโกน
3. พู่กัน เข็มเขี่ย จานเพาะเชื้อ และหลอดหยด
4. สไลด์และกระจกปิดสไลด์
5. กล้องจุลทรรศน์
1. นำใบไม้สด เช่น ใบชบา ว่านกาบหอย หัวใจม่วง ใบเงินใบทอง ใบขึ้นฉ่าย มาฉีกตามแนวทแยง ให้เห็นเยื่อเอพิเดอร์มีสด้านล่างเป็นแผ่นบางๆ
2. วางส่วนของใบที่มีเยื่อเอพิเดอร์มิสด้านล่างลงบนหยดน้ำบนสไลด์ พยายามทำให้เยื่อเอพิเดอร์มิสแผ่เป็นแผ่นบางๆ อย่าให้ทับซ้อนกัน
3. ใช้ใบมีดโกนตัดเฉพาะส่วนที่บางใสแล้วปิดด้วยกระจกปิดสไลด์
4. บันทึกภาพจากกล้องจุลทรรศน์
5. ทำการทดลองเช่นเดียวกับข้อ 1-4 แต่เปลี่ยนเป็นเอพิเดอร์มิสด้านบน
6. ศึกษาจำนวนปากใบบริเวณเอพิเดอร์มิสด้านบน เปรียบเทียบกับจำนวนปากใบบริเวณเอพิเดอร์มิสด้านบน เปรียบเทียบกับจำนวนปากใบบริเวณเอพิเดอร์มิสด้านล่าง
- เซลล์คุมแตกต่างจากเซลล์อื่นๆ ในชั้นเอพิเดอร์มิสอย่างไร
- ความหนาแน่นของปากใบที่เอพิเดอร์มิสด้านบน และเอพิเดอร์มิสล้างแตกต่างกันหรือไม่ ความหนาแน่นของปากใบบอกอะไรแก่นักเรียน
ข้อเสนอแนะ ใบไม้บางชนิดอาจฉีกยาก ดังนั้นอาจใช้น้ำยาทาเล็บชนิดไม่มีสีป้ายด้านล่างของใบพืชทิ้งไว้ประมาณ 5 นาที ลอกออกนำไปวางบนหยดน้ำบนสไลด์ปิดด้วยกระจกปิดสไลด์ นำไปส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์นักเรียนอาจเปรียบเทียบปากใบพืชชนิดเดียวกันที่อยู่กลางแจ้งกับอยู่ในที่ร่ม
ผลการทดลองที่ได้
เซลล์คุมเป็นเซลล์เอพิเดอร์มิสที่เปลี่ยนแปลงตามรูปร่างไปทำหน้าที่เฉพาะอย่าง จะเกิดเป็นคู่ๆ มีรูปร่างโค้งคล้ายเมล็ดถั่ว 2 อัน มาแตะติดกันทางด้านเว้า ทำให้เกิดเป็นช่องตรงกลางเรียกช่องนี้ว่า รูปากใบ ส่วนภายในเซลล์คุมมีคลอโรพลาสต์ แต่เซลล์เอพิเดอร์มิสทั่วๆ ไปไม่มีคลอโรพลาสต์และจะมีลักษณะค่อนข้างเหลี่ยม หรือบางเซลล์มีลักษณะค่อนข้างกลม มีรอยหยัก เอพิเดอร์มิสบางเซลล์เปลี่ยนแปลงไปเป็นขน
ความหนาแน่นของปากใบเอพิเดอร์มิสด้านบน และเอพิเดอร์มิสด้านล่าง ขึ้นอยู่กับชนิดของพืชที่นำมาศึกษา ถ้าเป็นพืชบกโดยทั่วๆ ไป มีจำนวนปากใบอยู่ที่ผิวใบด้านล่างมากกว่าผิวใบด้านบน เช่น ชบา ส่วนพืชน้ำที่มีใบปริ่มน้ำ เช่น บัวสาย มีปากใบที่ผิวด้านบน ด้านล่างไม่มีปากใบ ส่วนพืชที่เจริญใต้น้ำ เช่น สาหร่ายหางกระรอก จะไม่มีปากใบ แต่สามารถแลกเปลี่ยนแก๊สได้ทางลำต้น ส่วนความหนาแน่นของปากใบในพืชบกบ่งบอกถึงอัตราการแลกเปลี่ยนแก๊ส และการคายน้ำของพืช และยังบอกถึงสภาพแวดล้อมที่พืชอาศัยอยู่ เช่น พืชที่ขึ้นในที่ชุ่มชื่นจะมีจำนวนปากใบมากกว่าพืชที่ขึ้นในที่แห้งแล้ง
สรุปผลได้ว่า เซลล์ ชั้นเอพิเดอร์มิส ( epidermis ) เป็นเซลล์ชั้นนอกสุดซึ่งมีอยู่ทั้งทางด้านบนและทางด้านล่างมีชื่อว่าเอ พิเดอร์มิสด้าบบนและเอพิเดอร์มิสด้านล่างตามลำดับ เซลล์เหล่านี้มักมีรูปร่างเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ภายในเซลล์ไม่มีม็ดคลอโรพลาสต์และจะพบเซลล์คุม ( guard cell ) อยู่เป็นคู่ๆ ภายในเซลล์คุมมีคลอโรพลาสต์อยู่ด้วย ระหว่างเซลล์คุมทั้ง 2 เป็นปากใบ ( stoma ) ซึ่งเป็นทางที่ก๊าซและไอน้ำผ่านเข้าออก เซลล์คุมนี้เป็นเซลล์ของชั้นเอพิเดอร์มิสที่เปลี่ยนแปลงไปตามทำหน้าที่พิเศษ
|