ลำต้น คือ ส่วนของพืชที่เจริญเติบโตขึ้นสู่อากาศและทำหน้าที่หลักเป็นโครงสร้างค้ำจุน และลำเลียงสาร
ลักษณะสำคัญของต้น
1.ลำต้นเจริญเติบโตสู่อากาศต้านแรงดึงดูดโลก
2.ลำต้นมี ข้อ ปล้อง ตา
3.ลำต้นมีคลอโรฟิลล์
หน้าที่ของลำต้น
ทำหน้าที่ชูกิ่ง ก้าน ใบ และดอก ลำเลียงน้ำและอาหารไปยังส่วนต่างๆ ของพืช และทำหน้าที่สะสมอาหาร เช่น อ้อย เผือก ขิง ข่า
ส่วนประกอบของลำต้น
1.ปลายยอด เป็นบริเวณที่มีการเจริญเติบโต เป็นส่วนที่ทำให้ลำต้นขยายขนาดทั้งความยาวและความกว้าง
2.ตา เป็นโครงสร้างเล็กๆ ที่ยอด หรือที่ซอกใบจะเจริญเป็นกิ่ง หรือดอกไม้
3.กิ่ง เป็นส่วนที่เจริญแตกออกมาจากลำต้น
4.ข้อ เป็นบริเวณลำต้นที่มีใบ เห็นรอยต่อเป็นระยะๆ
5.ปล้อง เป็นบริเวณลำต้นที่อยู่ระหว่างข้อ 2 ข้อ
ประเภทของลำต้น
ลำต้นแบ่งได้เป็น 2 ประเภทตามตำแหน่งที่อยู่คือ ลำต้นเหนือดิน(Aerial stem) และ ลำต้นใต้ดิน (Underground stem)
ลำต้นเหนือดิน (Aerial stem)
จำแนกตามลักษณะของลำต้นได้เป็น 3 ชนิด
1. ต้นไม้ใหญ่(tree) หรือไม้ยืนต้น
2. ต้นไม้พุ่ม (shrub)
3. ต้นไม้ล้มลุก (herb)
ลำต้นเหนือดินที่เปลี่ยนแปลงไปทำหน้าที่พิเศษ
ลำต้นเหนือดินของพืชหลายชนิดอาจเปลี่ยนแปลงรูปร่างไปทำหน้าที่พิเศษซึ่งอาจจำแนกออกเป็นชนิดต่างๆ ดังต่อไปนี้
1. ครีพพิง สเต็ม (creeping stem)
เป็นลำต้นที่ทอดหรือเลื้อยขนานไปตามผิวดินหรือน้ำ ทั้งนี้เพราะลำต้นอ่อนไม่สามารถตั้งตรงอยู่ได้ตามข้อมักมีรากงอกออกมาแล้วแทงลงไปในดินเพื่อช่วยยึดลำต้น ให้แน่นอยู่กับที่ได้ แขนงที่แยกไปตามพื้นดินหรือพื้นน้ำดังกล่าวนั้น เรียกว่า stolon(สโตลอน) หรือ Runner (รันเนอร์) ได้แก่ ผักบุ้ง ผักกะเฉด ผักตบชวา แตงโมฟักทอง และ สเตอเบอรี่
2. ไคลบบิง สเต็ม ( Climbing stem)
เป็นลำต้นที่เลื้อยหรือไต่ขึ้นที่สูง พืชพวกนี้มักมีลำต้นอ่อนเช่นเดียวกับพวกแรก แต่ถ้ามีหลักหรือต้นไม้ที่มีลำต้นตรง อยู่ใกล้ๆมันอาจจะไต่ขึ้น ที่สูงด้วยวิธีต่างๆดังนั้นจึงจำแนก climbing stem ออกเป็นชนิดต่างๆตามลักษณะของการไต่ได้ดังนี้
2.1 ทวินนิง สเต็ม (twining stem) เป็นลำต้นที่ไต่ขึ้นที่สูงโดยใช้ลำต้นพันหลักเป็นเกลียวไปเช่น ต้นถั่วต้น บอระเพ็ด และ เถาวัลย์ต่างๆ
2.2 มือเกาะ (tendril stem)
เป็นลำต้นที่ดัดแปลงไปเป็นมือเกาะ(tendril) สำหรับพันหลักเพื่อไต่ขึ้นที่สูง ส่วนของเทนดริลจะบิดเป็นเกลียวคล้ายลวดสปริงเพื่อให้ยืดหยุ่นเมื่อลมพัดยอดเอนไปมา เทนดริลก็จะยืดและหดได้ เช่น ต้นองุ่น บวบ น้ำเต้า ฟักทอง แตงกวา
* หมายเหตุ *
เทนดริลอาจจะเป็นใบที่เปลี่ยน มาก็ได้แต่จะทราบว่าเป็นใบหรือลำต้นนั้นต้องศึกษาถึงต้นกำเนิดและตำแหน่งที่งอกออกมา เช่น ถ้า งอกออกตรงซอกใบก็แสดงว่ามาจากลำต้น หรือถ้าหากมีลักษณะเป็นข้อปล้องก็แสดงว่า มาจากลำต้นเหมือนกัน
2.3 รูท ไคลบบิง (root climbing)
เป็นลำต้นที่ไต่ขึ้นที่สูงโดยใช้รากที่งอกออกมาตามข้อยึดกับหลักหรือต้นไม้ เช่น ต้นพริกไทย ต้นพลู และพลูด่าง
2.4 หนาม (stem spine)
เป็นลำต้นที่เปลี่ยนแปลงไปเป็นหนามรวมทั้งขอเกี่ยว(hook) สำหรับไต่ขึ้นที่สูง และป้องกันอันตรายได้ด้วย เช่น เฟื่องฟ้า มะนาว มะกรูดพวกส้มต่างๆ ไผ่ และไมยราบ ต้นกระดังงา
*****หนามของพืชบางชนิดอาจเปลี่ยนแปลงมาจากใบก็ได้ มีวิธีสังเกตุแบบเดียวกับเทนดริล
ลำต้นใต้ดิน (Undergroud stem)
สามารถจำแนกได้ 4 ชนิด
1. แง่ง หรือเหง้า หรือ ไรโซม (Rhizome)
มักอยู่ขนานกับผิวดิน มีข้อและปล้องเห็นได้ชัดเจน ตามข้อมีใบที่เปลี่ยนแปลงมาเป็นสีน้ำตาลใบนี้ไม่มีคลอโรฟิลมักเรียกว่าใบเกล็ด ห่อหุ้มตาเอาไว้ภายใน ตาเหล่านี้อาจแตกแขนงเป็นลำต้นที่อยู่ใต้ดินหรือ แตกเป็นใบเป็นมัดขึ้นมาเหนือดิน ลำต้นชนิดนี้ถ้ามีการสะสมอาหารไว้มากก็จะอวบอ้วนขึ้น เช่น ขมิ้น ขิง
2. ทูเบอะ (Tuber)
เป็นลำต้นใต้ดินที่เติบโตมาจากปลายไรโซม ประกอบด้วยปล้องประมาณ 3-4 ปล้องเท่านั้นตามข้อไม่มีใบเกล็ดและรากมีอาหารสะสมอยู่มาก
จึงทำให้อวบอ้วนกว่าไรโซมตรงที่อยู่ของตาจะไม่อ้วนขึ้นมาด้วยจึงเห็นตาบุ๋มลงเช่นหัวมันฝรั่งหัวมันมือเสือมันกลอย
3. บัลบ (bulb)
เป็นลำต้นที่ตั้งตรงอาจตั้งตรงพ้นดินขึ้นมาบ้างเป็นลำต้นเล็กๆมีปล้องสั้นมากตามปล้องมีใบเกล็ดห่อหุ้มลำต้นเอาไว้ จนเห็นเป็นหัวขึ้นมา อาหารจะสะสม ในใบเกล็ด แต่ในลำต้นจะไม่มีอาหารสะสม ตอนล่างของลำต้นจะมีรากฝอย งอกออกมาเป็นเส้นเล็กๆเช่น หัวหอม กระเทียม และ พลับพลึง
4. คอร์ม (Corm)
เป็นลำต้นใต้ดินที่ตั้งตรงเหมือนกับ บัลบ แต่จะมีอาหารละสมอยู่ในลำต้น แทนที่จะสะสมไว้ในใบเกล็ด จึงทำให้ลำต้นอ้วนมากเห็นข้อได้ชัดเจน กว่าบัลบ ตามข้อมีใบเกล็ดบางๆมาห่อหุ้ม มีตางอกออกตามข้อเป็นใบสู่อากาศ หรือ เป็นลำต้นใต้ดินต่อไปเช่นเผือกซ่อนกลิ่นฝรั่ง
https://benjaporn079.wordpress.com/2014/01/03/หน้าที่ของลำต้น/
http://www.nana-bio.com/e-learning/plant%20organ/stem02.html
|