|
|
|
การแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส
การแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส เป็นการแบ่งเซลล์ร่างกาย (somatic cell) ในกระบวนการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส เริ่มต้นจากเซลล์เดิม 1 เซลล์ ที่มีจำนวนโครโมโซม 2 ชุด หรือดิพลอยด์ (diploid) เมื่อผ่านกระบวนการแบ่งเซลล์จนสมบูรณ์ จะได้เซลล์ใหม่ 2 เซลล์ ที่มีโครโมโซม จำนวย 2 ชุดเท่าเดิม และมีโครงสร้างของดีเอ็นเอเหมือนเดิมทุกประการ ดังนั้นดีเอ็นเอจากทุกเซลล์ในร่างกายจากทุกเนื้อเยื่อจึงเหมือนกัน การแบ่งเซลล์ประกอบด้วย 2 ช่วงระยะคือ ช่วงอินเตอร์เฟส (interphase) และ ไมโทซิส วัฏจักรของเซลล์ประกอบด้วยขั้นตอน 2 ขั้นตอน คือ
1) ระยะอินเตอร์เฟส (interphase) เป็นระยะที่เซลล์เตรียมตัวให้พรอ้มก่อนที่จะแบ่งนิวเคลียสและไซโทพลาซึม เซลล์ในระยะนี้ มีนิวเคลียสขนาดใหญ่ และเห็นนิวคลีโอลัสชัดเจนเมื่อย้อมสี แบ่งเป็นระยะย่อยได้ 3 ระยะ คือ
- ระยะก่อนสร้าง DNA หรือระยะ จี1
- ระยะสร้าง DNA หรือระยะเอส
- ระยะหลังสร้าง DNA หรือระยะ จี2
2) ระยะที่มีการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส (mitotic phase หรือ M phase) เป็นระยะที่มีการแบ่งนิวเคลียส เกิดขึ้นในช่วงสั้นๆ แล้วตามด้วยการแบ่งของไซโทพลาซึม การแบ่งนิวเคลียสแบบไมโทซิส อาจแบ่งได้เป็น 4 ระยะคือ
- ระยะโพรเฟส (prophase) เป็นระยะที่นิวเคลียสยังมีเยื่อหุ้มอยู่
- ระยะเมทาเฟส (metaphase) เป็นระยะที่เยื่อหุ้มนิวเคลียสสลายตัว
- ระยะแอนาเฟส (anaphase) เป็นระยะที่โครโมโซมแยกกันเป็น 2 กลุ่ม
- ระยะเทโลเฟส (telophase) เกิดการแบ่งของไซโทพลาซึมขึ้น
1. ระยะอินเตอร์เฟส (interphase) เซลล์มีเมตาโบลิซึมสูงมาก นิวเคลียสขยายใหญ่ เห็นนิวคลีโอลัส (nucleolus) ชัดเจน ในนิวเคลียสมีโครมาทิน (chromatin) เป็นเส้นใยบาง ๆ สานกันเป็นร่างแห ระยะอินเตอร์เฟสแบ่งย่อยได้เป็น 3 ระยะคือ
1.1 ระยะ G1 หรือระยะพักที่ 1 (First gap phase) ก่อนสร้าง DNA มีการสะสมสารพวกเอ็นไซม์ไว้มาก ซึ่งจำเป็นสำหรับการสังเคราะห์ DNA ใช้เวลา 30-40% ของวัฎจักรเซลล์
1.2 ระยะ S เป็นระยะที่มีการสร้าง DNA หรือจำลองโครโมโซมเพิ่มขึ้นมาอีก 1 ชุด (chromosome duplication) แต่ละโครโมโซมประกอบด้วย 2 โครมาติดเชื่อมติดกัน เรียกตำแหน่งที่ติดกันนี้ว่า เซนโทรเมียร์ (Centromere) หรือ คิเนโทคอร์ (kinetochore) ใช้เวลา 30-50% ของวัฎจักรเซลล์
1.3 ระยะ G2 มีการสร้างสิ่งที่จำเป็นในการแบ่งเซลล์ เช่น RNA DNA และโปรตีนเพิ่มขึ้น ใช้เวลา 10-20% ของวัฎจักรเซลล์
2. ระยะโปรเฟส(prophase) โครมาติดจะหดสั้น เห็นเป็นแท่งชัดเจนจึงเรียกใหม่ว่า โครโมโซม และมีส่วนติดกันตรงตำแหน่งเซนโตรเมียร์(centromere) เยื่อหุ้มนิวเคลียวและนิวคลีโอลัสหายไปเซนตริโอลัสหายไปเซนตริโอลเคลื่อนไป 2 ข้างของเซลล์และสร้างไมโตติกสปินเดิล (mitoticspindle) ไปเกาะที่เซนโตรเมียร์
3. ระยะเมตาเฟส (metaphase) โครโมโซมจะเคลื่อนตัวไปเรียงตามแนวกึ่งกลางของเซลล์ (equatorial plate) มองเห็นโครโมโซมชัดเจน สามารถนับจำนวนโครโมโซมและศึกษาความแตกต่างของลักษณะโครโมโซมได้ชัดเจน
4. ระยะแอนาเฟส (anaphase) โครมาติด 2 เส้นที่เคยอยู่ด้วยกันจะแยกจากกันไปยังขั้วตรงข้ามโดยมีสายใยสปินเดิลช่วยดึงเซนโตรเมียร์ ที่แบ่งครึ่งออกจากกันเป็นระยะที่ใช้เวลาสั้นที่สุดเมื่อเทียบกับระยะอื่นๆ
5. ระยะเทโลเฟส (telophase) โครโมโซมลูก daughter chromosome) จะไปรวมอยู่ที่ขั้วตรงข้ามของเซลล์ สายใยสปินเดิลจะสลายตัว เยื่อหุ้มนิวเคลียสและนิวคลีโอลัสเริ่มปรากฏ โครโมโซมคลายตัวเป็นเส้นยาวพันกัน เมื่อการแบ่งนิวเคลียสเสร็จสิ้นแล้ว เซลล์จะมีการแบ่งไซโตพลาสซึมต่อไป ในกรณีของเซลล์สัตว์ไซโตพลาสซึมจะคอดเข้าไปในบริเวณกลางเซลล์จนแยกออกเป็น 2 เซลล์ ส่วนในเซลล์พืชจะมีการสร้างเซลล์เพลต (cell plate) ขึ้นกลางเซลล์และเจริญออกไปจนถึงเยื่อหุ้มเซลล์และผนังเซลล์เดิม ช่วงระยะเวลาที่เซลล์หนึ่ง ๆ เข้าสู่ระยะอินเตอร์เฟสจนกระทั่งสิ้นสุดการแบ่งเซลล์ เรียกว่า หนึ่งวัฏจักรของเซลล์ (1 cell cycle)
https://sites.google.com/site/nanoonnaka/home/kar-baeng-sell-baeb-tang/kar-baeng-se
|