<< Go Back

1. เพื่อให้นักเรียนสามารถวางแผน ออกแบบและสร้างระบบนิเวศจำลอง
2. เพื่อให้นักเรียนสามารถสังเกต รวบรวมข้อมูล และอธิบายความสัมพันธ์ในระบบนิเวศจำลอง

1. เพื่อให้นักเรียนสามารถสังเกตการเคลื่อนไหวของอวัยวะที่เกิดจากการทำงานของข้อต่อ
2. เพื่อให้นักเรียนสามารถจำแนกชนิดของข้อต่อโดยใช้เกณฑ์กำหนดขึ้นเอง

1. ใช้มือหนึ่งจับโคลนนิ้วชี้ให้แน่นกระดกปลายนิ้วไปมาดังภาพ ก. สังเกตลักษณะทิศทางการเคลื่อนไหวของปลายนิ้ว บันทึกผล
2. ใช้มือขวาจับเหนือข้อศอกแขนซ้ายให้แน่นและเคลื่อนส่วนปลายแขนไปมาดังภาพ ข. สังเกตลักษณะทิศทางเคลื่อนไหวของปลายแขน บันทึกผล
3. ให้นักเรียนหมุนแขนไปมา สังเกตลักษณะทิศทางการเคลื่อนไหวของแขน บันทึกผล
4. ให้นักเรียนเคลื่อนไหวข้อต่อบริเวณอื่นๆ เช่น หัวเข่า ศีรษะ สังเกตลักษณะทิศทางการเคลื่อนไหว บันทึกผล

- ทุกๆ ส่วนของร่างกายที่ทอลองมีขอบเขตในการเคลื่อนไหวเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
- นักเรียนคิดว่าสิ่งที่จำกัดขอบเขตในการเคลื่อนไหวของร่างกายส่วนที่ทดลองคืออะไร จากการทดลองนักเรียนแบ่งชนิดของข้อต่อได้เป็นกี่ชนิด อะไรบ้าง และใช้อะไรเป็นเกณฑ์
- เมื่อทดลองเคลื่อนไหว นิ้วเท้า หัวเข่าและต้นขา นักเรียนบอกได้หรือไม่ว่า ข้อต่อตรงส่วนนั้นเป็นข้อต่อชนิดใด และส่วนใดบ้างที่เคลื่อนไหวไม่ได้
- การเคลื่อนไหวของกระดูกหัวเข่า กระดูกโคนขา และกระดูกเชิงกรานเหมือนกัน หรือไม่อย่างไร

ข้อควรระวัง  การตรวจสอบการเคลื่อนไหวของอวัยวะดังกล่าว ควรทำด้วยความระมัดระวัง โดยเฉพาะบริเวณศีรษะ

- ข้อต่อบริเวณต่างๆ มีขอบเขตในการเคลื่อนไหวไปในทิศทางแตกตางกัน บางส่วนเคลื่อนไหวได้เพียงทิศทางเดียวหรือสองทิศทางเท่านั้น

- สิ่งที่จำกัดขอบเขตในการเคลื่อนไหวของร่างกายส่วนที่ทดลองคือ ลักษณะการเคลื่อนที่ของข้อต่อ บางบริเวณเคลื่อนไหวได้ในทิศทางเดียว บางบริเวณเคลื่อนไหวได้สองทิศทาง บางบริเวณเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระหลายทิศทางและบางบริเวณเคลื่อนไหวไม่ได้ หรือเคลื่อนไหวได้เพียงเล็กน้อย ดังนั้นเกณฑ์ที่ใช้แบ่งข้อต่อ จึงเป็นทิศทางการเคลื่อนที่ของกระดูกที่ข้อต่อนั้น

- ข้อต่อของนิ้วเท้าเป็นแบบบานพับ ข้อต่อของหัวเข่าเป็นแบบบานพับ ข้อต่อของต้นขาเป็นแบบลูกกลมในเบ้ากระดูก ข้อต่อในร่างกายบริเวณที่เคลื่อนไหวไม่ได้ คือ ข้อต่อจองกระดูกสันหลัง ข้อต่อของกระดูกฝ่ามือ

- การเคลื่อนไหวของกระดูกหัวเข่าและกระดูกโคนขาสามารถเคลื่อนไหวในลักษณะหมุนได้รอบ เนื่องจากข้อต่อเป็นแบบลูกกลมในเบ้ากระดูก ส่วนกระดูกเชิงกรานไม่สามารถเคลื่อนไหวได้

สรุปผลการทดลอง

ข้อต่อช่วยให้อวัยวะต่างๆ ที่ช่วยในการเคลื่อนไหวสามารถเคลื่อนไหวได้สะดวก การเคลื่อนไหวของร่างกายบางส่วนสามารถเคลื่อนไหวได้หลายทิศทาง บางส่วนเคลื่อนไหวได้เฉพาะการเหยียดและงอเข้าเท่านั้น ที่เป็นเช่นนี้เนื่องจากการเชื่อมต่อกันของกระดูกตรงข้อต่อนั้นมีหลายลักษณะ ข้อต่อบางแห่งมีลักษณะการเชื่อมต่อเหมือนบานพับ ทำให้การเคลื่อนไหวตรงส่วนนั้นจำกัดได้เพียงทิศทางเดียวเช่นกับการเคลื่อนไหวของบานพับประตู หรือหน้าต่าง เช่น ข้อต่อบริเวณข้อศอก เป็นต้น

 

    << Go Back