1. เพื่อให้นักเรียนสามารถสังเกตโครงสร้างที่ใช้ในการเคลื่อนที่ของไส้เดือนดิน
ให้นักเรียนสังเกตโครงสร้างและลักษณะการเคลื่อนที่ของไส้เดือนดินบนแผ่นกระจกใสแล้วบันทึกผล ผลการทดลองที่ได้ - ลักษณะการเคลื่อนที่ของไส้เดือนดิน จะคล้ายระลอกคลื่นโดยเริ่มจากบริเวนปลายต้านหน้าสุดมาสู่ปลายด้านท้ายสุดท้ายของลำตัว ลักษณะการจัดเรียงตัวของกล้ามเนื้อที่ผนังลำตัวของไส้เดือนดิน จากภาพ หรือใช้ภาพภาคตัดขวางแสดงกล้ามเนื้อตามยาวดัง ภาพ ขณะที่ไส้เดือนเคลื่อนที่จะใช้เดือยที่ยื่นออกมาจากผนังลำตัวจิกดินเอาไว้เพื่อไม่ให้ส่วนท้ายของลำตัวเคลื่อนที่ กล้ามเนื้อวงจะหดตัว และกล้ามเนื้อตามยาวจะคล้ายตัวทำให้ลำตัวยืดยาวออก จากนั้นไส้เดือนดินจะใช้เดือยกับริมฝีปากยึดส่วนหน้าของตัวไว้กับดิน เมื่อกล้ามเนื้อตามยาวหดตัว กล้ามเนื้อวงคลายตัวจะดึงส่วนท้ายของตัวให้เคลื่อนที่มาข้างหน้าได้ การหดตัวและคลายตัวของกล้ามเนื้อทั้งสองชุดจะต่อเนื่องกันคล้ายระลอกคลื่น ขณะที่มีการหดตัวและคลายตัวสลับกันของกล้ามเนื้อวงและกล้ามเนื้อตามยาว ทำให้ของเหลวในช่องลำตัวที่อยู่ระหว่างผนังกั้นปล้องต่างๆ เกิดแรงดันของของเหลวในช่องลำตัว ทำให้ลำตัวยืดและหดสลับกันเป็นการช่วยในการเคลื่อนที่อีกด้วย สรุปผลการทดลอง การเคลื่อนที่ของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังบางชนิดอาศัยแรงดันน้ำเข้ามาช่วยผลักดันให้เคลื่อนที่ เช่น แมงกะพรุนอาศัยการหดตัว ของเนื้อเยื่อขอบกระดิ่ง หมึกอาศัยการหดตัวของกล้ามเนื้อรอบท่อไซฟอน ส่วนดาวทะเลอาศัยการหดตัวของกล้ามเนื้อแอมพูลลาและทิวบ์ฟีท
|