1. เพื่อให้นักเรียนสามารถสืบค้น รวบรวมข้อมูลประชากรมนุษย์ของประเทศไทยและของโลก
2. เพื่อให้นักเรียนสามารถวิเคราะห์แนวโน้มการเพิ่มขึ้นของประชากรมนุษย์ เปรียบเทียบกับการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ
ข้อมูลเกี่ยวกับเกี่ยวกับประชากรของประเทศและของโลกที่ได้จากแหล่งต่างๆ เช่น จากวีดิทัศน์ เครือข่ายข้อมูล ฐานข้อมูล เอกสารสิ่งพิมพ์
ตอนที่ 1 แนวโน้มการเพิ่มประชากรมนุษย์ของโลก
1. ศึกษาจำนวนประชากรมนุษย์ของโลกจากเครือข่ายข้อมูล เช่น
- http://www.overpopulation.org/
- http://geography.about.com/od/obtainpopulationdata/Population_Data.htm
- http://www.census.gov/ หรือ เอกสารอื่นๆ
2. วิเคราะห์แนวโน้มของการเพิ่มประชากรมนุษย์ของโลกจากภาพ
3. อภิปราย - จำนวนประชากรมนุษย์ของโลกมีแนวโน้มเป็นอย่างไร และจะเกิดผลอย่างไรต่อสภาพแวดล้อมและการดำรงชีวิตของประชากรมนุษย์
4. นำเสนอผลการทำกิจกรรม
ตอนที่ 2 แนวโน้มการเพิ่มประชากรมนุษย์ของประเทศไทย
ศึกษาจำนวนประชากรคนไทย ในช่วง พ.ศ. 2534-2545 จากตาราง 1.1
ตาราง 1.1 แสดงจำนวนประชากรคนไทย ระหว่างปี พ.ศ. 2534-2545
1. จากข้อมูลในตาราง ให้นักเรียนเขียนกราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนประชากรคนไทยกับ พ.ศ.
2. รวบรวมข้อมูลจากเอกสาร จากการสัมภาษณ์คนในชุมชนเกี่ยวกับจำนวนประชากรในชุมชนของตนเอง และสภาพชุมชนที่เปลี่ยนแปลงไปในช่วง 10 ปี วิเคราะห์ข้อมูลและอภิปรายในประเด็นต่างๆ ดังนี้
- จากกราฟในข้อ 1 การเพิ่มจำนวนประชากรคนไทยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมามีแนวโน้มอย่างไร
- ถ้าการเพิ่มประชากรยังเป็นไปในอัตราเดียวกับที่ปรากฏในกราฟ ในปี พ.ศ. 2550 ประเทศไทย จะมีประชากรเท่าไร
- การเพิ่มประชากรในประเทศไทยเป็นไปในทิศทางเดียวกับการเพิ่มประชากรมนุษย์ในโลกที่วิเคราะห์ในกิจกรรมตอนที่ 1 หรือไม่ อย่างไร
- จากการวิเคราะห์สภาพชุมชนของตนเองในอดีตกับปัจจุบัน เปรียบเทียบกับข้อมูลการเพิ่มจำนวนประชากร การเปลี่ยนแปลงจำนวนประชากรมีผลต่อการขยายตัวของชุมชนอย่างไร และส่งผลต่ออะไรอีกบ้าง
3. นำเสนอผลการทำกิจกรรม
ผลการทดลองที่ได้จกาการค้นคว้าข้อมูล
ตอนที่ 1
- จำนวนประชากรมนุษย์โลกที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่งผลต่อสภาพแวดล้อมและการดำรงชีวิตของประชากรมนุษย์ เนื่องจากทรัพยากรมีปริมาณจำกัด ทำให้เกิดการขาดแคลนปัจจัยในการดำรงชีวิต เช่น พื้นที่อาศัย ปริมาณอาหารมนุษย์จะดิ้นรนแก่งแย่งต่อสู้กันมากขึ้น เกิดการเอารัดเอาเปรียบในสังคมจนชีวิตความเป็นอยู่ขาดความสงบสุข อย่างไรก็ตามการแข่งขันก็อาจส่งผลในทางบวกได้ด้วยเช่นกัน โดยก่อให้เกิดการพัฒนาทางเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว ผู้สอนควรส่งเสริมให้ผู้เรียนอภิปรายอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นจากความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีในอนาคต เช่น อาจมีอาหารเม็ดชนิดที่ 1 เม็ดให้พลังงานเทียบเท่าพลังงานที่ได้จากการบริโภคอาหาร 1 มื้อในปัจจุบัน ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องมีพื้นที่เพื่อเป็นแหล่งอาหาร แต่ขณะเดียวกันต้องมีโรงงานเพื่อผลิตอาหารเม็ด ซึ่งอาจก่อผลเสียอื่นที่ไม่คาดหวังตามมา รูปแบบที่อยู่อาศัยอาจต่างจากปัจจุบัน แต่ก็อาจก่อปัญหาอื่นๆ ตามมาด้วยเช่นกันชี้ให้ผู้เรียนตะหนักว่า การเปลี่ยนแปลงใดๆ ก็ตามจะส่งผลทั้งทางบวกและทางลบเสมอ โดยเฉพาะในทางลบอาจก่อให้เกิดความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินส่งผลต่อความเป็นอยู่และจิตใจมากกว่าที่เราจะคาดคิดถึง ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดในปัจจุบันคือทุกคนควรช่วยกันปกป้องดูแลรักษาสภาพแวดล้อม และใช้ทรัพยากรธรรมชาติเท่าที่จำเป็น
ตอนที่ 2
- จากกราฟในข้อ 1 การเพิ่มจำนวนประชากรคนไทยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
- ถ้าการเพิ่มประชากรยังเป็นไปในแนวเดียวกับที่ปรากฏในกราฟ ในปี พ.ศ. 2550 ประเทศไทยจะมีประชากรประมาณ 66 ล้านคน
- การเพิ่มประชากรคนไทยเป็นไปในแนวเดียวกับการเพิ่มประชากรมนุษย์ในโลกที่วิเคราะห์ในกิจกรรมตอนที่ 1 คือมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
- จากการวิเคราะห์สภาพชุมชนบางแห่ง ในอดีตกับปัจจุบัน เปรียบเทียบกับข้อมูลการเพิ่มจำนวนประชากร พบว่าการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรทำให้ชุมชนขยายออกไปมากขึ้น ส่งผลให้พื้นที่ที่เคยเป็นสภาพแวดล้อมธรรมชาติหรือแหล่งที่เป็นพื้นที่การเกษตรลดจำนวนลง เนื่องจากถูกเปลี่ยนแปลงเป็นที่อยู่อาศัย ท้องถิ่นอื่นอาจมีข้อมูลที่แตกต่างจากนี้
สรุปผลการทดลอง
ตอนที่ 1 การเพิ่มประชากรมนุษย์ของโลกจะทำให้มีการใช้ทรัพยากร เพื่อการดำรงชีวิตมากขึ้น เช่น ต้องการอาหาร น้ำ อากาศ ที่อยู่ รวมทั้งปัจจัยเป็นในการพัฒนาคุณภาพชีวิต
ตอนที่ 2 กิจกรรมของมนุษย์หลายๆ กิจกรรม ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศ จนอาจทำให้ความหลากหลายทางชีวภาพลดลง
|