<< Go Back

ยูเรเมีย (Uremia) อาการเป็นพิษในเลือด

ยูเรเมีย (Uremia) อาการเป็นพิษในเลือด (Lisa)
ยูเรเมีย คืออาการเป็นพิษในเลือดที่เกิดจากสาร อันได้แก่ ยูเรีย ครีทินิน หรือกรดยูริกซึ่งเป็นสารที่ควรจะขับถายออกทางปัสสาวะ แต่กลับไปตกค้างอยู่ในเลือด โดยเฉพาะอย่างยิ่งสารยูเรีย อาการเป็นพิษดังกล่าวมักเป็นผลสืบเนี่องมาจากการป่วยเป็นโรคไตในขั้นร้ายแรง ทำให้ร่างกายไม่สามารถขับยูเรียออกได้ นอกจากนี้ยังส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการผิดปกติทางสมอง ร่างกายอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน ปวดศีรษะ กระสับกระส่าย กล้ามเนื้อกระตุก และอาจชักหมดสติได้

หมายถึง ภาวะที่ภูมิคุ้มกันของร่างกายตอบสนองต่อการติดเชื้อ หรือสารพิษของเชื้อโรค ทำให้เกิดการอักเสบทั่วร่างกาย การอักเสบดังกล่าวจะทำให้อวัยวะต่างๆเสียหาย ระบบแข็งตัวของเลือดผิดปรกติ เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆลดลง อาหารและออกซิเจนไปเลี้ยงเนื้อเยื่อลดลง ในรายที่เป็นรุนแรงความดันโลหิตจะต่ำเรียกว่า Septic shock ซึ่งอันตรายมาก

คำนิยามโลหิตเป็นพิษ
Sepsis หมายถึงภาวะที่มีการอักเสบทั่วร่างกายซึ่งเกิดจากการที่ภูมิของร่างกายตอบสนองต่อการติดเชื้อ และสารพิษที่เกิดขึ้น
Septicemia หมายถึงภาวะที่เชื้อเข้าไปอยู่ในกระแสเลือด แหล่งที่ติดเชื้ออาจจะมาจากผิวหนัง ทางเดินหายใจ ทางเดินอาหาร ทางเดินปัสสาวะ
Severe sepsis หมายถึงภาวะ sepsis ที่มีภาวะอวัยวะทำงานบกพร่อง เช่น ตับ ปอด หัวใจ ประสาท
Septic shock เป็นภาวะ sepsis ที่มีความดันโลหิตต่ำแม้ว่าจะได้รับสารน้ำอย่างเพียงพอ

สาเหตุ
หากพิจารณาจากตัวเชื้อที่ให้เกิดโรคติดเชื้อเข้ากระแสโลหิตแบ่งตามความถี่ดังนี้
Gram negative bacteria เวลาย้อมสีจะติดสีแดง
Gram positive bacteria เวลาย้อมสีจะติดสีน้ำเงิน

ผู้ป่วยที่ติดเชื้อเข้ากระแสเลือดประมาณร้อยละ 40 เป็นแบคทีเรียรูปแท่งชนิดแกรมลบ (Gram negative bacteria เวลาย้อมสีจะติดสีแดง) เชื้อชนิดนี้จะพบได้ในทางเดินอาหาร ทางเดินปัสสาวะ ทางเดินหายใจ ผู้ป่วยที่ติดเชื้อเข้ากระแสเลือดประมาณร้อยละประมาณ 30 เป็นแบคทีเรียรูปกลมชนิดแกรมบวก (Gram positive bacteria)เป็นเชื้อที่พบตามผิวหนัง ระบบหายใจ ผู้ป่วยที่ติดเชื้อเข้ากระแสเลือดประมาณร้อยละ5 เกิดจากแบคทีเรียชนิดก่อภาวะนี้ได้บ่อย เช่น H.influenzae, Neisseria meningitidis, Streptococcus pyogenes และ S.pneumoniae ผู้ป่วยที่ติดเชื้อเข้ากระแสเลือดประมาณร้อยละ 6 เกิดจากเชื้อรา ผู้ป่วยที่ติดเชื้อเข้ากระแสเลือดประมาณร้อยละ 16 เกิดจากเชื้อหลายชนิด หากจะพิจารณาจากตำแหน่งที่เกิดติดเชื้อจะแบ่งออกเป็น

อวัยวะในช่องท้อง ได้แก่ ไส้ติงอักเสบ หรือไส้ติ่งแตก ช่องท้องอักเสบ ลำไส้ทะลุ ถุงน้ำดีอักเสบหรือเป็นหนอง ลำไส้อักเสบ ตับอ่อนอักเสบ
ระบบประสาท ได้แก่เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ไขสันหลังอักเสบ
ระบบหายใจ ได้แก่ ปอดบวม ไซนัสอักเสบ
ผิวหนัง ได้แก่ แผลติดเชื้อ แผลเบาหวาน ฝี หนองที่ผิวหนัง ผื่นแพ้ที่มีการติดเชื้อ ทางเดินปัสสาวะ ได้แก่ กรวยไตอักเสบ

ผู้ที่มีโรคหรือภาวะดังต่อไปนี้จะเกิดโรคติดเชื้อเข้ากระแสโลหิตได้ง่าย
ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอได้แก่ ผู้ที่ป่วยเป็นโรคเอดส์ ผู้ที่เป็นมะเร็ง หรือได้รับยากดภูมิคุ้มกัน เช่นผู้ที่ผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะ ผู้ที่รับประทานยา steroid เรื้อรัง
- ทารก
- ผู้สูงอายุ
- ผู้ที่นอนโรงพยาบาลนานต้องใส่สายต่างๆ เช่นสายสวนปัสสาวะ สายสำหรับป้อนอาหาร ท่อช่วยหายใจ
- ผู้ป่วยโรคเบาหวาน
- ผู้ที่มีแผลที่ผิวหนัง เช่นแพ้ยา หรือน้ำร้อนลวก


http://www.slowlife.company/ยูเรเมีย-uremia-อาการเป็นพิษใ/

    << Go Back