<< Go Back

1. เพื่อให้นักเรียนสามารถทำการทดลองเพื่อศึกษาอัตราการคายน้ำของพืชโดยใช้เครื่องมือชุดโพโตมิเตอร์อย่างง่าย
2. เพื่อให้นักเรียนสามารถเขียนกราฟแสดงความสัมพันธ์ของข้อมูลที่ได้จากการทดลอง
3. เพื่อให้นักเรียนสามารถอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างการคายน้ำกับการลำเลียงน้ำของพืช
4. เพื่อให้นักเรียนสามารถออกแบบการทดลองเพื่อศึกษาปัจจัยอื่นที่มีผลต่อการคายน้ำและการลำเลียงน้ำของพืช


1. เครื่องมือชุดโพโตมิเตอร์อย่างง่าย 1 ชุด

2. อ่างน้ำ หรือบีกเกอร์    1 ใบ

3. วาสลีน   10 g

4. มีด    1   เล่ม

5. กิ่งไม้    1 กิ่ง
 

1. เสียบปลายข้างหนึ่งของหลอดคะปิลลารีหรือหลอดแก้วรูเล็กที่มีความยาว 40 cm เข้าไปใน ท่อพลาสติก แล้วแช่ลงในอ่างน้ำให้น้ำเข้าจนเต็มหลอดคะปิลลารี
2. นำกิ่งไม้ที่แช่ในน้ำมาตัดโคนออกเล็กน้อยการตัดนี้จะต้องทำใต้ผิวน้ำ เพื่อมิให้มีฟองอากาศเกิดขึ้นในกิ่ง
3. เสียบกิ่งไม้กับท่อพลาสติกขณะที่อยู่ในน้ำ โดยเลือกขนาดของกิ่งไม้ให้กระชับพอดีกับท่อพลาสติก เพื่อไม่ให้อากาศเข้าไปได้ ควรทาบริเวณรอยต่อนี้ด้วยวาสลินเพื่อกันการรั่ว
4. ยกหลอดคะปิลลารีขึ้นจากน้ำ ใช้กระดาษเยื่อซับน้ำจากปลายออกเล็กน้อยเพื่อให้มีฟองอากาศเกิดขึ้น แล้วจุ่มปลายหลอดลงในอ่างน้ำหรือบีกเกอร์ที่บรรจุน้ำสี
5. หนีบหลอดคะปิลลารีให้ติดกับไม้บรรทัดเครื่องมือที่เตรียมเสร็จแล้วเป็นชุดโพโตมิเตอร์อย่างง่าย มีลักษณะดังภาพ


โพโตมิเตอร์อย่างง่าย

6. ตั้งเครื่องมือไว้ในห้องปฏิบัติการตรงที่ได้รับแสงแดด วัดระยะที่น้ำสีหรือฟองอากาศเคลื่อนที่ไป จากจุดเริ่มต้นทุกๆ 1 นาที อย่างน้อย 15 นาที
7. นำข้อมูลการเคลื่อนที่ของน้ำมาเขียนกราฟ

ผลการทดลองที่ได้   คือ
1. ระยะทางการเคลื่อนที่ของฟองอากาศหรือน้ำสีในช่วงเวลาต่างๆ ได้ผลดังแสดงในตาราง

2. กราฟระหว่างระยะทางที่ฟองอากาศเคลื่อนที่ (mm) กับเวลา (s)

สรุปผลการทดลอง

1. เมื่อสังเกตจากการเคลื่อนที่ของน้ำในหลอดแก้วตั้งแต่เริ่มต้นจนครบ 30 นาที แสดงให้เห็นว่ามีการลำเลียงน้ำจากโคนกิ่งเข้าสู่เซลล์ต่างๆ เริ่มตั้งแต่เซลล์ที่ปลายของกิ่งไม้จนถึงเซลล์ที่ใบ การที่เซลล์บริเวณโคนกิ่งลำเลียงน้ำได้ต่อเนื่องตลอดเวลาทดลอง แสดงว่าน่าจะมีน้ำบางส่วนระเหยออกไปจากใบเพื่อรักษาดุลยภาพของน้ำในพืชไว้

2. การคายน้ำที่ใบและการลำเลียงน้ำเข้าสู่ต้นพืช มีความสัมพันธ์กันเมื่อพืชคายน้ำออกทางปากใบ จะทำให้เกิดแรงดึงระหว่างโมเลกุลของน้ำในเซลล์ที่อยู่ติด กับปากใบกับโมเลกุลของน้ำในเซลล์ถัดไป และเกิดต่อเนื่องเช่นนี้จนถึงเซลล์บริเวณรากที่จะดึงน้ำจากดินหรือจากแหล่งน้ำเข้าสู่พืช จึงกล่าวได้ว่ากระบวนการดูดน้ำ ของรากมีความสัมพันธ์กับการคายน้ำที่ปากใบของพืช เพื่อรักษาดุลยภาพน้ำภายในเซลล์ทุกเซลล์ในพืชเพื่อใช้ในกิจกรรมต่างๆ ของชีวิต

3. ปัจจัยที่อาจมีผลต่อการคายน้ำของพืช มีทั้งปัจจัยที่เกี่ยวกับชนิดและลักษณะของพืช เช่น จำนวนของใบ ความหนาบางของใบ ความอ่อนแก่ของใบ ส่วนปัจจัยภายนอก ได้แก่ ความเข้มของแสง ความชื้น กระแสลม อุณหภูมิ และสภาพแวดล้อม เป็นต้น

    << Go Back