<< Go Back

การต่อหลอดไฟแบบอนุกรม

กระแสไฟฟ้าที่ผ่านหลอดไฟแต่ละหลอดจะเท่ากันหรือใกล้เคียงกัน และเมื่อหลอดหนึ่งหลอดใดชำรุด หลอดไฟที่เหลือจะดับหมด วงจรอนุกรม คือ วงจรที่ประกอบด้วยความต้านทานตั้งแต่ 2 ตัว ขึ้นไปต่อเรียงกัน โดยมีทางเดินของกระแสทางเดินของกระแสไฟฟ้าไหลผ่านทางเดียวไม่ได้แยกไหลไปส่วนอื่นของวงจร การต่อวงจรอนุกรมทำได้โดยนำขั้วต่อสายข้างหนึ่งของเครื่องใช้ไฟฟ้าตัวที่ 1 ไปต่อเข้ากับขั้วต่อของเครื่องใช้ไฟฟ้าตัวที่ 2 นำขั้วต่ออีกข้างหนึ่งของตัวที่ 2 ไปต่อเข้ากับขั้วต่อสายตัวที่ 3 ต่ออย่างนี้ไปเรื่อย ๆ  จนกว่าจะครบเสร็จแล้วนำขั้วต่อสายที่แล้วนำขั้วต่อสายที่เหลือของเครื่องใช้ไฟฟ้าตัวสุดท้ายมาต่อเข้ากับปุ่มหนึ่งของแหล่งกำเนิด เราก็ได้วงจรครบเพื่อใช้งาน การต่อวงจรอนุกรมจะใช้หลอดไฟฟ้าหรือความต้านทาน หรืออุปกรณ์ไฟฟ้ามาต่อกันเข้าแบบอนุกรมแล้วต่อเข้ากับขั้วแหล่งกำเนิดแรงดันไฟฟ้าหรือแบตเตอรี่ เพื่อให้เกิดการไหลของกระแสในทิศทางเดียว อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต่อแบบอนุกรม เช่นวงจรจุดไส้หลอดวิทยุ ซึ่งเมื่อไส้หลอดใดหลอดหนึ่งดับ อุปกรณ์จะไม่ทำงานและเตารีดไฟฟ้า ซึ่งมีฟิวส์ สวิตช์ และ Thermostat ต่อกันแบบอนุกรมเป็นต้น

ที่มารูปภาพ : https://sites.google.com/site/jakkrapanrungsriwong/hnwy-thi-5/5-3

คุณสมบัติที่สำคัญของวงจรอนุกรม

1.กระแสไฟฟ้าจะไหลผ่านเท่ากันตลอดวงจร
2.แรงดันไฟฟ้าตกคร่อมส่วนต่าง ๆ ของวงจร เมื่อนำมารวมกันแล้วจะเท่ากับแรงดันไฟฟ้าที่แหล่งกำเนิด
3.ความต้านทานรวมของวงจร จะมีค่าเท่ากับผลรวมของความต้านทานแต่ละตัวในวงจรรวมกัน

ข้อสังเกต

1.การต่อหลอดไฟฟ้าที่ใช้ประดับต้นไม้หรือตามงานวัด จะต่อแบบอนุกรม เนื่องจากใช้หลอดไฟเล็ก ๆ เป็นจำนวนมาก ทำให้ความต้านทานมากขึ้น สามารถใช้กับไฟบ้าน 220 โวลต์ได้
2.ขั้วหลอดไฟบางหลอดถ้าเป็นสนิมจะทำให้ค่ากระแสไฟฟ้าที่จัดได้อาจไม่เท่ากัน
3.ในการวัดค่ากระแสไฟฟ้าไม่ควรปล่อยให้กระแสไฟฟ้าผ่านวงจรนาน เพราะจะทำให้ไส้หลอดร้อน ความต้านทานของหลอดไฟจะเพิ่มมากขึ้น ทำให้วัดค่าของกระแสไฟฟ้าได้น้อยลง

 

http://my.dek-d.com/dollapa/writer/viewlongc.php?id=499781&chapter=20

<< Go Back