1. ทดลองและสรุปได้ว่าพื้นที่ที่แสงตกตรงจะมีอุณหภูมิสูงกว่าพื้นที่ที่ได้รับแสงตกเฉียง
2. สร้างแบบจำลองเพื่ออธิบายการเกิดฤดู
3. สร้างแบบจำลองเพื่ออธิบายการเกิดข้างขึ้น-ข้างแรม
4. สังเกตดวงจันทร์ข้างขึ้น-ข้างแรม เพื่อเปรียบเทียบกับการสร้างแบบจำลอง
การทดลองที่ 1
1. ใช้กระดาษโปสเตอร์สีดำขนาด 5 เซนติเมตร x 10 เซนติเมตร พับครึ่งสอดกระเปาะเทอร์มอมิเตอร์ลงไป แล้วเย็บด้วยที่เย็บกระดาษให้แน่น ทำซ้ำจนได้เทอร์มอมิเตอร์ที่หุ้มด้วยกระดาษสีดำเหมือนๆ กัน 3 อัน
2. วางลูกโลกให้ขั้วเหนือและขั้วใต้ห่างจากโคมไฟเท่ากัน นำเทอร์มอมิเตอร์ที่หุ้มด้วยกระดาษสีดำ ติดบนลูกโลกด้วยเทปใสที่บริเวณศูนย์สูตรเรียงลำดับขึ้นไปอีก 2 ตำแหน่ง สังเกตและบันทึกอุณหภูมิของเทอร์มอมิเตอร์ทั้ง 3 อันทุกๆ 10 นาที เป็นเวลา 30 นาที สรุปและบันทึกผล
การทดลองที่ 2
1. ติดลูกปิงปองบนปลายไม้บรรทัดด้วยเทปใส
2. วาดรูปวงกลมลงบนกระดาษแล้วลากเส้นผ่านศูนย์กลาง 4 เส้น ตัดกันเป็นมุมเท่าๆ กัน กำหนดตำแหน่ง 1 ถึง 8 ดังภาพ
3. ทดลองในที่มืดโดยยืนที่จุดศูนย์กลางวงกลมหันหน้าไปตำแหน่งที่ 1 ซึ่งตรงกับแหล่งกำเนิดแสง ยื่นไม้บรรทัดที่ติดลูกปิงปองออกไปข้างหน้าสุดแขนในระดับสูงกว่าศรีษะ ให้ลูกปิงปองไปข้างหน้าสุดแขนในระดับสูงกว่าศีรษะ ให้ลูกปิงปองอยู่ระหว่างผู้สังเกตกับแหล่งกำเนิดแสง
4. สังเกตลูกปิงปอง บันทึกผลโดยการแรเงาส่วนมืดด้วยดินสอดำให้ชัดเจน
5. ทำเช่นเดิมโดยผู้สังเกตหมุนตัวเปลี่ยนตำแหน่งจากตำแหน่งที่ 1 ถึง 8 และบันทึกผลโดยการแรงเงาส่วนมืดจนครบทุกตำแหน่ง สรุปและบันทึกผล
บริเวณที่รับแสงตรงมีพื้นที่รับแสงน้อยกว่าบริเวณที่รับแสงเฉียง ทำให้พลังงานต่อหนึ่งหน่วยพื้นที่มีค่ามากกว่า ดังนั้นบริเวณที่ได้รับแสงตรง จะมีอุณหภูมิสูงกว่าการที่แสงอาทิตย์ตก กระทบบนโลก มีทั้งแสงตรง และแสงเฉียงทำให้พื้นผิวโลก บริเวณต่างๆ มีอุณหภูมิไม่เท่ากัน
การที่ดวงจันทร์โคจรรอบโลก ขณะที่ดวงจันทร์เปลี่ยนตำแหน่งไป คนบนโลกจะเห็นส่วนสว่าง ที่ดวงจันทร์สะท้อนแสง จากดวงอาทิตย์ได้แตกต่างกัน ช่วงเวลาที่มองเห็นส่วนสว่างของดวงจันทร์ค่อยๆ เพิ่มขึ้นจนเต็มดวงเรียกกว่า “ข้างขึ้น” จากนั้นจะมองเห็นส่วนสว่างของดวงจันทร์จะค่อยๆ ลดลงจนมือทั้งดวงเรียกช่วงนี้ว่า “ข้างแรม” จะหมุนเวียนเป็นวัฏจักร
|