<< Go Back

 
           1. ทดลองและสรุปสาเหตุที่ทำให้หินเกิดการผุพังอยู่กับที่โดยกระบวนการทางกายภาพ
           2. ทดลองและอธิบายสาเหตุที่ทำให้หินเกิดการผุพังอยู่กับที่โดยกระบวนการทางเคมี

      

1. ฝอยเหล็ก

2. ภาชนะ

3.ดิน 4.กรดเกลือ
5. หินปูน  
 


           ตอนที่ 1
           1. นำฝอยเหล็กมา 4 ก้อนขนาดเท่าๆ กันโดย ก้อนที่ 1 เป็นฝอยเหล็กแห้ง ก้อนที่ 2 ฝอยเหล็กชุบน้ำ ก้อนที่ 3 ฝอยเหล็กแช่อยู่ในน้ำ ก้อนที่ 4 ฝอยเหล็กฝังอยู่ในดินที่ชุ่มชื้น
           2. วางชุดการทดลองไว้ 1 - 2 วัน สังเกตและบันทึกผล
           ตอนที่ 2
           1. หยดกรดเกลือเจือจางลงบนหินปูน สังเกตและบันทึกผล
           2. ใช้ผ้าสีเข้าเช็ดหินบริเวณที่หยดกรดเกลือ และสังเกตที่ผ้าและที่หิน

ตอนที่ 1 ผลที่สังเกตได้

การทดลอง ผลการสังเกต
1. ฝอยเหล็กแห้งอยู่ในอากาศ 1. ไม่เกิดการเปลี่ยนแปลง
2. ฝอยเหล็กชื้นอยู่ในอากาศ 2. บริเวณด้านนอกฝอยเหล็กเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแดง และฝอยเหล็กผุออกมา เป็นผงสีน้ำตาลเป็นจำนวนมาก
3. ฝอยเหล็กแช่อยู่ในน้ำ 3. มีผงสีน้ำตาลเกิดขึ้นในน้ำ ฝอยเหล็กส่วนมากยังไม่ผุ
4. ฝอยเหล็กฝังอยู่ในดินชื้น 4. ฝอยเหล็กบริเวณด้านนอกเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล และเปื่อยยุ่ยเล็กน้อย

          สรุปได้ว่า เมื่อฝอยเหล็กชื้นจะเกิดปฏิกิริยายาเคมีกับแก๊สออกซิเจนในอากาศ เกิดเป็นสนิมเหล็ก ทำให้ฝอยเหล็กผุกร่อน หินบางชนิดมีแร่ที่มีเหล็ก เป็นองค์ประกอบอยู่ด้วยก็สามารถผุพังไป ได้เช่นเดียวกับกระบวนการเกิดสนิมเหล็ก

ตอนที่ 2 ผลที่สังเกตได้

การทดลอง ผลการสังเกต
1.หยดกรดเกลือเจือจางลงบนหินปูน เกิดฟองฟู่
2.ใช้ผ้าสีเข้มเช็ดหินบริเวณที่หยดกรดเกลือ มีผงสีขาวเล็กๆ ติดที่ผ้า

          สรุปได้ว่า หินในธรรมชาติเกิดการผุพังอยู่กับที่โดยกระบวนการต่างๆ ที่เกิดขึ้นในธรรมชาติตลอดเวลา เช่น การผุพังของหินที่มีแร่ซึ่งมีเหล็กเป็นองค์ประกอบในเนื้อหินการละลายของหินปูนที่เกิดจากน้ำที่สมบัติเป็นกรด และการที่พืชขึ้นอยู่บนหินรากของพืชจะปล่อยสารที่เป็นกรดอ่อนๆ เข้าทำปฏิกิริยากับแร่ธาตุบางชนิดที่อยู่ในหิน เป็นการผุพังอยู่กับที่ที่เกิดจากกระบวนการทางเคมี ส่วนการผุพังของหินที่เกิดจากความร้อนและแรงต่างๆ เช่น แรงดันเนื่องจากการขยายตัวของก้อนน้ำแข็ง แรงดันของรากต้นไม้ และแรงโน้มถ่วงของโลกทำให้หินผุพังโดยที่สมบัติของหินไม่ได้เปลี่ยนแปลง เป็นการผุพังอยู่กับที่ที่เกิดจากกระบวนการทางกายภาพ


<< Go Back