1. ทดลองและจำแนกวัสดุตามสมบัติการนำไฟฟ้าว่าวัสดุใดนำไฟฟ้าและวัสดุใดไม่นำไฟฟ้า
2. อธิบายสมบัติของตัวไฟฟ้าและฉนวนไฟฟ้า รวมทั้งการนำสมบัติของตัวนำไฟฟ้าและฉนวนไฟฟ้าไปใช้ประโยชน์ ในชีวิตประจำวัน
1. ถ่านไฟฉาย |
2. สายไฟที่มีคลิปปากจระเข้ |
|
|
3. สวิตช์ |
4. หลอดไฟฟ้าพร้อมฐานหลอดไฟฟ้า |
|
|
5. วัตถุต่างๆ ทั้งที่เป็นตัวนำไฟฟ้าและเป็นฉนวนไฟฟ้า เช่น ลวดเสียบกระดาษ ไม้จิ้มฟัน ยางรัดของ ตะปู เชือก ไม้บรรทัดพลาสติก ไส้ดินสอดำ |
|
1. ให้นักเรียนทำกิจกรรม ตัวนำไฟฟ้าและฉนวนไฟฟ้าเป็นอย่างไร โดยต่อหลอดไฟฟ้ากับถ่านไฟฉาย สายไฟและสวิตช์ จัดให้คลิปปากจระเข้ที่ปลายสายไฟ 2 เส้นไม่แตะกัน แล้วนำวัตถุที่ทำจากวัสดุต่างๆ ที่จัดไว้ให้มาต่อกับปลายสายไฟทั้งสองทีละอย่าง จากนั้นกดสวิตช์ลงเพื่อตรวจสอบว่าหลอดไฟฟ้าสว่างหรือไม่ บันทึกผลลงในใบบันทึกกิจกรรม
2. จากผลการทำกิจกรรมให้นักเรียนจำแนกวัสดุที่นำไฟฟ้าได้และวัสดุที่ไม่นำไฟฟ้า แล้วนำเสนอต่อชั้นเรียน ซึ่งควรได้ผลสรุปตามตัวอย่างใบบันทึกกิจกรรม
3. ให้นักเรียนอภิปรายและเสนอการนำวัสดุที่เป็นตัวนำไฟฟ้าและฉนวนไฟฟ้าไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน เช่น นำทองแดง เหล็ก อะลูมิเนียม ซึ่งเป็นตัวนำไฟฟ้าไปทำสายไฟ และนำพลาสติกซึ่งเป็นฉนวนไฟฟ้าไปหุ้มสายไฟ เพื่อไม่ให้ไฟฟ้ารั่วเข้าสู่ร่างกาย หรือเกิดการลัดวงจรเมื่อสายไฟแตะกัน
ตารางบันทึกผลการทดลอง
วัตถุ |
วัสดุที่ใช้ทำ |
หลอดไฟฟ้าสว่าง |
หลอดไฟฟ้าไม่สว่าง |
ไม้บรรทัดพลาสติก |
พลาสติก |
|
|
พลาสติกหุ้มสายไฟ |
พลาสติก |
|
|
กระดาษ |
กระดาษ |
|
|
สายไฟ |
ทองแดง |
|
|
ไส้ดินสอ |
แกรไฟต์ |
|
|
ลวดหนีกระดาษ |
เหล็ก |
|
|
เข็มเย็บผ้า |
เหล็ก |
|
|
ตะปู |
เหล็ก |
|
|
ยางรัดของ |
ยาง |
|
|
วัสดุที่มีสมบัตินำไฟฟ้าได้ เมื่อนำไปต่อในวงจรไฟฟ้า กระแสไฟฟ้าจะผ่านได้ เรียกวัสดุประเภทนี้ว่า “ตัวนำไฟฟ้า” ส่วนวัสดุที่ไม่นำไฟฟ้าจะไม่ยอมให้กระแสไฟฟ้าผ่าน เรียกวัสดุประเภทนี้ว่า “ฉนวนไฟฟ้า”
|