1. สำรวจ และวิเคราะห์ฉลากสารปรุงรสอาหารเพื่อตัดสินใจเลือกได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย
2. ทดลอง อภิปราย และอธิบายการใช้สารปรุงรสอาหาร อย่างถูกต้องและปลอดภัย
1. เกลือป่น |
2. น้ำปลา |
|
|
3. เต้าเจี้ยว |
4. น้ำตาลทราย |
|
|
5. น้ำตาลปึก |
6. บีกเกอร์ขนาด 250 cm3 |
|
|
7. แท่งแก้วคน |
8. น้ำส้มสายชูกลั่นของ อสร 5% |
|
|
9. กรดกำมะถันเข้มข้น 1 โมล/ลิตร หรือ 1 M (โมลาร์) |
10. เจนเชียนไวโอเลต (ยาป้ายลิ้นเด็กสีม่วง) |
|
|
11. พริกชี้ฟ้าเขียว 2 - 3 เม็ด |
12. ตัวอย่างฉลากกำกับผลิตภัณฑ์สารปรุงรส |
|
|
13. กระบอกตวงขนาด 50 cm3 และ 100 cm3 |
14. แก้วน้ำใส 2 ใบ |
|
|
15. เนื้อดิบ |
16. บีกเกอร์ขนาด 50 cm32 ใบ |
|
|
17. กระดาษแข็งสำหรับปิดปากบีกเกอร์ |
18. ถ้วยหรือภาชนะ (สำหรับใช้ล้างชิ้นเนื้อ) |
|
|
1.ชิ้นเนื้อดิบขนาด 4.0 เซนติเมตร x 1.0 เซนติเมตร x 0.5 เซนติเมตร มา 2 ชิ้น สังเกตสีและความเหนียวของชิ้นเนื้อ บันทึกผล
2. ใส่ชิ้นเนื้อลงในบีกเกอร์ขนาด 50 ลูกบาศก์เซนติเมตร 2 ใบ ใบละ 1 ชิ้น แล้วเติมน้ำลงไปบีกเกอร์ใบที่ 1 และเติมน้ำส้มสายชูเข้มข้น 2.5% ลงในบีกเกอร์ใบที่ 2 ให้ท่วมชิ้นเนื้อ โดยให้สูงจากก้นบีกเกอร์เท่านั้น ปิดปากบีกเกอร์ด้วยกระดาษแข็งตั้งไว้ 15 นาที
3. นำชิ้นเนื้อทั้ง 2 ชิ้น ออกมาล้างน้ำ แล้วสังเกตสีและ ความเหนียวของชิ้นเนื้อ เปรียบเทียบกัน บันทึกผล
4. ใส่ชิ้นเนื้อทั้ง 2 ชิ้นกลับลงในบีกเกอร์ใบเดิม ตั้งไว้ต่อไป โดยสังเกตและความเหนียวของชิ้นเนื้อทั้งสอง เปรียบเทียบกันทุก 15 นาทีด้วยวิธีการเดิมจนครบ 45 นาที บันทึกผล
ตารางบันทึกผลการทดลอง
เวลา (นาที) |
การเปลี่ยนแปลงที่สังเกตได้ |
ชิ้นเนื้อดิบแช่ในน้ำส้มสายชู 2.5% |
ชิ้นเนื้อดิบแช่ในน้ำ |
0 |
ก่อนการทดลอง ชิ้นเนื้อดิบมีสีแดง นิ่มเหนียว ดึงไม่ขาดจากัน |
ก่อนการทดลอง ชิ้นเนื้อดิบมีสีแดง นิ่ม เหนียว ดึงไม่ขาดจากัน |
15 |
ชิ้นเนื้อแข็งขึ้น ลื่นมือ เหนียว ดึงไม่ขาด สีของชิ้นเนื้อซีดลงเล็กน้อย |
ชิ้นเนื้อมีสีแดงและเหนียวเท่าเดิมดึงไม่ขาด |
30 |
ชิ้นเนื้อแข็งขึ้นกว่าเดิม ลื่นมือ เมื่อดึงรู้สึกว่าเนื้อแยกออกจากกันได้เล็กน้อย สีของเนื้อซัดมากขึ้น เป็นสีชมพูขาวๆ |
ชิ้นเนื้อมีสีแดงชมพู แข็ง และ เหนียวกว่าเดิม ดึงไม่ขาด |
45 |
ชิ้นเนื้อนุ่มขึ้น ลื่นมือ เมื่อดึงจะขาดเป็นชิ้น สีของชิ้นเนื้อซีกเกือบขาว |
ชิ้นเนื้อมีสีซีดเล็กน้อยและยังเหนียวเกือบเท่าเดิม ดึงไม่ขาด |
สรุปได้ว่า น้ำไม่สามารถทำลายความเหนียวของชิ้นเนื้อ แต่น้ำส้มสายชูซึ่งมีสมบัติเป็นกรดสามารถทำลายความเหนียว ของชิ้นเนื้อได้ภายในเวลา 45 นาที
|