<< Go Back

ทดลองและอธิบายสมบัติของสาร เมื่อสารเกิดการละลาย

1. หลอดทดลองขนาดกลาง

2. ช้อนตวงเบอร์ 2

3. แท่งแก้วคน

4. ที่ตั้งหลอดทดลอง

5. บีกเกอร์ขนาด 100 cm3

6. ดิน

7. ทราย

8. เกลือป่น

9. น้ำตาลทราย

 

1. ใส่น้ำในหลอดทดลอง 4 หลอด หลอดละ 5 ลูกบาศก์เซนติเมตร

2. เติมสารแต่ละชนิดลงในหลอดทดลองแต่ละหลอด หลอดละ 1 ช้อนเบอร์ 2 เขย่าแล้วตั้งไว้ 2 นาที สังเกตผล

ตารางบันทึกผล

หลอดที่ สารที่ใช้ทดลอง การเปลี่ยนแปลงที่สังเกตได้ การละลายในน้ำ
ละลาย ไม่ละลาย
1 น้ำตาลทราย + น้ำ ได้ของเหลวใส  
2 เกลือ + น้ำ ได้ของเหลวใส

 

3 ทราย + น้ำ มีทรายตกอยู่ที่ก้นหลอดน้ำส่วนบนใส  
4 ดิน + น้ำ มีดินบางส่วนตกอยู่ที่ก้นหลอดและบางส่วนลอยอยู่ในน้ำ ทำให้น้ำขุ่น  

การเปลี่ยนแปลงที่สารชนิดหนึ่งกระจายอยู่ในสารอีกชนิดหนึ่งอย่างสม่ำเสมอ มองเห็นเป็นเนื้อเดียวกัน เรียกว่า "การละลาย" ทำให้ได้สารผสมที่มีลักษณะและสมบัติเหมือนกันทุกส่วน เรียกว่า "สารละลาย"

สารละลายจึงส่วนประกอบ 2 ส่วน คือ ตัวละลาย และตัวทำละลาย ตัวละลายได้แก่ น้ำตาลทราย และเกลือ ส่วนตัวทำละลายได้แก่ น้ำ

สารผสมที่ไม่รวมเข้าด้วยกันเป็นเนื้อเดียว มีบางส่วนแยกกันอยู่ ยังมองเห็นเป็นสารเดิม สมบัติของสารไม่เหมือนกันทุกส่วน เรียกสารผสมนี้ว่า "สารเนื้อผสม"

สารเนื้อผสมที่มีอนุภาคเล็กๆ ของของแข็งกระจายอยู่ในของเหลว หรือในแก๊ส เรียกว่า "สารแขวนลอย" สามารถแยกอนุภาคของแข็งในสารแขวนลอยออกได้ด้วยการกรอง หรือทำให้ตกตะกอน





       [2] https://www.youtube.com/watch?v=Ma_sqJgNZbE

<< Go Back