ทดลองและอธิบายวิธีการแยกสารเนื้อผสม ระหว่างของแข็งกับของแข็ง ของแข็งกับของเหลว และของเหลวกับของเหลว
ตอนที่ 1 การแยกผงเหล็กออกจากทราย
1. ถ้วยกระเบื้อง
2. แท่งแม่เหล็ก
3. ทราย
4. ผงเหล็ก
ตอนที่ 2 การแยกพิมเสนออกจากเกลือ
1. ถ้วยกระเบื้อง
2. บีกเกอร์ขนาด 100 cm3
3. ตะเกียงแอลกอฮอล์ และที่กั้นลมพร้อมตะแกรง
4. กระดาษแข็งเจาะรูตรงกลาง
5. สารผสมระหว่างพิมเสนกับเกลือ ในอัตราส่วน 1 : 1
6. ช้อนตวงเบอร์ 2
ตอนที่ 3 การแยกดินออกจากน้ำ
1. กรวยแก้วหรือกรวยพลาสติก
2. ขาตั้งพร้อมไม้หนีบ
3. บีกเกอร์ขนาด 250 cm3
4. ขวดน้ำกลั่น
5. แท่งแก้วคน
6. หลอดทดลอง
7. กระดาษกรอง
8. น้ำผสมดินอัตราส่วน ดิน : น้ำ = 1 : 10
ตอนที่ 4 การแยกน้ำขุ่นออกคลอง
1. ขวดน้ำดื่มพลาสติกใสขนาด 1500 cm3 ที่ตัดส่วนบน (ด้านปากขวด) ออกมา ของขวด
2. วัสดุกรองต่างๆ ได้แก่ ถ่าน ทรายหยาบ ทรายละเอียด กรวดหยาบ กรวดละเอียด สำลี
3. เหล็กแหลม (สำหรับเจาะฝาขวด)
4. แก้วน้ำใส
5. น้ำขุ่นจากคลอง
6. ส่วนก้นของขวดพลาสติกที่เหลือจากชิ้นส่วนที่นำไปใช้ทำเครื่องกรองน้ำ
7. สารส้มชนิดก้อน
ตอนที่ 5 การแยกน้ำมันออกจากน้ำ
1. กรวยแยก
2. บีกเกอร์ขนาด 250 cm3
3. น้ำมันพืช
4. น้ำ
ตอนที่ 1 การแยกผงเหล็กออกจากทราย
1. นำผงเหล็กผสมกับทรายใส่ในถ้วยกระเบื้อง
2. จุ่มปลายข้างหนึ่งของแท่งแม่เหล็กลงในสารผสมและคนช้าๆ ให้ทั่วภาชนะ
3. ยกแท่งแม่เหล็กขึ้นเพื่อแยกผงเหล็กออก และทำซ้ำจนกระทั้งแยกผงเหล็กออกจนหมด สังเกตและบันทึกผลการทดลอง
ตอนที่ 2 การแยกพิมเสนออกจากเกลือ
1. ใส่สารผสมพิมเสนกับเกลือในถ้วยกระเบื้องสังเกต บันทึกผลแล้วปิดด้วยกระดาษเจาะรู
2. นำบีกเกอร์ครอบบนกระดาษแข็งตรงรูที่เจาะ
3. ให้ความร้อนด้วยไฟอ่อนประมาณ 2 นาที สังเกตการณ์เปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในบีกเกอร์และในถ้วยกระเบื้อง สังเกตและบันทึกผล
ตารางบันทึกผล
การทำกิจกรรม |
ผลการสังเกต |
สังเกตลักษณะของสารเนื้อผสมระหว่างพิมเสนกับเกลือ |
|
ให้ความร้อนด้วยไฟอ่อนๆ ประมาณ 2 นาที สังเกตการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในบีกเกอร์และในถ้วยกระเบื้อง |
|
ตอนที่ 3 การแยกดินออกจากน้ำ
1. พับกระดาษกรอง
2. คลี่กระดาษกรองใส่ลงในกรวย ฉีดน้ำบนกระดาษกรองให้ทั่วเพื่อให้กระดาษกรองแนบกับกรวย
3. รินน้ำที่มีดินผสมอยู่ให้ไหลผ่านแท่งแก้วลงบนกระดาษกรองที่มีบีกเกอร์รองรับ สังเกตและบันทึกผล
ตารางบันทึกผล
การทำกิจกรรม |
ผลการสังเกต |
สังเกตลักษณะของสารก่อนกรอง |
|
รินน้ำที่มีดินผสมอยู่ให้ไหลผ่านแท่งแก้ว ลงบนกระดาษกรองที่มีบีกเกอร์รองรับ |
|
ตอนที่ 4 การแยกน้ำขุ่นออกคลอง
1. ตักน้ำขุ่นจากคลองใส่ในภาชนะใส 2 ใบขนาดเท่ากันประมาณ ของภาชนะ แล้วติดหมายเลข 1 และ 2 ที่ภาชนะทั้งสอง สังเกตและบันทึกผล
2. แกว่งสารส้มในน้ำขุ่นซึ่งบรรจุอยู่ในภาชนะใบที่ 1 จำนวน 5 ครั้ง ส่วนน้ำในภาชนะใบที่ 2 ไม่ต้องแกว่งสารส้ม ตั้งไว้ประมาณ 5 นาที สังเกตและบันทึกผล
ตารางบันทึกผล
การทำกิจกรรม |
ผลการสังเกต |
ตักน้ำขุ่นจากคลองใส่ภาชนะ 2 ใบปริมาณเท่ากัน สังเกตลักษณะของน้ำ |
|
แกว่งสารส้มในภาชนะใบที่ 1 จำนวน 5 ครั้ง แต่น้ำในภาชนะที่ 2 ไม่ต้องแกว่งสารส้ม ตั้งไว้ประมาณ 5 นาที |
|
ตอนที่ 5 การแยกน้ำมันออกจากน้ำ
1. ใช้กรวยแยกโดยใส่สารผสมน้ำมันกับน้ำลงไปในกรวยแยก
2. ตั้งไว้จนน้ำกับน้ำมันแยกชั้นกันชัดเจน โดยน้ำจะอยู่ชั้นล่างน้ำมันจะอยู่ชั้นบน
3. จากนั้นเปิดฝากรวยแยกออก ไขก๊อกให้น้ำไหลออกจนหมดแล้วรีบปิดก๊อกทันที
4. จากนั้นก็ไขก๊อกเพื่อให้น้ำมันไหลออกจากกรวยแยกจนหมด ก็สามารถแยกน้ำมันออกจากน้ำได้ สังเกตและบันทึกผลการทดลอง
การแยกสารเนื้อผสมที่เนื้อของสารไม่เป็นเนื้อเดียวกัน อาจเป็นสารเนื้อผสมระหว่างของแข็งกับของแข็ง ของแข็งกับของเหลว ของเหลวกับของเหลว สามารถแยกออกจากกันได้โดยวิธีต่างๆ กัน ซึ่งขึ้นอยู่กับขนาด สี และสมบัติขางสารที่เป็นส่วนผสม
สารเนื้อผสมระหว่างของแข็งกับของแข็ง
- ของแข็งมีขนาดและสีแตกต่างกันอย่างชัดเจน หรือขนาดใกล้เคียงกันและใหญ่พอที่จะหยิบได้ สีก็แตกต่างกัน แยกออกจากกันได้โดยใช้ช้อนตักออก หรือใช้มือหยิบออก
- ของแข็งมีหลายขนาด รูปร่างลักษณะแตกต่างกัน แยกออกจากกันโดยการร่อนด้วยตะแกรง
- ของแข็งมีขนาดเล็กใกล้เคียงกัน สีแตกต่างกัน โดยสารชนิดหนึ่งเป็นสารแม่เหล็ก ที่แม่เหล็กดึงดูดได้ แยกออกจากกันได้โดยใช้วิธีดึงดูดด้วยแม่เหล็ก
- ของแข็งมีขนาดเล็กใกล้เคียงกัน สีเหมือนกัน โดยสารชนิดหนึ่งเป็นสารที่ระเหิดได้ แยกออกจากกันได้โดยการให้ความร้อน เพื่อให้สารที่ระเหิดได้เปลี่ยนสถานะกลายเป็นไอแยกออกไป
สารเนื้อผสมระหว่างของแข็งกับของเหลว
- ของแข็งมีขนาดใหญ่ไม่ละลายในของเหลว แยกออกจากกันโดยวิธีการกรองด้วยกระดาษกรอง แต่มีข้อแม้ว่าขนาดของของแข็งจะต้องใหญ่กว่ารูกระดาษกรอง
- ของแข็งเป็นอนุภาคขนาดเล็กกระจายอยู่ในของเหลว มีลักษณะเป็นสารแขวนลอย แยกออกจากกันโดยการทำให้ตกตะกอน
สารเนื้อผสมระหว่างของเหลวกับของเหลว
- ของเหลวที่ไม่ผสมกันเป็นเนื้อเดียว จะแยกชั้นกันอยู่ แยกออกจากกันได้โดยวิธีใช้กรวยแยก หรือวิธีง่ายๆ โดยใช้ช้อนตักของเหลวที่อยู่ชั้นบนออกจากของเหลวที่อยู่ชั้นล่าง
|