1. ทดลองและอธิบายสมบัติของสารเมื่อเกิดการเปลี่ยนสถานะ 1. แก้วน้ำใส 2. ก้อนน้ำแข็ง 3. น้ำ 4. เทียนไข 5. ไม้ขีดไฟ 6. บีกเกอร์ขนาด 100 cm3 และ 250 cm3 7. ตะเกียงแอลกอฮอล์พร้อมที่กั้นลมและตะแกรงลวด 8. แผ่นอะลูมิเนียมฟอยล์ขนาด 15 cm. x 15 cm. 9. หลอดทดลองขนาดใหญ่ 10. ไม้หนีบ 11. กระดาษแข็งขนาด 15 cm x15 cm เจาะรู ขนาด 0.5 cm จำนวน 5 รู 12. ถ้วยกระเบื้อง 13. การบูร 14. กรรไกร คัตเตอร์ ตอนที่ 1 1. สังเกตเทียนไข ตารางบันทึกผล
ตอนที่ 2 ต้มน้ำให้เดือดกลายเป็นไอ แล้วนำหลอดใส่น้ำเย็นมาอังเหนือไอน้ำ สังเกตการเปลี่ยนแปลงและบันทึกผล ตารางบันทึกผล
ตอนที่ 3 1. ใส่การบูรในถ้วยกระเบื้อง สังเกตและบันทึกผล ตารางบันทึกผล
เทียนไขซึ่งมีสถานะเป็นของแข็ง เมื่อได้รับความร้อน (อุณหภูมิเพิ่มขึ้น) จะหลอมเหลวเปลี่ยนสถานะเป็นของเหลว เรียกการเปลี่ยนสถานะจากของแข็งเป็นของเหลวว่า "การหลอมเหลว" และเมื่อเทียนไขที่หลอมเหลวเย็นลง จะเปลี่ยนสถานะเป็นของแข็งเหมือนเดิม เรียกการเปลี่ยนสถานะจากของเหลวเป็นของแข็งนี้ว่า "การแข็งตัว" และน้ำมีสถานะเป็นของเหลว เมื่อได้รับความร้อนจนเดือนกลายเป็นไอน้ำ ซึ่งมีสถานะเป็นแก๊ส เรียกการเปลี่ยนสถานะจากของเหลวไปเป็นแก๊สนี้ว่า "การกลายเป็นไอ" เมื่อทำให้ไอน้ำเย็นลงจะเปลี่ยนจากสถานะแก๊สมาเป็นของเหลวเหมือนเดิม เรียกการเปลี่ยนสถานะจากแก๊สกลายเป็นของเหลวนี้ว่า "การควบแน่น" |