<< Go Back

ระบบหายใจ คือ การนำแก๊สออกซิเจนไปสู่เลือดและนำแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากเลือด ออกซิเจนจะถูกเซลล์นำไปใช้ในการสร้างพลังงานจากการสลายสารอาหาร โดยผ่านกระบวนการหายใจระดับเซลล์ (Cellular respiration) มีผลให้เกิดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์

http://www.bwc.ac.th/e-learning/virachai02/haijai.htm

1. แลกเปลี่ยนแก๊สออกซิเจนกับคาร์บอนไดออกไซด์ระหว่างปอดกับอากาศภายนอก
2. ช่วยควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย
3. ช่วยในการรับกลิ่น เนื่องจากที่จมูกมีเซลล์และประสาทรับกลิ่นอยู่ด้วย
4. ช่วยในการขับสารเคมีบางชนิดเมื่อเข้าสู่ร่างกาย
5. ช่วยทำให้เกิดเสียงโดยอาศัยหลอดเสียง ซึ่งเป็นอวัยวะในระบบหายใจ

ที่มารูปภาพ : http://www.bwc.ac.th/e-learning/virachai02/haijai.htm

1. จมูก (nose)เป็นอวัยวะที่เป็นทางผ่านของแก๊สออกซิเจน จากสิ่งแวดล้อมเข้าสู่ร่างกาย ภายในจมูกจะมีขน และเมือกเหนียวเคลือบอยู่ ซึ่งช่วยในการป้องกันสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ร่างกาย
2. คอหอย (pharynx) เป็นบริเวณที่หลอดอาหารและหลอดลมแยกออกจากกัน โดยหลอด-อาหารจะอยู่ด้านหลังของหลอดลม
3. กล่องเสียง (larynx) อยู่ถัดเข้ามาจากโคนลิ้น ตรงเข้าสู่หลอดลมส่วนต้น ตรงทางเข้าสู่กล่องเสียงจะมีลิ้นปิดหลอดลม ที่ทำหน้าที่ปิดหลอดลมขณะที่เรากลืนอาหาร เพื่อป้องกันไม่ให้อาหารผ่านลงไปสู่หลอดลม ภายในกล่องเสียงจะมีสายเสียงที่ทำให้เกิดเสียง
4. หลอดลม(trachea) ลักษณะเป็นท่อยาวจากจมูกไปสู่ปอด หลอดลมที่ต่อไปยังปอดจะแยกออกเป็น 2 ข้าง และมีขนาดเล็กลงเรื่อยๆจนกลายเป็นหลอดลมขนาดเล็กๆที่เชื่อมเข้าสู่ถุงลมในปอด
5. หลอดลมขั้วปอด (bronehi) เป็นส่วนที่อยู่ต่อจากหลอดลม แยกออกเป็น 2 ข้าง คือ ซ้ายและขวา โดยข้างขวาจะสั้นกว่า กว้างกว่าและอยู่ในแนวดิ่งมากกว่าข้างซ้าย โรคต่าง ๆ เช่น วัณโรค ปอดบวม จึงมักจะเกิดกับข้างขวามากกว่าข้างซ้าย หลอดลมขั้วปอดนี้จะทอดเข้าสู่ปอดข้างขวาและซ้าย แตกแขนงออกเป็นแขนงเล็ก ๆ เป็นหลอดลมในปอด (bronehioles)
6. ปอด (lungs) เป็นอวัยวะที่อยู่ในทรวงอกทั้งสองด้าน โดยอยู่ถัดจากกระดูกซี่โครงเข้ามาด้านใน ปอดมีลักษณะคล้ายฟองน้ำและมีความยืดหยุ่นมาก ภายในปอดจะมี ถุงลมเล็ก ๆ (alveolus) จำนวนมาก และมีเส้นเลือดฝอยผ่านเข้าไปในถุงลมเหล่านี้เพื่อทำการแลกเปลี่ยนแก๊ส

เมื่อเราหายใจเข้า อากาศจากภายนอกร่างกายจะผ่านรูจมูกทั้งสองข้างเข้าไปตามช่องจมูกขน และเยื่อในช่องจมูกจะช่วยกรองฝุ่นละอองที่ปนมากับอากาศไว้ อากาศจะถูกปรับอุณหภูมิและความชื้นให้เหมาะสมกับร่างกาย แล้วจึงผ่านจากคอหอยเข้าสู่หลอดลม เยื่อเมือก และขนอ่อนที่หลอดลมจะกักเก็บและพัดโบกฝุ่นละอองขนาดเล็กที่ปนมากับอากาศไม่ให้ผ่านเข้าสู่ปอด อากาศจะเข้าสู่ปอด และเข้าสู่ถุงลมเล็ก ๆ จำนวนมากที่มีหลอดเลือดฝอยอยู่ล้อมรอบ จากนั้นแก๊สออกซิเจนในอากาศจะแพร่ผ่านผนังถุงลมเข้าสู่หลอดเลือดฝอย  ส่วนแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์จากเลือดก็จะแพร่ผ่านจากผนังหลอดเลือดฝอยเข้าสู่ถุงลม เมื่อเราหายใจออก แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ก็จะถูกขับออกนอกร่างกาย

แก๊สออกซิเจนที่แพร่ผ่านผนังถุงลมเข้าสู่หลอดเลือดฝอยจากการหายใจเข้า จะเข้าไปรวมตัวกับเฮโมโกลบินในเซลล์เม็ดเลือดแดง ทำให้เลือดมีสีแดง แล้วไหลไปตามหลอดเลือดกลับเข้าสู่หัวใจ หัวใจจะสูบฉีดเลือดไปตามหลอดเลือดแดงไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และแก๊สออกซิเจนจะไปทำปฏิกิริยาเผาผลาญสารอาหาร เพื่อให้ได้พลังงาน และให้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ออกนอกเซลล์ ดังนั้น ขณะที่แก๊สออกซิเจนแพร่ผ่านจากเซลล์เม็ดเลือดแดงเข้าสู่เซลล์ในร่างกาย   แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์จากเซลล์เหล่านี้ก็แพร่เข้าสู่เซลล์เม็ดเลือดแดงด้วย เพื่อจะเข้าสู่หลอดเลือดดำกลับเข้าสู่หัวใจ และเข้าไปสู่ปอดเพื่อทำการแลกเปลี่ยนแก๊สต่อไป

http://respiratorysystem609.weebly.com/3648360936393657362936273634.html

<< Go Back