<< Go Back

1. อธิบายการกินอาหารให้ถูกหลักโภชนาการ
2. สืบค้นและอธิบายข้อปฏิบัติการกินอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี
3.ตรวจสอบพฤติกรรมการกินอาหาร และพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องของตนเอง จากแบบประเมินพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องของตนเองจากแบบประเมินพฤติกรรม
4. วิเคราะห์และอธิบายเกี่ยวกับข้อมูลในธงโภชนาการ

1. อาหารกินเล่น เช่น มันฝรั่งอบกรอบ มันฝรั่งทอด ขนมกรุบกรอบ ถั่วลิสงต้ม ฝรั่งหั่น เป็นชิ้น

2. สารละลายไอโอดีน

3. หลอดหยด

4. จานหลุม

5. กระดาษซับมัน หรือกระดาษขาวตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนาด 6 x 8 เซนติเมตร 4 แผ่น

ตอนที่ 1
1. นำอาหารกินเล่นแต่ละอย่างมาใส่ในจานหลุม
2. หยดสารละลายไอโอดีนลงในอาหารแต่ละอย่าง
3. สังเกตการเปลี่ยนแปลง บันทึกผล

ตอนที่ 2
1. ตัดกระดาษให้เป็นรูปสี่เหลี่ยมขนาดประมาณ 6 x 8 เซนติเมตร จำนวน 4 แผ่น เขียนหมายเลข 1 - 4 กำกับบนแผ่นกระดาษ
2. ถูแผ่นมันฝรั่งอบกรอบไปมาบนกระดาษแผ่นที่ 1
3. ทำข้อ 2 ซ้ำ โดยใช้ขนมกรุบกรอบต่างๆ หรือโดนัท หรือมันฝรั่งทอด ถั่วลิสงต้ม และฝรั่งที่หั่นเป็นชิ้น ถูไปมาบนกระดาษแผนที่ 2, 3, 4 ตามลำดับ
4. นำเศษชิ้นส่วนอาหารที่เหลือบนแผ่นกระดาษทิ้งให้หมด วางกระดาษไว้ให้แห้งแล้วนำแผ่นกระดาษทิ้งให้หมด วางกระดาษไว้ให้แห้งแล้วนำแผ่นกระดาษขึ้นส่องไฟ สังเกตแผ่นกระดาษ

จากการทดสอบอาหารที่มีแป้ง เป็นองค์ประกอบ คือ มันฝรั่งอบกรอบ ข้าวเกรียบกุ้ง ถั่วลิสงต้ม ฝรั่งหั่นเป็นชิ้น ทราบได้จากสารละลายไอโอดีนเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงินเมื่อทดสอบกับแป้ง

จากการทดสอบอาหารที่มีน้ำมันติดอยู่บนแผ่นกระดาษ คือ มันฝรั่งอบกรอบ ข้าวเกรียบกุ้ง ถั่วลิสงต้ม

สรุปผลการทดลองอาหารกินเล่น คือ มันฝรั่งอบกรอบ ข้าวเกรียบกุ้งและถั่วลิสงต้ม มีแป้งและน้ำมันเป็นองค์ประกอบ ส่วนฝรั่งหั่นเป็นชิ้นมีแป้งเป็นองค์ประกอบ ไม่พบน้ำมัน

สรุปได้ว่า อาหารที่ควรบริโภคมากกว่ากลุ่มอื่นๆ คือกลุ่มข้าวแป้ง กลุ่มที่ควรบริโภคน้อยกว่ากลุ่มอื่นๆ คือ น้ำมัน น้ำตาล เกลือ เราควรดื่มนมวันละ 2 แก้ว สัดส่วนของกลุ่มอาหารนี้เหมาะกับคนที่มีร่างกายสมส่วน อายุ 6 - 13 ปี


<< Go Back