<< Go Back

1. ทดลองและคำนวณหาความหนาแน่นของวัสดุทรงเลขาคณิต
2. อภิปรายและยกตัวอย่างการนำความรู้เรื่องความหนาแน่นไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน

1. เครื่องชั่งไฟฟ้า


2. หิน


3. แท่งไม้


4. ยางลบ


5. มันฝรั่งหรือแอปเปิ้ล


6. ไข่


7. กระบอกตวง


8. ถ้วยยูรีกา


9. บีกเกอร์ขนาด 100 cm


10. เชือกฟาง


11. น้ำ

1.นำวัตถุไปชั่ง บันทึกค่า
2. ใส่น้ำลงในถ้วยยูรีกาให้เต็ม หย่อนวัตถุลงในน้ำให้จมมิดทั้งก้อนรองน้ำที่ล้นออกมา
3. วัดปริมาตรของน้ำที่ล้นออกมา และบันทึกผล ความหนาแน่นเฉลี่ย (average density) หาได้จากผลหารระหว่างมวลรวมกับปริมาตรรวม ดังสมการ

คำนวณหาความหนาแน่น โดยที่
ρ คือความหนาแน่นของวัตถุ (หน่วย กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร)
m คือมวลรวมของวัตถุ (หน่วย กิโลกรัม)
V คือปริมาตรรวมของวัตถุ (หน่วย ลูกบาศก์เมตร)

ความหนาแน่น (density, สัญลักษณ์: ρ อักษรกรีก อ่านว่า โร ) เป็นอัตราส่วนของมวลต่อปริมาตรของสาร ในระบบ S.I. มีหน่วยเป็น กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

ตารางบันทึกผลการทดลอง

วัตถุ มวล (กรัม) ปริมาตร (ml) ความหนาแน่น (กรัม/ml)
หิน
แท่งไม้
ยางลบ
มันฝรั่งหรือแอปเปิ้ล
ไข่

น้ำที่ล้นออกมามีปริมาตรเท่ากับปริมาตรของวัตถุ

การเปรียบเทียบความหนาแน่นของวัตถุ เมื่อนำวัตถุหย่อนลงในของเหลวแล้วสังเกตการลอยหรือการจมของวัตถุในของเหลว สามารถเปรียบเทียบความหนาแน่นของวัตถุกับความหนาแน่นของของเหลวนั้นได้ ดังนี้


รูปแสดงผลของวัตถุในของเหลว

จากรูปบน วัตถุ A จมอยู่ที่ก้นภาชนะแสดงว่า ความหนาแน่นของวัตถุ A มากกว่าความหนาแน่นของของเหลว วัตถุ B ลอยปริ่มๆผิวของเหลว แสดงว่าวัตถุ B มีความหนาแน่นเท่ากับความหนาแน่นของของเหลว วัตถุ C ลอยพ้นผิวของเหลว แสดงว่าวัตถุ C มีความหนาแน่นน้อยกว่าความหนาแน่นของของเหลว

จากตารางบันทึกผล ให้นักเรียนสรุปว่าวัตถุใดมีความหนาแน่นมากที่สุด และน้อยที่สุด


<< Go Back