<< Go Back

1. ทดลองและอธิบายการถ่ายโอนความร้อนโดยการนำความร้อนได้
2. ทดลองและอธิบายการถ่ายโอนความร้อนโดยการพาความร้อนได้

ตอนที่ 1 การถ่ายโอนความร้อนโดยการนำความร้อน

1. แท่งโลหะ
2. ดินน้ำมัน
3. เทียนไข

1. ปั้นดินน้ำมันเป็นก้อนเล็กๆ 4 ก้อน แล้วนำไปติดไว้บนแท่งโลหะ โดยให้แต่ละก้อนมีระยะห่างกัน 3 เซนติเมตร
2. นำปลายแท่งโลหะที่มีดินน้ำมันติดอยู่ไปอังที่เปลวไฟจากเทียนไข
3. สังเกตผลที่เกิดขึ้น

เมื่อแท่งโลหะได้รับความร้อน จะทำให้ก้อนดินน้ำมันค่อยๆ ละลาย โดยเริ่มจากก้อนที่อยู่ใกล้เปลวเทียนมากที่สุด นั่นก็คือดินน้ำมันก้อนที่ 1 ไปเรื่อยๆ จนถึงก้อนที่ 4 ที่เป็นเช่นนี้เนื่องจากแท่งโลหะเป็นตัวนำความร้อนจากเปลวไฟไปสู่ก้อนดินน้ำมัน ทำให้ดินน้ำมันละลาย โดยความร้อนจะถ่ายเทจากเปลวไฟไปยังแท่งโลหะ จากจุดที่แท่งโลหะอยู่ใกล้เปลวไฟมากที่สุด จึงทำให้ดินน้ำมันก้อนที่ 1 ละลายเป็นก้อนแรก จากนั้นความร้อนก็จะถ่ายเทไปเรื่อยๆ จนถึงปลายสุดของแท่งโลหะ เป็นผลให้ดินน้ำมันละลายไปเรื่อยๆ จนถึงก้อนที่ 4


ตอนที่ 2 การถ่ายโอนความร้อนโดยการพาความร้อน

1. บีกเกอร์ขนาด 200 ลูกบาศก์เซนติเมตร

2. ด่างทับทิม

3. ตะเกียงแอลกอฮอล์

4. ตะแกรงกั้นลม

1. นำบีกเกอร์ขนาด 200 ลูกบาศก์เซนติเมตร ใส่น้ำปริมาตร 150 ลูกบาศก์เซนติเมตร
2. ใส่เกร็ดด่างทับทิมลงไป 3 – 4 เกร็ด
3. จุดตะเกียงแอลกอฮอล์เพื่อให้ความร้อนตรงบริเวณที่มีเกร็ดด่างทับทิม สังเกตและบันทึกผลการทดลอง

จากการทดลอง เมื่อนำเกล็ดด่างทับทิมใส่ลงในบีกเกอร์ที่บรรจุน้ำ เมื่อน้ำได้รับความร้อน น้ำร้อนจากก้นบีกเกอร์จะแผ่ขยาย เนื่องจากความหนาแน่นของน้ำน้อยลงและลอยตัวสูงขึ้น การเคลื่อนที่ของน้ำร้อนเราจะสังเกตเห็นได้จากไอน้ำสีม่วงๆ ข้างบีกเกอร์ เมื่อเคลื่อนที่ไปถึงบริเวณปากบีกเกอร์น้ำเริ่มเย็น น้ำก็จะมีความหนาแน่นมากขึ้นและจมลง น้ำในบีกเกอร์ก็จะเป็นแบบนี้ไปเรื่อยๆ

สรุปได้ว่า เมื่อน้ำมีอุณหภูมิสูงขึ้น น้ำจะลอยตัวจากก้นบีกเกอร์ขึ้นไปยังข้างบน และน้ำเย็นที่ปากบีกเกอร์จะจมลงมาแทนที่น้ำร้อน


<< Go Back