1. บอกวัสดุที่มีสมบัติความยืดหยุ่นได้
2. ทดลองและอธิบายเกี่ยวกับสมบัติการยืดหยุ่นของวัสดุได้
1. เส้นเอ็นยืดยาว 50 เซนติเมตร
2. เส้นเอ็นไม่ยืดยาว 50 เซนติเมตร
3. ไม้บรรทัด
4. ถ่านไฟฉายก้อนใหญ่ (ที่ใช้แล้ว)
5. ถุงทราย 500 กรัม จำนวน 2 ถุง
6. คานไม้
7. ตะขอเกี่ยว
8. ถุงพลาสติก
|
|
|
เส้นเอ็นยืด |
เส้นเอ็นไม่ยืด |
ถุงพลาสติก |
|
|
|
ถ่านไฟฉาย |
ถุงทรายขนาด 500 กรัม |
ไม้บรรทัด |
1. ให้นักเรียนแบ่งกลุ่มๆ ละ 5 – 6 คน หรือตามความเหมาะสม
2. ผูกเส้นเอ็นและเส้นเอ็นยืดที่มีขนาดเท่ากันเข้ากับคานไม้ ให้ความยาวจากคานถึงตะขอเกี่ยวเท่ากัน วัดความยาวของเส้นเอ็นและเส้นเอ็นยืด บันทึกผล
3. ใส่ถ่านไฟฉายลงในถุงๆ ละ 1 ก้อน แล้วนำถุงไปแขวนที่ตะขอเกี่ยว วัดความยาวของเส้นเอ็นและเส้นเอ็นยืดอีกครั้ง บันทึกผล
4. นำถุงบรรจุถ่านไฟฉายออกจากตะขอเกี่ยว แล้ววัดความยาวของเส้นเอ็นและเส้นเอ็นยืดอีกครั้ง บันทึกผล
5. ทำซ้ำเหมือนข้อ 3 และข้อ 4 แต่เพิ่มถ่านไฟฉายครั้งละ 1 ก้อนจนครบ 5 ก้อน จากนั้นใช้ถุงทราย 500 กรัมแขวนแทนถ่านไฟฉาย บันทึกผล
ตารางบันทึกผลการทดลอง
วัตถุที่แขวน |
ความยาวของเส้นเอ็น (ซม.) |
ความยาวของเส้นเอ็นยืด (ซม.) |
ก่อนแขวน |
ขณะแขวน |
หลังแขวน |
ก่อนแขวน |
ขณะแขวน |
หลังแขวน |
ถ่านไฟฉาย 1 ก้อน |
|
|
|
|
|
|
ถ่านไฟฉาย 2 ก้อน |
|
|
|
|
|
|
ถ่านไฟฉาย 3 ก้อน |
|
|
|
|
|
|
ถ่านไฟฉาย 4 ก้อน |
|
|
|
|
|
|
ถ่านไฟฉาย 5 ก้อน |
|
|
|
|
|
|
ถุงทราย 500 กรัม |
|
|
|
|
|
|
วัสดุแต่ละชนิดมีสภาพยืดหยุ่นไม่เท่ากัน บางชนิดเมื่อออกแรงกระทำต่อวัสดุมากๆ ก็ยังคงความยืดหยุ่นอยู่ เช่น เส้นเอ็น ส่วนวัสดุบางชนิดเมื่อออกแรงกระทำน้อยๆ จะยังมีสภาพยืดหยุ่น แต่เมื่อออกแรงกระทำมากขึ้นจะหมดสภาพยืดหยุ่น เช่น เส้นเอ็นยืด แถบยางยืด เป็นต้น
สรุปได้ว่า เส้นเอ็นและเส้นเอ็นยืดหยุ่นมีสภาพยืดหยุ่นไม่เท่ากัน โดยเส้นเอ็นมีสภาพยืดหยุ่นดีกว่าเส้นเอ็นยืดเพราะเมื่อได้รับแรงกระทำเพียงเล็กน้อย (ถ่านไฟฉาย 2 ก้อน) เส้นเอ็นยืดไม่สามารถกลับสู่สภาพเดิมได้เมื่อหยุดออกแรงกระทำ
|