<< Go Back

1. ทดลองและเปรียบเทียบความแข็งและความเหนียวของวัสดุ
2. สำรวจและยกตัวอย่างการนำสมบัติด้านความแข็งและความเหนียวของวัสดุไปใช้ประโยชน์

1. แก้ว

2. กระเบื้อง

 

3. ไม้

4. อะลูมิเนียม

5. เส้นด้าย ยาวประมาณ 50 เซนติเมตร

6. หิน

7. ถุงทราย

8. ถุงพลาสติก

 

9. เส้นเอ็น ยาวประมาณ 50 เซนติเมตร

 

10. เหรียญ หรือ ตะปู

 






การทดลองที่ 1 ความแข็งของวัสดุ
ให้นักเรียนนำตะปูหรือเหรียญมาขีดลงวัสดุต่างๆ สังเกตและบันทึกผล

ตารางบันทึกผล

วัสดุที่ใช้ในการทดลอง การเปลี่ยนแปลงของวัสดุ
ไม้ มีรอยขูดเห็นได้ชัดเจน
แก้ว ไม่มีรอยขูด
หิน ไม่มีรอยขูด
เหล็ก มีรอยขูดเล็กน้อย
กระเบื้อง มีรอยขูดได้ชัดเจน

การทดลองที่ 2 ความเหนียวของวัสดุ
1. ให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม เพื่อทำการทดลองความเหนียวของวัสดุ
2. นำเส้นเอ็นผูกกับแท่งไม้ และปลายเส้นเอ็นอีกด้านหนึ่งผูกติดกับถุงพลาสติก และนำเส้นด้ายผูกกับแท่งไม้ และปลายเส้นด้ายอีกด้านหนึ่งผูกติดกับถุงพลาสติกอย่างละหนึ่งอัน
3. นำถุงทรายใส่ลงในถุงพลาสติกที่ผูกกับเส้นเอ็นและเส้นด้ายทีละถุง จนครบทั้ง 3 ถุง สังเกตและบันทึกผล

ตารางบันทึกผลการทดลอง

จำนวนถุงทราย การเปลี่ยนแปลงของเส้นเอ็น การเปลี่ยนแปลงของเส้นด้าย
1    
2    
3    

ความแข็งของวัสดุ

ความแข็ง หมายถึง ความทนทานต่อการตัดและการขูดขีดของวัสดุ วัสดุที่มีความแข็งมากจะสามารถทนทานต่อการขีดข่วนได้มาก และเมื่อถูกขีดข่วนจะไม่เกิดรอยบนวัสดุชิ้นนั้น วัสดุแต่ละชนิดมีสมบัติหลายประการ สามารถพิสูจน์ได้ด้วยตาและการสัมผัส

สมบัติที่เราสามารถสังเกตได้ด้วยตา ได้แก่ สี รูปร่าง รูปทรง พื้นผิวเรียบหรือ ขรุขระ ผิวด้าน ผิวมัน อาจสะท้อนแสง

สมบัติที่เราสามารถสัมผัสได้ด้วยมือ ได้แก่ ลักษณะผิววัสดุ และน้ำหนัก ที่ เบา - หนัก วัสดุต่างๆ เช่น แก้ว ไม้ หิน เหล็ก จะมีความแข็งเหมือนกันหรือไม่ใช้เหรียญบาทขูดบนวัสดุแต่ละชิ้นแรงๆ สังเกตการเปลี่ยนแปลง วัสดุที่มีความแข็งมากที่สุด คือ เพชร เราสามารถนำเพชรมาใช้ตัดกระจกได้

วัสดุแต่ละชนิดมีความแข็งไม่เท่ากัน ดังนั้นถ้าเราต้องการให้สิ่งของเครื่องใช้ของเรา มีความแข็งแรงทนทานและไม่เกิดรอยขีดข่วนได้ง่าย เราต้องเลือกใช้สิ่งของเครื่องใช้ที่ทำจากวัสดุที่มีความแข็ง เช่น โลหะ แก้ว กระเบื้อง

ความเหนียวของวัสดุ

ความเหนียว หมายถึง ความสามารถในการรับน้ำหนักที่มากระทำต่อ หน่วย พื้นที่หน้าตัดของวัสดุที่ทำให้วัสดุขาดได้พอดี วัสดุเส้นใหญ่มีพื้นที่หน้าตัดมาก จะทนต่อแรงดึงสูงสุดได้มากกว่าวัสดุเส้นเล็กที่มีพื้นที่หน้าตัดน้อย วัสดุเส้นใหญ่จึงมีความเหนียวมากกว่าเส้นเล็ก วัสดุที่รับน้ำหนักได้มากจะมีความเหนียวมากกว่าวัสดุที่รับน้ำหนักน้อย

สมบัติความเหนียวของวัสดุ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้มากมายเช่น การใช้เส้นเอ็นทำสายเบ็ดตกปลา และเส้นเอ็นมีความเหนียวมาก สามารถทนแรงดึงหรือรับน้ำหนักของปลาได้มาก

นอกจากนี้ เรายังใช้เชือกลากสิ่งของ แต่ในการยกของที่มีมวลมากๆ นิยมใช้โซ่ดึงยกสิ่งของนั้น เพราะโซ่มีความเหนียวมากกว่าเชือก จึงใช้ยกของที่มวลมากได้ดีกว่าเชือก


<< Go Back