<< Go Back

เป็นชั้นที่อยู่ในสุด เปลี่ยนแปลงมาจากใบเพื่อทำหน้าที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย จึงเป็นอวัยวะสำคัญต่อการสืบพันธุ์ จำนวนเกสรตัวเมียในดอกหนึ่งอาจมีอันเดียวหรือหลายอันเรียงกันเป็นวง เรียกวงของเกสรตัวเมียว่า จิเนเซียม (gynoecium) และมักใช้สัญลักษณ์ G เกสรตัวเมียประกอบด้วย 3 ส่วน คือ


ยอดเกสรตัวเมีย (stigma) เป็นส่วนที่พองออก มีลักษณะเป็นตุ่มแผ่แบนเป็นแฉก เป็นพู และมีน้ำเหนียวๆ หรือขนคอยจับละอองเรณูที่ลอยมาติด

ก้านชูเกสรตัวเมีย (style) เป็นส่วนที่มีลักษณะเป็นเส้นหรือเป็นก้านเล็กๆอาจยาวหรือสั้น เชื่อมต่อจากยอดเกสรตัวเมียลงสู่รังไข่ เป็นทางให้สเปิร์มนิวเคลียสเข้าไปปผสมกับไข่

รังไข่ (ovary) เป็นส่วนที่พองออก มีลักษณะเป็นกระเปาะอยู่ติดกับฐานรองดอก หรืออาจฝังอยู่ในฐานรองดอก ภายในมีลักษณะเป็นห้องๆ เรียกว่า โลคุล (locule) ซึ่งอาจมีเพียง 1 โลคุล หรือมากกว่าก็ได้ ถ้ามีมากกว่า 1 ห้อง จะมีผนังกั้น เรียกว่า septum ภายในรังไข่มีออวุล (ovule) บรรจุอยู่ โดยโอวุลจะเชื่อมติดกับผนังรังไข่ด้วยก้านเล็กๆ ที่เรียกว่า funiculus และบริเวณของผนังรังไข่ที่ก้าน funiculus เชื่อมติดอยู่เรียกว่า placenta ชนิดของ placentation หรือการติดของโอวุลบนผนังรังไข่บริเวณ placenta มีลักษณะที่แตกต่างกันหลายแบบ ดังนี้
1. axile placentation พบในรังไข่ที่เกิดมาจาก compund pistil ชนิด syncarppous มีผนัง (septum) กั้น ภายในรังไข่เป็นช่อง (locule) มี placcenta อยู่ตรงกลาง มีออวุลในแต่ละช่อง จำนวนช่องจะเท่ากับจำนวน carpel เช่น ส้ม มะนาว มะเขือเทศ พริก กล้วย

2. laminar placentation ลักษณะคล้ายกับ axile placentation แต่ออวุลติดผนัง (septum) โดยรอบภายในแต่ละช่อง (locule) เช่น บัวสาย

3. parietal placentation placentation พบในรังไข่ที่เกิดจากมาจากหลาย carpel และเป็นรังไข่ชนิด syncarpous โดยขอบของ carpel ที่เชื่อมติดกันจะไม่โค้งเข้าด้านใน หรือไม่เชื่อมติดกันตรงกลาง มี locule เดียว placenta อยู่ที่ผนังของรังไข่ตรงรอยที่ carpel มาเชื่อมกัน จำนวน carpel เท่ากับจำนวนของ placenta เมื่อตัดตามขวาง เช่น แตง ฟักทอง

4. marginal placentation ลักษณะคล้ายกับ parietal placentation แต่รังไข่เกิดมาจาก carpel เดียว และเป็น apocarpous หรือ simple pistil เช่น ถั่ว ถั่วลันเตา

5. free central placentation ลักษณะคล้ายกับ axile placentation แต่มี 1 locule placenta อยู่ที่แกนกลางของรังไข่ เช่น ดอกผีเสื้อ

6. basal placentation พบในรังไข่ที่มีออวุลน้อยตรงกลาง เกาะกับplacenta ที่ฐานของรังไข่ เช่น พริกไทย องุ่น

7. apical placentation ลักษณะคล้ายกับ basal placentation แต่มี ออวุลเดียวที่ติดปลายรังไข่ เช่น บัวหลวง


ที่มา : http://www.thaigoodview.com/library/contest2553/type2/science04/24/pages/indexd1a7.html

<< Go Back