1. ทดลองและอธิบายการเคลื่อนที่ของอากาศร้อนและอากาศเย็น
2. อธิบายการเกิดลมจากการอภิปราย
1. ลูกโป่ง
2. ขวดแก้ว
3. น้ำร้อน
4. น้ำแข็ง
|
|
ลูกโป่ง |
ขวดแก้ว |
|
|
น้ำเย็น |
น้ำร้อน |
1. นำลูกโป่งครอบขวดพลาสติกให้แน่นสังเกตลักษณะของลูกโป่ง
2. นำขวดไปแช่น้ำร้อนสังเกตการณ์เปลี่ยนแปลงของลูกโป่ง
3. นำขวดที่แช่น้ำร้อนมาแช่น้ำเย็นทันที สังเกตลูกโป่งอีกครั้งหนึ่ง สรุปและบันทึกผลการทดลอง
ตารางบันทึกผลการทดลอง
กิจกรรม |
ก่อนแช่ |
ขณะที่แช่ |
1. แช่ขวดในน้ำร้อน |
|
|
2. แช่ขวดในน้ำเย็น |
|
|
ลูกโป่งที่ครอบอยู่บนคอขวดจะตั้งขึ้นตรง และขนาดขยายขึ้นขณะที่นำขวดไปแช่ในน้ำร้อน เพราะอากาศภายในขวดร้อน จึงลอยตัวสูงขึ้นจนเข้าไปอยู่ในลูกโป่ง ทำให้ลูกโป่งมีขนาดใหญ่ขึ้น แต่เมื่อนำขวดไปแช่ในน้ำเย็น ลูกโป่งจะพับตัวลงและห้อยลงมา
สรุปได้ว่า บริเวณที่มีอากาศร้อน อากาศจะลอยตัวสูงขึ้น ความกดอากาศหรือความดันอากาศ จึงต่ำลง แต่ในขณะที่บริเวณที่อากาศเย็น อุณหภูมิต่ำ ความดันอากาศจะสูงขึ้น จึงทำให้เกิดการหมุนเวียนอากาศ จากบริเวณอากาศเย็นที่มีความกดอากาศสูงไปยังบริเวณที่มีอากาศร้อนที่มีความกดอากาศต่ำ
[1] https://www.youtube.com/watch?v=8h7ARaW7zSk
[2] https://www.youtube.com/watch?v=hJMZjHgIqiI
|