<< Go Back

สมบัติของของเหลว สมบัติทั่วไปของของเหลว
        1.) ของเหลวมีรูปร่างไม่แน่นอน เปลี่ยนตามภาชนะที่บรรจุ
        2.) ของเหลวประกอบด้วยโมเลกุลที่เคลื่อนที่อย่างไม่ค่อยเห็นระเบียบ มีช่องว่างระหว่างโมเลกุลน้อย
        3.) โมเลกุลของของเหลวอยู่ชิดกันมากกว่าก๊าซ เพราะมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลมากกว่า
        4.) ปริมาตรของของเหลวเปลี่ยนแปลงน้อยมากเมื่ออุณหภูมิและความดันเปลี่ยน
        5.) ของเหลวส่วนใหญ่มีความหนาเเน่นมากกว่าก๊าซ แต่น้อยกว่าของเเข็ง
        6.) โมเลกุลของของเหลวสามารถแพร่กระจายได้ แต่ในอัตราที่ช้ากว่าโมเลกุลของก๊าซ เพราะของเหลวมีความหนา เเน่นมากจึงถูกดึงดูดโดยโมเลกุลข้างเคียง เเละมีบริเวณที่จะเคลื่อนที่จำกัดต้องปะทะโมเลกุลอื่นตลอดทาง
        7.) เมื่อนำของเหลวสองชนิดที่ไมทำปฏิกิริยากันมาผสมกันปริมาตรรวมจะเท่ากับผลบวกของปริมาตรสารทั้งสอง
        8.) ของเหลวสามารถระเหยได้ทุกๆอุณหภูมิ
        10.) ของเหลวเดือดได้เมื่อของเหลวนั้นมีความดันไอเท่ากับความดันของบรรยากาศ
        11.) ของเหลวมีแรงดึงผิว(Surface tension) และความหนืด(Viscosity) เพราะโมเลกุลของของเหลวอยู่ชิดกัน จึงดึงดูดกัน และของเหลวใดยิ่งมีแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลมาก จะยิ่งมีแรงดึงผิวมาก
          แรงตึงผิว (Surface tension) คือคุณสมบัติของพื้นผิวของของเหลว เป็นสิ่งทำให้เกิดบางส่วนของพื้นผิวของเหลวถูกดึงดูด (ยึดเข้าไว้ด้วยกัน) สู่พื้นผิวอื่น เช่น พื้นผิวของเหลวส่วนอื่น (การรวมตัวของหยดน้ำหรือหยดปรอทที่แกะกันเป็นลูกกลม) แรงตึงผิวถูกทำให้เกิดขึ้นด้วยการดึงดูด (การดึงดูดของโมเลกุลกับโมเลกุลที่เหมือนกัน) เมื่อโมเลกุลบนพื้นผิวของของเหลวไม่ได้ล้อมรอบไปด้วยโมเลกุลที่เหมือนกันในทุกๆด้านแล้ว โมเลกุลจะมีแรงดึงดูดกับโมเลกุลใกล้เคียงบนพื้นผิวมากขึ้น
        การระเหย (Evaporation) หมายถึง การที่ของเหลวเปลี่ยนสถานะจากของเหลวกลายเป็นไออย่างช้าๆ และเกิดขึ้นเฉพาะผิวหน้าของของเหลวเท่านั้น นอกจากนั้นการระเหยยังสามารถเกิดได้ทุกๆ อุณหภูมิที่ยังมีของเหลวนั้นอยู่ เช่น น้ำสามารถระเหยได้ที่อุณหภูมิ 0-100๐C ที่ความดัน 1 บรรยากาศ

      http://thn234233chemisty.blogspot.com/2015/02/blog-post_5.html

<< Go Back