กระบวนการสร้างดิน
การเกิดดินนั้นต้องใช้ระยะเวลานานในการเปลี่ยนและสลายตัวของสสารต้นกำเนิดดิน ลำดับขั้นของการสร้างดิน เป็นดังนี้
1. การสลายตัวของหินและแร่ตามธรรมชาติ จากที่มีขนาดใหญ่จนมีขนาดเล็กลง กลายเป็นวัตถุต้นกำเนิดดินซึ่งวัตถุต้นกำเนิดดินนี้มีธาตุอาหารเพียงพอ ที่จะใช้ในการเจริญเติบโตของพืชได้ จากวัตถุต้นกำเนิดดินที่เกิดอยู่ตรงบริเวณหินและแร่สลายตัว ส่วนมาก จะถูกธรรมชาติพัดพาเอาอนุภาคไปทับถมในที่แหล่งใหม่ และกลายเป็นวัตถุต้นกำเนิดดินในที่นั้นๆ ต่อไป
2. กระบวนการเพิ่มเติมสารอินทรีย์ให้กับวัตถุต้นกำเนิดดินจากซากของสสาร เช่น ซากพืช ซากสัตว์ มูลสัตว์ เมื่อเกิดการสลายตัวตามธรรมชาติจนกลายเป็น ฮิวมัส (Humus) ซึ่งมี สีน้ำตาลดำ จัดว่าเป็นดิน ที่มีประโยชน์ต่อพืชมาก เนื่องจากเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของพืช
3. การผสมคลุกเคล้าของวัตถุต้นกำเนิดดินและฮิวมัส พวกจุลินทรีย์และสัตว์อาศัยอยู่ในดินจะมีส่วน ในการสร้างดินจากสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย หิน และแร่ธาตุต่างๆ ให้ผุกร่อนมีขนาดเล็กลงจนกลายเป็นดิน ทำให้เกิดชั้นดินที่มีสีน้ำตาลดำแยกต่างจากชั้นดินอื่นๆ อีกทั้งมีแร่ธาตุอาหารที่เหมาะกับการเจริญเติบโตของพืช
ที่มารูปภาพ : http://www.tv360ch3.com/วันดินโลก-world-soil-day-ตรงกับวัน
1. อนินทรียสาร องค์ประกอบนี้เกิดจากสลายตัวของหินและแร่ธาตุ ซึ่งจะมีขนาดและอนุภาคแตกต่างกันทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของหินและแร่ธาตุ และระยะเวลาในการสลายตัวสารอินทรีย์ที่พบมากในดินได้แก่ แร่ควอตซ์ พบในลักษณะของเม็ดทรายแร่เฟลด์สปาร์เมื่อสลายตัวจะให้แร่ดินเหนียว เป็นต้น
2. อินทรียสาร คือ องค์ประกอบหนึ่งของดินที่เป็นซากพืชซากสัตว์และมูลสัตว์ต่างๆ สิ่งเหล่านี้จะทับถมกันแล้วจะถูกจุลินทรีย์ชนิดต่างๆ ย่อยสลายจนเน่าเปื่อยซึ่งจะมีความอุดมสมบูรณ์ และมีธาตุอาหารที่พืชต้องการ เรียกว่า ฮิวมัส
3. อากาศ อากาศจะแทรกตัวอยู่ในช่องว่างระหว่างเม็ดดิน เช่น ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซออกซิเจน เป็นต้น ปริมาณอากาศในดินจะขึ้นอยู่กับชนิดของดินเพราะดินแต่ละชนิดมีช่องว่างระหว่างเม็ดดินที่แตกต่างกัน เช่น ดินร่วง จะมีอากาศและธาตุอาหารอยู่มาก เพราะมีช่องว่างระหว่างเม็ดดินมาก เป็นต้น
4. น้ำ น้ำเป็นของเหลวที่แทรกอยู่ตามช่องว่างระหว่างเม็ดดิน ดินที่มีปริมาณน้ำพอเหมาะจะทำให้พืชจะเจริญเติบโตได้ดี เช่น ดินร่วน เป็นต้น
http://www.growrice.info/index.php/understand-your-soil/
ความพรุนของดิน คือ ส่วนที่เป็นช่างว่างระหว่างเม็ดดินช่องว่างในเม็ดดินจะเป็นที่อยู่ของน้ำ และอากาศภายในดิน ซึ่งการถ่ายเทอากาศและการระบายน้ำจะขึ้นอยู่กับความพรุนของดิน ดังนี้
1. ดินที่มีความพรุนมาก หรือมีช่องว่างระหว่างเม็ดใหญ่ จะระบายน้ำและอากาศได้ดี ทำให้พืชสามารถเจริญเติบโตได้ดี
2. ดินที่มีความพรุนน้อย หรือช่องว่างระหว่างเม็ดดินมีขนาดเล็กเนื้อดินจะติดกันแน่นไม่มีออกซิเจนแทรกอยู่ ทำให้เกิดความเป็นพิษเนื่องจากมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูงเกิน ไปและการระบายน้ำจะไม่ดีทำให้พืชไม่เจริญเติบโต ดินที่เหมาะสำหรับปลูกพืชควรมีที่ว่างระหว่างเม็ดดินประมาณ 50 % ซึ่งเป็นช่องว่างสำหรับน้ำและอากาศอย่างละ 25 %
3. ดินที่มีขนาดของเม็ดดินใหญ่ จะมีขนาดของช่องว่างระหว่างเม็ดดินใหญ่ส่วนดินที่มีขนาดเม็ดดินเล็ก จะมีขนาดของช่องว่างระหว่างเม็ดดินเล็กด้วย
สีของดิน ดินในแต่ละแห่งจะมีสีแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับชนิดของหินที่ผุพังมาเป็นดินนั้นๆ และขึ้นอยู่กับปริมาณของฮิวมัสในดินด้วย ซึ่งสีของดินจะทำให้ทราบลักษณะที่สำคัญบางอย่างของดิน เช่น การระบายน้ำ การถ่ายเทอากาศ ความอุดมสมบูรณ์ และอื่นๆเป็นต้น ลักษณะสีของดิน มีดังนี้
1. ดินที่มีสีแดง แสดงถึงดินที่มีอายุมากหรือผ่านการสลายตัวอย่างรุนแรง มีสภาพการระบายน้ำของการถ่ายเทอากาศได้ดี
2. ดินที่มีสีจาง แสดงว่าเป็นดินที่ผ่านการปลูกพืชอยู่เสมอ มีการสูญเสียสารอินทรีย์หรือฮิวมัสไป
3. ดินที่มีสีจุดประหรือแถบของสีต่างๆ เช่น เหลือง แดง เทา เป็นดินที่ระบายน้ำไม่ดีซึ่งเป็นลักษณะของดินในท้องนา ส่วนดินที่มีสีเทาจัดหรือสีเขียวคล้ำปนน้ำเงิน มักพบในดินชั้นล่างที่มีน้ำขังหรือแช่น้ำ แสดงว่ามีการระบายน้ำไม่มี
ถ้าจำแนกดินตามลักษณะของเนื้อดิน แบ่งได้ 3 ชนิด
1. ดินทราย เป็นที่ประกอบด้วยทรายตั้งแต่ร้อยละ 70 ขึ้นไป โดยน้ำหนักมีสมบัติเหมือนทราย น้ำซึมผ่านได้ง่ายมาก
2. ดินร่วน เป็นดินที่ประกอบด้วย ทราย โคลนตม และดินเหนียว โดยมีปริมาณดินทรายและดินเหนียวไม่มากนัก ดังนั้น น้ำและอากาศจึงไหลผ่านดินร่วนได้ดีกว่าดินเหนียว
3. ดินเหนียว เป็นดินที่มีเนื้อละเอียดแน่น อุ้มน้ำได้ดี และไม่ยอมให้น้ำซึมผ่านได้ง่าย ไม่เหมาะสมในการเพาะปลูก พืช
ประเภทของดิน โดยทั่วไปแบ่งดินออกเป็น 2 ประเภทง่ายๆ คือ ดินชั้นบนและดินชั้นล่าง
1. ดินชั้นบน เป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีแร่ธาตุหลายชิดและมีซากพืชซากสัตว์เน่าเปื่อย (ฮิวมัส) ที่พืชต้องการทับถมกันอยู่มาก ลักษณะของเนื้อดินเป็นสีดำคล้ำเม็ดดินหยาบ หรือเม็ดดินมีขนาดใหญ่ร่วนซุย เป็นดินที่เหมาะต่อการเจริญเติบโตของพืช
2. ดินชั้นล่าง อยู่ถัดจากดินชั้นบนลงไป มีความอุดมสมบูรณ์น้อยมาก เนื้อดินแน่น เม็ดละเอียด สีจาง เป็นดินที่ไม่เหมาะต่อการเจริญเติบโตของพืช
http://www.bwc.ac.th/e-learning/virachai/sombat.html
|