การตอบสนองของพืช (อังกฤษ: plant perception หรือ plant response) คือ การตอบสนองของพืชต่อสิ่งเร้าภายนอกและสิ่งเร้าภายใน เป็นกลไกที่เกิดขึ้นจากการทำงานของฮอร์โมนพืชหรือกลไกต่าง ๆ ของเซลล์ทำให้พืชเกิดการเคลื่อนไหว
สิ่งเร้า
สิ่งเร้า (Stimulus) คือ สิ่งที่ส่งผลหรือมีอิทธิผลต่อการตอบสนองของพืช ซึ่งสามารถแบ่งออกได้ 2 กลุ่ม คือ สิ่งเร้าจากภายนอก และ สิ่งเร้าจากภายใน การตอบสนองของพืชในลักษณะที่แตกต่างกันไปก็มีปัจจัยมาจากสิ่งเร้าเหล่านี้ เป็นต้นว่า
1.
ระยะเวลาที่ใช้ในการกระตุ้นของสิ่งเร้า เช่น ไม่กี่นาทีหรือยาวนานหลายชั่วโมง
2.
อายุและชนิดเซลล์ที่หน่วยรับความรู้สึก (receptor)
3.
ปริมาณหรือความเข้มข้นของสิ่งเร้า ทั้งนี้การตอบสนองอาจเกิดแบบย้อนกลับได้ หรือ ย้อนกลับไม่ได้ เติบโต
สิ่งเร้าภายใน
สิ่งเร้าจากภายใน (Internal Stimulator) เช่น ฮอร์โมน และพันธุกรรม โดยฮอร์โมนพืชเป็นสารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช ตัวอย่างเช่น ออกซิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนชนิดหนึ่งผลิตอยู่บริเวณปลายรากและปลายยอด จะกระตุ้นการเจริญเติบโตของยอดพืช แต่ยับยั้งการเจริญเติบโตของราก ออกซินจะถูกกระตุ้นจากสิ่งเร้าภายนอกอีกทีหนึ่งคือแสงและแรงดึงดูดของโลก
การตอบสนอง
มีหลายประเภทได้แก่
การเคลื่อนไหว ซึ่งจะมีบริเวณ/โครงสร้างที่เกิดการเคลื่อนไหว และทิศทางของการเคลื่อนไหวแตกต่างกันไป
การปล่อยสารเคมี
การเปลี่ยนแปลงลักษณะของเนื้อเยื่อ
การเคลื่อนไหวที่มีทิศทางสัมพันธ์กับทิศทางของสิ่งเร้า หรือการเบน (Tropism) สามารถแบ่งได้หลายอย่างตามชนิดของสิ่งเร้า เช่น
ประเภทการเบน |
ภาษาอังกฤษ |
การเบนตามแสง |
Phototropism |
การเบนเนื่องจากความโน้มถ่วง |
Gravitropism |
การเบนเนื่องจากสารเคมี |
Chemotropism |
การเบนเนื่องจากการสัมผัส |
Thigmotropism |
การโน้มตอบสนองความร้อน |
Thermotropism |
การเบนตอบสนองความชื้น |
Hydrotropism |
การเบนตามตำแหน่งดวงอาทิตย์ |
Heliotropism |
การเคลื่อนไหวของพืชแบบไม่สัมพันธ์ต่อสิ่งเร้า (nastic movment) สามารถแบ่งได้ดังนี้
ประเภทการเคลื่อนไหว |
ภาษาอังกฤษ |
การบานกลางวัน |
Photonasty |
การหุบกลางคืน |
Nyctinasty |
การบานเมื่ออุ่น |
Thermonasty |
การหุบเพราะสัมผัส |
Thigmonasty/Seismonasty |
การหุบเพราะขาดน้ำ |
Hydronasty |
ฮอร์โมนพืช
สารควบคุมการเจริญเติบโต (plant growth regulators) หรือ ฮอร์โมนพืช (plant hormone) เป็นสารเคมีที่พืชสร้างขึ้นในปริมาณที่น้อยมากส่งผลถึงนื้อเยื่อเพื่อควบคุมการเจริญเติบโตของพืช เช่น
- ออกซิน
- เอทิลีน
- จิบเบอเรลลิน
- ไซโตไคนิน
- กรดแอบไซซิก
https://th.wikipedia.org/wiki/การตอบสนองของพืช
|