<< Go Back

การผลิตน้ำประปา
          การผลิตน้ำประปา น้ำประปา หมายถึงน้ำเป็นที่ผ่านขบวนการบำบัดทั้งทางเคมีและชีวภาพต่าง ๆ มากมายจนสะอาดปราศจากเชื้อโรคสามารถนำมาใช้อุปโภคบริโภคได้ กระบวนการผลิตเริ่มจากขั้นตอนพื้นฐาน 6 ขั้นตอน คือ
          1.การสูบน้ำดิบ โรงสูบน้ำแรงต่ำจะทำการสูบน้ำดิบจากแหล่งน้ำธรรมชาติเพื่อลำเลียงเข้าสู่ระบบผลิต น้ำดิบที่สามารถนำมาผลิตน้ำประปาได้นั้นต้องเป็นน้ำที่ไม่มีสี ไม่มีรส ไม่มีสิ่งสกปรกโสโครกปนเปื้อนเกินกว่าที่กำหนด และต้องมีปริมาณมากเพียงพอ ที่จะนำมาผลิตน้ำประปาได้อย่างต่อเนื่อง แหล่งน้ำดิบ (Raw Water) ที่จะนำมาผลิตเป็นน้ำประปา ได้มีการจำแนกชนิดของแหล่งน้ำดิบที่นำมาใช้ตามลักษณะของคุณภาพของแหล่งน้ำดิบออก ได้เป็น
                    1. น้ำที่ไม่ต้องผ่านขบวนการปรับปรุงคุณภาพ ( Water requiring no treatment ) จัดเป็นน้ำที่สะอาด สามารถใช้อุปโภคบริโภคได้เลย ได้แก่น้ำบาดาล ที่ไม่ถูกปนเปื้อนจากสิ่งสกปรก หรือสารเคมีต่างๆ
                    2.น้ำที่ต้องผ่านขั้นตอนการฆ่าเชื้อโรคเท่านั้น ( Water requiring disinfection only ) จัดว่าเป็นน้ำที่ใส และค่อนข้างสะอาด แต่ต้องทำการฆ่าเชื้อโรคที่มีอยู่ในน้ำก่อนที่จะใช้อุปโภคหรือบริโภค น้ำประเภทนี้ได้แก่ น้ำบาดาล และน้ำผิวดิน ที่มีการปนเปื้อนเล็กน้อย มีค่า เอ็มพีเอ็น (MPN) ของโคโรฟอร์มแบคทีเรียไม่เกิน 50 /น้ำ 100 มิลลิลิตรของแต่ละเดือน
                    3.น้ำที่ต้องผ่านระบบการกรองเร็ว และต้องการมีการเติมคลอรีนก่อนหรือเติมคลอรีนภายหลัง ได้แก่น้ำที่มีคุณภาพไม่ถึงชั้นน้ำในชนิดที่ 1 และ 2 มีค่าเอ็มพีเอ็น ของโคโรฟอร์มแบคทีเรียไม่เกิน 5,000 / น้ำ 100 มิลลิกรัม ในจำนวน 20% ของน้ำตัวอย่างที่ตรวจในเดือนใด ๆ น้ำชนิดนี้มักขุ่นและปนเปื้อนด้วยมลสาร
                    4.น้ำที่ต้องผ่านกรรมวิธีปรับปรุงคุณภาพเพิ่ม นอกเหนือจากต้องผ่านระบบการกรองและเดินคลอรีนภายหลังแล้ว น้ำชนิดนี้ต้องผ่านขบวนการปรับปรุงคุณภาพขั้นต้น (preliminary treatment) โดยการทำให้ตกตะกอนก่อนด้วยการเก็บกักไว้เป็นเวลา 30 วัน และต้องมีการเติมคลอรีนก่อน (pre-chlorination) น้ำชนิดนี้มีค่าเอ็มพีเอ็น เกินกว่า 5,000 /น้ำ 100 มิลลิลิตร ในจำนวน 20% ของน้ำตัวอย่าง แต่ไม่เกินกว่า 20,000 /น้ำ 100 มิลลิลิตร ในจำนวน 5% ของน้ำตัวอย่างที่เก็บมา
                    5.น้ำที่ต้องผ่านกรรมวิธีปรับปรุงคุณภาพพิเศษ ( Water requiring unusual treatment measures ) ได้แก่น้ำที่มีคุณภาพไม่จัดอยู่ในประเภททั้ง 4 ข้างต้น และมีค่าเอ็มพีเอ็นเกินกว่า 250,000 /น้ำตัวอย่าง 100 มิลลิลิตร
            2. การปรับปรุงคุณภาพน้ำดิบ น้ำดิบที่สูบเข้ามาจะถูกผสมด้วยสารเคมี เช่น สารส้มและปูนขาว เพื่อทำการปรับปรุงคุณภาพน้ำดิบ สารละลายสารส้มจะช่วยสารแขวนลอยในน้ำ ตกตะกอนได้ดีขึ้น สารละลายปูนขาวจะช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของตะไคร่น้ำหรือสาหร่ายในน้ำ บางครั้งอาจมีการเติมคลอรีนเพื่อฆ่าเชื้อโรคปนเปื้อนมากับน้ำ
            3. การตกตะกอน ขั้นตอนนี้จะปล่อยน้ำที่ผสมสารส้มและปูนขาวแล้ว ที่ทำให้เกิดการหมุนเวียน เพื่อทำให้น้ำกับสารเคมีรวมตัวกันจะช่วยให้มีการจับตัวของตะกอนได้ดียิ่งขึ้น จากนั้นน้ำเหล่านี้จะถูกส่งเข้าสู่ถังตะกอน ที่มีขนาดใหญ่ เพื่อพักร้อนทำให้เกิดน้ำนิ่ง ตะกอนที่มีขนาดใหญ่น้ำหนักมากจะตกลงสู่ก้นถังและถูกดูดทิ้ง ส่วนน้ำใสที่อยู่ด้านด้านบนจะไหลตามรางรับน้ำเข้าสู่ขั้นตอนต่อไป
            4. การกรอง การกรองน้ำ จะใช้ทรายหยาบและทรายละเอียด เพื่อทำการกรองตะกอนขนาดเล็กในน้ำ และทำให้น้ำมีความใสสะอาดมากขึ้น ในขั้นตอนนี้น้ำที่ผ่านการกรองแล้ว จะมีความใสมากแต่จะมีความขุ่นหลงเหลืออยู่ประมาณ 0.2-2.0 หน่วยความขุ่น ทรายที่ใช้กรองน้ำจะมีการล้างทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้การกรองมีประสิทธิภาพ
            5. การฆ่าเชื้อโรค น้ำที่ผ่านการกรองมาแล้วจะมีความใส แต่ยังมีเชื้อโรคเจือปนมากันน้ำ ดังนั้นจึงต้องทำการฆ่าเชื้อโรค โดยการใช้คลอรีน ซึ่งคลอรีนสามารถฆ่าเชื้อโรคได้อย่างดี น้ำที่ได้รับการผสมคลอรีนแล้ว เรียกว่า น้ำประปา สามารถนำมาใช้เพื่อการอุปโภคบริโภคได้ ประปาจะถูกเก็บไว้ในถังขนาดใหญ่ เรียกว่า ถังน้ำใส เพื่อรอการจัดการจ่ายน้ำออกให้ประชาชนใช้ต่อไป น้ำประปาที่ทำการผลิตมาแล้ว จะต้องวิเคราะห์ตรวจสอบอีกครั้งหนึ่งจากนักวิทยาศาสตร์ และการตรวจสอบนี้จะทำอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ได้น้ำประปาที่สะอาด ปลอดภัย สำหรับการอุปโภคบริโภค
            6. การสูบจ่าย น้ำประปาที่ผลิตมาแล้ว จะต้องให้บริการถึงบ้านของประชาชนผู้ใช้น้ำ ด้วยการส่งน้ำผ่านไปตามท่อน้ำ ดังนั้นการสูบจ่ายน้ำจึงมีความจำเป็นมากเพื่อให้น้ำประปาสามารถส่งไปถึงบ้านของประชาชนผู้ใช้น้ำ น้ำประปา จะถูกส่งขึ้นหอสูง เพื่อเพิ่มแรงดันน้ำ ทำให้สามารถบริการได้ในพื้นที่ใกล้เคียง และในพื้นที่ห่างไกลออกไป แหล่งที่มาของน้ำที่นำมาผลิตน้ำประปา

 


       http://kswan-sj-freedom.blogspot.com/2009/11/blog-post.html

<< Go Back