สามารถอธิบาย ลักษณะโครงสร้างของพืช ที่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิตในสภาพแวดล้อมต่างๆ ได้ 1. ผักตบชวา 2. ผักกระเฉด 3. กะละมัง 4. เขียง 5. มีด 6. แว่นขยาย 7. แป้นหมึกพิมพ์ 8. กระดาษวาดเขียน 1. สังเกตรูปร่างลักษณะของ ผักตบชวา และผักกระเฉด แล้ววาดรูปและระบายสี 3. ใช้มีดตัดกระเปาะก้านใบผักตบชวาและต้นผักกระเฉดตามขวาง ใช้แว่นขยายส่องดูตรงรอยตัด 4. นำส่วนของผักตบชวาและผักกระเฉดที่ตัดแล้วแตะลงบนหมึกพิมพ์ แล้วประทับรอยบนกระดาษวาดเขียน เพื่อสังเกตผล ตารางบันทึกผลการสังเกต
ผักตบชวา มีผิวใบมัน ลำต้นพอง เมื่อกดลงในน้ำจะลอยขึ้นมา ลำต้นมีรูพรุน ซึ่งช่วยให้เบาและลอยน้ำได้ ผักกระเฉด มีลำต้นเล็กมีนวมสีขาวคล้ายสำลีหุ้มอยู่ข้างนอก ช่วยพยุงให้ผักกระเฉดลอยน้ำได้ สรุปได้ว่า พืชน้ำ เช่น ผักตบชวา ผักกระเฉด ผักบุ้ง จอก แหน บัว เป็นต้น จะมีรูปร่างลักษณะที่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิตในน้ำ บางชนิดมีทุ่น บางชนิดใบจะแผ่เป็นแผ่นบางสำหรับพยุงให้ลำต้นลอยน้ำ บางชนิดลำต้นกลวงหรือมีรูพรุน เพื่อให้มีน้ำหนักเบาลอยน้ำได้ |
|||||||||||||||||