แม่เหล็ก (Magnet) คือ วัตถุที่สามารถดูดสารแม่เหล็กบางชนิดได้ แม่เหล็กเป็นสารประกอบของเหล็ก และออกซิเจน
ชนิดของแม่เหล็ก แบ่งตามลักษณะการเกิด ได้ 2 ประเภท คือ
1. แม่เหล็กธรรมชาติ มีส่วนผสมส่วนใหญ่คือ Fe4O3 มีสมบัติดูดเหล็กและสารประกอบออกไซด์ของ เหล็ก เกิดเองตามธรรมชาติ ไม่ค่อยมีประโยชน์เพราะมีอำนาจน้อย
2. แม่เหล็กประดิษฐ์ เป็นแม่เหล็กที่ทำขึ้นด้วยวิธีการต่างๆ มี 2 ชนิด คือ
2.1 แม่เหล็กชั่วคราว เกิดจากกระแสไฟฟ้าไหลผ่านขดลวดที่พันรอบแท่งเหล็กอ่อน
2.2 แม่เหล็กถาวร คือ แม่เหล็กที่รักษาอำนาจแม่เหล็กไว้ได้นาน ปกติทำด้วยเหล็กกล้า
สมบัติของแท่งแม่เหล็ก
1. ขั้วแม่เหล็ก คือ บริเวณของปลายแท่งแม่เหล็กที่เมื่อนำไปดูดผงตะไบเหล็กจะมีผงตะไบเหล็กติดมาก ที่สุด นั่นคือ ที่ปลาย ทั้งสองของแท่งแม่เหล็กจะมีอำนาจแม่เหล็กมากที่สุด
2. ชนิดของขั้วแม่เหล็ก ถ้าแขวนแท่งแม่เหล็กให้หมุนได้อิสระ แท่งแม่เหล็กจะวางตัวในแนวเหนือใต้ เสมอ โดยปลายที่ชี้ไป ทางทิศเหนือ คือ ขั้วเหนือ (ขั้ว N) ปลายที่ใช้ไปท างทิศใต้ คือ ขั้วใต้ (ขั้ว S)
3. แรงกระทำระหว่างขั้วแม่เหล็ก มี 2 แบบ
- แรงดูดกัน เกิดจากการนำขั้วแม่เหล็กต่างชนิดกันมาวางใกล้กัน
- แรงผลักกัน เกิดจากการนำขั้วแม่เหล็กชนิดเดียวกันมาวางใกล้กัน
http://www.il.mahidol.ac.th/e-media/electromagnetism/sub_lesson/8_1.htm
|