<< Go Back

            เมื่อ Carl Zeiss ผู้ก่อตั้งบริษัทได้ถึงแก่กรรมลงในปี ค.ศ.1988 Ernst Abbe นักวิทยาศาสตร์ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท ได้กลายเป็นผู้บริหารสูงสุดของบริษัทรุ่นที่ 2 โดย Abbe ต้องการจะเพิ่มความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ให้แก่บริษัท นอกเหนือจากกล้องจุลทรรศน์ที่มีชื่อเสียง และ Abbe นั้นมีความสนใจส่วนตัวในเรื่องของ prism binoculars อยู่แล้ว เมื่อบริษัท Carl Zeiss ได้ร่วมลงทุนและรับความรู้ความชำนาญเรื่องแก้วและเลนส์จาก Schott แล้ว บริษัท Carl Zeiss จึงได้เปิดสายการวิจัยกล้องสองตาและเทเลสโคปขึ้น  และกลายเป็นผู้ประดิษฐ์กล้องส่องทางไกลสองตาแบบปริซึมเป็นรายแรกของโลก ในส่วนของกล้องส่องทางไกลเทเลสโคปนั้น ผลิตภัณฑ์ในยุคเริ่มแรกคือกล้องเทเลสโคปเพื่อใช้ในการทหารเท่านั้น จนกระทั่งเมื่อสิ้นสงครามโลกครั้งที่ 1 กล้องเทเลสโคปของ Zeiss จึงได้ผลิตเพื่อจำหน่ายเชิงพาณิชย์

โฆษณากล้องเทเลสโคปของ Zeiss ที่วางจำหน่ายเชิงพาณิชย์ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1

กล้องส่องทางไกลแบบสโคป ของ Zeiss ที่จำหน่ายเชิงพาณิชย์ครั้งแรกดังรูปซ้ายมือ มีขนาดหน้าเลนส์วัตถุ 60mm และมีอัตราขยาย 12x, 24x และ 42x เท่า โดยชื่อรุ่นสินค้าสำหรับกล้องสโคปคือรุ่น Starmor และสำหรับกล้องสโคปสองตาคือ Starmorbi (bi = 2)

          ภาพขวามือเป็นใบโฆษณาสินค้าเทเลสโคปของ Zeiss ในปี ค.ศ.1934 โดยเป็นกล้องสโคปขนาดเลนส์วัตถุ 130mm และมีอัตราขยายที่ 35x, 58x และ 116x เท่า โดยภาพบนขวานั้นได้แสดงนวตกรรมอีกอย่างหนึ่งของ Zeiss นั่นคือกล้องสโคปแบบหยอดเหรียญ โดยเมื่อหยอดเหรียญแล้วกล้องจะสามารถถูกปรับไปยังเป้าหมายต่างๆได้ในเวลาที่กำหนด สำหรับภาพด้านล่างคือกล้องสโคปแบบสองตา ราคากล้องเทเลสโคปของ Zeiss ที่จำหน่ายในปี ค.ศ.1935 คือ $1,470 สำหรับกล้องตาเดียว $1,885 สำหรับกล้องตาเดียวแบบหยอดเหรียญส่วนกล้องสองตาจะมีราคาสูงถึง $2,772 เลยทีเดียว (ราคาในขณะนั้น)

          Zeiss ได้ผนวกความชำนาญของตนในเรื่องการผลิต/ประกอบ/ทดสอบ ที่โรงงาน ก่อนจะถอดเพื่อไปประกอบที่หน้างาน มาใช้ในการผลิตกล้องดูดาว (ต่างกับบริษัทอื่นในสมัยนั้นที่จะไปผลิต/ประกอบที่สถานที่ลูกค้า ทำให้การควบคุมคุณภาพทำได้ยาก) โดยภาพด้านซ้ายมือแสดงให้เห็นกล้องดูดาวขนาดใหญ่ที่เตรียมนำไปติดตั้งที่หอดูดาวในกรุงเบอร์ลิน ในปี ค.ศ. 1915

          นวตกรรมอีกสิ่งหนึ่งที่นำชื่อเสียงมาสู่บริษัท Carl Zeiss เป็นอย่างมากคืออุปกรณ์ ท้องฟ้าจำลอง ซึ่งบริษัทฯ​ได้รับจ้างให้ออกแบบให้แก่พิพิธภัณฑ์แห่งชาติในเมืองมิวนิค เพื่อให้แสดงเพียงระบบสุริยะจักรวาล แต่บริษัทฯ (โดย Walther Bauersfeld) ได้ออกแบบให้อุปกรณ์ท้องฟ้าจำลองของ Zeiss ให้สามารถ "จำลอง"ท้องฟ้าของเมืองมิวนิค ให้แก่คนในห้องชมได้ นวตกรรมท้องฟ้าจำลองของ Zeiss ได้กลายเป็นต้นแบบของอุปกรณ์ท้องฟ้าจำลองที่ใช้มาจนถึงทุกวันนี้ และเป็นผลิตภัณฑ์ที่นำยอดสั่งจองอย่างต่อเนื่องให้แก่บริษัทฯ อันเป็นรายได้หล่อเลี้ยงบริษัทฯ ให้ผ่านพ้นวิกฤตการณ์ของบริษัทฯมาได้

 

        http://www.outdoorvision.net/Zeiss/file_3.html

<< Go Back