<< Go Back

                     1. เพื่อให้นักเรียนสามารถทดลองและอธิบายการกระทำของน้ำทำให้เกิด หินงอก หินย้อย  และกัดกร่อนหินในภูมิประเทศต่าง ๆ ให้เปลี่ยนรูปร่างจากเดิม
                     2. เพื่อให้นักเรียนสามารถบอกประโยชน์ของน้ำ

1. บิ๊กเกอร์ขนาด 250 cm3  2 ใบ 2. สารส้ม  50 กรัม
3. ด้ายที่ทำจากฝ้าย ยาว 30 cm  1 เส้น 4. กระดาษสีขาว ขนาด A4 1 แผ่น
5. น้ำ  200 cm3 6. แท่งแก้วคน 1 อัน
7. ตะเกียงแอลกอฮอล์ พร้อมที่กั้นลมและตะแกรงลวด  1 ชุด 8. ไม้ขีด 1 กลัก
9. เครื่องชั่ง 1 เครื่อง 10. ช้อนตักสารเคมี 1 คัน
                       

            1. เตรียมสารละลายอิ่มตัวของสารส้ม โดยละลายสารส้มในน้ำอุ่นปริมาตร 200 ลูกบาศก์เซนติเมตร ลงในบิ๊กเกอร์ เติมและคนสารส้มจนสารส้มไม่สามารถละลายในน้ำอุ่นได้อีก
             2. แบ่งสารละลายอิ่มตัวของสารส้มออกเป็น 2 บิ๊กเกอร์ ให้มีปริมาณเท่าๆ กัน วางบิ๊กเกอร์ทั้งสองใบให้ห่างกันพอประมาณ และนำกระดาษแข็งวางระหว่างบิ๊กเกอร์ทั้ง 2 ใบ
             3. ตัดเชือกป่านให้มีความยาวพอที่จะนำปลายทั้งสองด้านจุ่มลงในบิ๊กเกอร์ และจัดให้กึ่งกลางของเชือกป่านห้อยลงไปเหนือแผ่นกระดาษ
             4. ตั้งสารละลายในข้อ 2. ไว้นาน 20-30 นาที สังเกตการณ์เปลี่ยนแปลงเป็นระยะ แล้วตั้งสารละลายค้างไว้อีก สังเกตการณ์เปลี่ยนแปลงอีกครั้ง

หมายเหตุ ปริมาณของสารส้มที่ละลายได้มากที่สุดในน้ำ 100 กรัม
                  ที่อุณหภูมิ 60oc เท่ากับ 24.75 กรัม

                   สารละลายสารส้มที่ซึมลงมาจากด้ายแล้วน้ำระเหยไปหมดจะเหลือผลึกสารส้มเกาะสะสมอยู่ เมื่อเวลาผ่านไปนาน ๆ ผลึกจะรวมตัวเกิดลักษณะคล้ายหินย้อย ส่วนสารละลายสารส้มที่หยดบนพื้นแล้วน้ำระเหยไปหมดเหลือแต่ผลึกของสารส้มเกาะสะสมอยู่ เมื่อเวลาผ่านไปนาน ๆ ก็จะรวมตัวคล้ายเป็นหินงอก

                   สรุปได้ว่า น้ำสามารถละลายสารส้มได้ ซึ่งสังเกตจากผลึกสารส้มที่เหลืออยู่ภายหลังน้ำระเหยไปจากเส้นด้าย


<< Go Back