1. เพื่อให้นักเรียนสามารถทดลอง สรุป และอธิบายเกี่ยวกับ การเกิดของแหล่งน้ำบนดิน การไหล การกัดกร่อนการพัดพาของน้ำ และการสะสมของตะกอน
2. เพื่อให้นักเรียนสามารถอธิบายการเกิดภูมิประเทศต่าง ๆ เช่น ตะกอนปากแม่น้ำ ตะกอนน้ำพารูปพัด ตะกอนน้ำพารูปกรวย
|
|
1.1 กรวดหยาบ 1.2 กรวดละเอียด
1.3 ทรายหยาบ 1.4 ทรายละเอียด และ1.5 ดิน
อย่างละประมาณ 400 cm3 |
2. ถาดอะลูมิเนียม 1 ใบ |
|
|
3. บิ๊กเกอร์ ขนาด 500 cm3 2 ใบ |
4. น้ำ 1,000 cm3 |
|
|
5. กล่องพลาสติกใส ขนาด 20 cm × 20 cm × 30 cm
หรือกระบะไม้ ขนาด 10 cm × 30 cm × 100 cm 2 ใบ |
5.1 ดินน้ำมัน
ใช้สร้างเป็นภูมิประเทศจำลอง 10 ก้อน |
|
6. กระดาษหนังสือพิมพ์ 4 แผ่น |
ตอนที่ 1
1. กองกรวดทรายสูงประมาณ 30 เซนติเมตร ในถาดอะลูมิเนียม
2. เทน้ำลงบนกองกรวดทรายหลายๆ ครั้งสังเกตการณ์เปลี่ยนแปลงของกรวดทรายและการไหลของน้ำ บันทึกผล
ตอนที่ 2
1. ทำภูมิประเทศจำลองในกล่องพลาสติกใส หรือ กระบะไม้ โดยใช้ดินน้ำมันปั้นเป็นพื้นที่สูงต่ำ ตามจินตนาการของนักเรียน
2. ผสมกรวดหยาบ กรวดละเอียด ทรายละเอียด ดิน ประมาณครึ่งบิ๊กเกอร์ แล้ว เทส่วนผสมลงในบิ๊กเกอร์ที่มีน้ำอยู่ คนกรวดทรายในบิ๊กเกอร์ แล้วเทลงบน ภูมิประเทศจำลองในข้อ 1. สังเกตการณ์พัดพา และการสะสมของตะกอน
วิธีการทำ กระบะพลาสติก
จากกิจกรรมตอนที่ 1 ผลการทดลองที่ได้ คือ น้ำที่ไหลลงมาจากบิ๊กเกอร์ไหลแรงและเร็ว สามารถกัดเซาะและพัดพาเศษดิน ทราย กรวด ให้หลุดออกจากภูเขาจำลอง
จากกิจกรรมตอนที่ 2 ผลการทดลองที่ได้ คือ เมื่อเทน้ำและตะกอนบนภูมิประเทศจำลอง น้ำจะพัดพาตะกอนเรียงลำดับจากจุดที่เทน้ำหรือจุดที่ใกล้ที่สุด และพัดพาไปไกลที่สุด ดังนี้
1. กรวดหยาบ
2. กรวดละเอียด
3. ทรายหยาบ
4. ทรายละเอียด
5. ดิน
สรุปได้ว่า
• น้ำที่ไหลมาจากต้นน้ำ ตามร่องน้ำบนภูเขา จะไหลแรงและเร็ว สามารถกัดเซาะ และ พัดพา ดิน ทราย กรวด ไป
• น้ำพัดพาตะกอนจากต้นน้ำมาตามทางน้ำ และสะสมทับถมกันในแหล่งที่เป็นแอ่ง จนเกิดเป็นภูมิประเทศรูปร่างต่าง ๆ กัน เช่น ตะกอนน้ำพารูปพัด ตะกอนน้ำพารูปกรวย เป็นต้น
|