<< Go Back

                      1. เพื่อให้นักเรียนสามารถสังเกตและอธิบายลักษณะเนื้อหิน องค์ประกอบของหิน และสีของ หินแปร  จากชุดตัวอย่างหินได้
                      2. เพื่อให้นักเรียนสามารถทดสอบและสรุปการทำปฏิกิริยาของหินแปรกับกรดไฮโดรคลอริกได้
                      3. เพื่อให้นักเรียนสามารถอธิบาย จำแนก สรุปลักษณะองค์ประกอบและสมบัติของหินแปร พร้อมกับบอกเกณฑ์ที่ใช้จำแนกได้
                      4. เพื่อให้นักเรียนสามารถอธิบายการนำหินแปรไปใช้ประโยชน์ได้

1. ชุดกล่องตัวอย่างหินและแร่  1 ชุด 2. กรดไฮโดรคลอริก 1.0 โมล/ลิตร 10 cm3
3. หลอดหยด  1 อัน 4. จานหลุมพลาสติก 1 อัน
5. ปากคีบโลหะ 1 อัน 6. เครื่องชั่ง 1 เครื่อง
7. แว่นขยาย 1 อัน

                     1. สังเกตลักษณะเนื้อหิน การเรียงตัวของเนื้อหิน แร่ที่ประกอบอยู่ในหิน ความหนักเบา และสีของหินแปร จากชุดตัวอย่างหิน โดยใช้แว่นขยาย บันทึกผล
                     2. ทดสอบหินตัวอย่าง โดยการพูดบันทึกผล
                     3. หยดกรดเกลือลงบนหินตัวอย่าง สังเกตปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้น บันทึกผล

                     ผลการทดลองที่ได้ คือ

หิน
หมายเลขที่

ลักษณะเนื้อหิน

การทำปฏิกิริยากับ
กรดไฮโดรคลอริก

ชื่อหิน

1

เป็นแผ่นบาง ๆ เรียงตัวขนานไปทางเดียวกัน ผิวหน้าเรียบ แซะเป็นแผ่นบางได้ง่าย ประกอบด้วยแร่ไมกาและ
ควอตซ์เป็นส่วนใหญ่

ไม่ทำปฏิกิริยา

หินชนวน
(Slate)

2 มีลักษณะคล้ายหินชนวน แต่เนื้อหยาบ กว่า มีลักษณะเป็นชั้นเรียงตัวขนานกัน ผิวหน้าหินมักจะราบและเป็นมัน เนื่องจากมีแร่ไมกาเป็นส่วนประกอบมากขึ้น ไม่ทำปฏิกิริยา หินฟิลไลต์ (Phyllite)
3 เนื้อหยาบ มีลักษณะเป็นแผ่นแร่เรียงตัว ขนานกัน ส่วนใหญ่ประกอบด้วยแร่ ไมกา คลอไรต์ ฮอร์นเบลนด์ ควอตซ์ เฟลด์สปาร์ การ์เนต เป็นต้น ไม่ทำปฏิกิริยา หินชีสต์ (Schist)
4 มีลักษณะเป็นริ้วขนานกัน เนื้อแน่นแข็ง มีผลึกเป็นแถบของแร่ต่าง ๆ ถ้ามีแร่ไบโอไทต์ ฮอร์นเบลนด์ จะมีสีเข้ม ถ้ามี แร่ควอตซ์ เฟลด์สปาร์ จะมีสีจาง ไม่ทำปฏิกิริยา หินไนส์ (Gneiss)
5 มีลักษณะเป็นเม็ด เนื้อแน่นแข็ง ประกอบด้วยแร่ควอตซ์ เฟลด์สปาร์ ไมกา ไม่ทำปฏิกิริยา หินควอร์ตไซต์ (Quartzite)
6 เนื้อละเอียดถึงหยาบ เนื้อแน่น และมีผลึกของแร่แคลไซต์ มีฟองแก๊สผุดขึ้น หินอ่อน (Marble)

 

สรุปได้ว่า

                     - หินแปร เป็นหินที่ถูกเปลี่ยนรูป หรือแปรสภาพจากหินเดิม ภายใต้อิทธิพลของความดัน ความร้อน และปฏิกิริยาเคมีในสภาพแวดล้อมต่าง ๆ กัน
                     - จาก กระบวนการแปรสภาพ  มักมีการตกผลึกของแร่ใหม่เกิดขึ้น ทำให้หินแปรมีสีสัน สวยงาม จึงสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ต่างกัน
                     - การเลือกหินไปใช้ประโยชน์จึงขึ้นอยู่กับสมบัติของหินเป็นสำคัญ นอกจากนั้นยังต้อง พิจารณาถึงจุดประสงค์ของผู้ใช้ ตลอดจนความสะดวกในการที่จะทำให้หินมีขนาด และรูปร่างตามต้องการ และมีปริมาณเพียงพออยู่ในท้องถิ่นนั้น ๆ ด้วย
 


<< Go Back